รีเซต

เปิดสาเหตุ! ทำไมไฟไหม้โรงงานบ่อยช่วงหน้าฝน?

เปิดสาเหตุ! ทำไมไฟไหม้โรงงานบ่อยช่วงหน้าฝน?
Ingonn
7 กรกฎาคม 2564 ( 14:41 )
1.3K

 

เป็นเรื่องราวที่สะเทือนขวัญคนไทย เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้โรงงานพร้อมกันถึง 2 โรงงาน ในเวลาใกล้เคียงกัน โดยโรงงานแรก คือ โรงงานหมิงตี้เคมิคอล จำกัด โรงงานกิ่งแก้ว ผลิตโฟมและเม็ดพลาสติก อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา และอีกโรงงาน ภายในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง โซน 3 ซึ่งเป็นโกดังเก็บสินค้าประเภทน้ำหอม เป็นที่สงสัยว่าทำไมถึงเกิดไฟไหม้ใหญ่บ่อยครั้งในช่วงนี้ ทั้งๆ ที่ในช่วงนี้คือ ฤดูฝน แทนที่อากาศเย็น มีฝนตก จะเปรียบเสมือนน้ำช่วยมาดับไฟ

 

 

วันนี้ TrueID จะพามาหาคำตอบว่า “ทำไมมักเกิดเหตุไฟไหม้ช่วงหน้าฝน” โดยหากเรารู้สาเหตุทัน อาจป้องกันการเกิดไฟไหม้ได้อีกด้วย

 

 


เปิดสาเหตุไฟไหม้บ่อยช่วงหน้าฝน

 

1.ไฟฟ้าลัดวงจร


ไฟฟ้าลัดวงจร ส่วนใหญ่มาจากการใช้ไฟฟ้าเกินกำลังอุปกรณ์ต่อพ่วงสามารถรับไหว หรือฉนวนสายไฟฉีกขาด เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐาน จึงเกิดความร้อนสะสม และร้อนมากขึ้น จนลุกไหม้และหลอมละลายของวัสดุที่ห่อหุ้มหรือสัมผัสอยู่ และทำให้ไฟลามอย่างรวดเร็ว

 


ส่วนไฟดูดหรือไฟฟ้าช็อต ก็คือคำที่ใช้เรียกเหตุการณ์ไฟฟ้าลัดวงจรเช่นกัน แต่มักจะถูกใช้ในสถาณการณ์ที่มนุษย์หรือสิ่งอื่นที่ไม่อยู่ในระบบไฟฟ้าไปสัมผัสกับวงจรไฟฟ้าโดยตรง หรือการสัมผัสกับสื่อนำไฟฟ้าอย่างโลหะหรือน้ำที่กำลังมีกระแสไฟฟ้ารั่ว ก็จะถูกไฟฟ้าช็อตหรือถูกไฟดูด ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต

 

 


2.น้ำฝนหยดใส่อุปกรณ์ไฟฟ้า


เวลาฝนตกแต่ไม่เก็บอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าให้ดี อาจทำให้น้ำฝนหยดลงมาใส่ปลั๊กไฟ หรือไหลท่วมเครื่องใช้ไฟฟ้า จนเกิดไฟช็อตและลุกเป็นประกายไฟได้ หน้าฝนจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะหากเกิดฝนตกหนักในช่วงที่ไม่มีคนอยู่บ้าน ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงได้

 

 

 

3.ฟ้าผ่าจนไฟไหม้


ฟ้าผ่า เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นในช่วงหน้าฝน ซึ่งฟ้าผ่าเป็นการเกิดประจุไฟฟ้าใต้ฝนฟ้าคะนอง ทำให้ทุกบริเวณใต้เงาเมฆฝนฟ้าคะนองจึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดฟ้าผ่าได้หมด เมื่อฟ้าผ่าลงมาที่บ้าน หรือโรงงานที่มีสื่อล่อฟ้าก็สามารถทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้

 

 


3 ระยะการเกิดไฟไหม้

 

ไฟไหม้ขั้นต้น คือ ตั้งแต่เห็นเปลวไฟ จนถึง 5 นาที สามารถดับได้ โดยใช้เครื่องดับเพลิงเบื้องต้น แต่ผู้ใช้จะ ต้องเคยฝึกอบรมการใช้เครื่องดับเพลิงมาก่อน จึงจะมีโอกาสระงับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 


ไฟไหม้ขั้นปานกลาง ถึงรุนแรง คือ ระยะเวลาไฟไหม้ไปแล้ว 5 นาที ถึง 8 นาที อุณหภูมิจะสูงมาก เกินกว่า 400 องศาเซลเซียสหากจะใช้เครื่องดับเพลิง เบื้องต้น ต้องมีความชำนาญ และต้องมีอุปกรณ์จำนวนมากเพียงพอ  จึงควรใช้ระบบดับเพลิงขั้นสูง จึงจะมีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากกว่า

 

 

ไฟไหม้ขั้นรุนแรง คือ ระยะเวลาไฟไหม้ต่อเนื่องไปแล้ว เกิน 8 นาที และยังมีเชื้อเพลิงอีกมากมายอุณหภูมิจะสูงมากกว่า 600 องศาเซลเซียส ไฟจะลุกลามขยายตัวไปทุกทิศทางอย่างรุนแรงและรวดเร็ว การดับเพลิงจะต้องใช้ผู้ที่ได้รับการฝึก พร้อมอุปกรณ์ในการระงับเหตุขั้นรุนแรง

 

 


การป้องกันไฟไหม้ในโรงงาน


ในโรงงานอุตสาหกรรมก็ปลอดภัยจากอัคคีภัยได้ ซึ่งจะแบ่งการปฏิบัติไว้เป็น 2 บริเวณ คือ บริเวณที่มีการผลิตและที่ใช้ในการเก็บสินค้า

 

บริเวณที่มีการผลิต


1.ด้านเครื่องจักร ควรมีการตรวจเช็คซ่อมบำรุงเป็นประจำให้อยู่ในสภาพที่ดี

 


2.ด้านเครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟฟ้าและอุปกรณ์ต้องอยู่ในสภาพที่ดีและได้รับการตรวจเช็คเป็นประจำ ควรหลีกเลี่ยงการต่อสายไฟฟ้าโดยใช้ผ้าเทปพันหรือการต่อแบบชั่วคราว หลังเลิกงานควรปิดสวิตซ์อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เมนใหญ่

 


3.การขจัดแหล่งที่เป็นบ่อเกิดของไฟอื่น ๆ ควรงดมิให้มีการสูบบุหรี่ในบริเวณที่มีการผลิต ความสะอาดเป็นหลัก เบื้องต้นของการป้องกันอัคคีภัย บริเวณที่มีการผลิตควรมีถัง หรือถาดไว้รองรับเศษของการผลิตหรือเศษของอื่น ๆและหลัง เลิกงานต้องนำไปทิ้งทุกวัน กรรมวิธีใดที่มีความอันตรายในการก่อให้เกิดอัคคีภัยสูงควรจะแยกออกจากส่วนต่างๆ และจัดให้มีการป้องกันเฉพาะขึ้น

 


4.การจัดเก็บสินค้า สินค้าไม่ว่าวัตถุดิบหรือสำเร็จรูปควรอยู่ในบริเวณการผลิตน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น วัตถุไวไฟที่ใช้ในการผลิตต้องถูกจำกัดเพียงเพื่อพอใช้ในหนึ่งวัน หลังเลิกงานต้องนำวัตถุไวไฟนั้นไปเก็บยังที่จัดไว้เฉพาะ

 


5.การปฏิบัติหลังเลิกงาน หลังเลิกงานทุกวันควรมีการเดินตรวจดูความเรียบร้อย เช่น วัตถุไฟฟ้าได้นำไปเก็บในที่จัดเก็บไว้โดยเฉพาะ อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชิ้นได้ปิดสวิตซ์เรียบร้อยหรือยัง และรวมถึงการทำความสะอาดด้วย

 

 


บริเวณที่ใช้เก็บสินค้า


1. ด้านการจัดเก็บ


- การเก็บสินค้าควรเก็บอย่างมีระเบียบ ภายในบริเวณจัดเก็บต้องมีช่องทางเดินสินค้า ควรจัดเก็บเป็นล็อก ๆในแต่ละเลือกต้องมีช่องทางเดินและปริมาณสินค้าไม่มากเกินไปความสูงไม่เกิน 6 เมตร หรือ 1 เมตร จากเพดานถึงหลังคาและสินค้าควรอยู่ห่างจากแสงไฟ


- สินค้าควรอยู่บนที่รองรับหรือชั้นวางของ


- ควรเว้นและมีการขีดเส้นกำหนดแนววางสินค้า

 


2. การจับยกสินค้า ของเหลวไวไฟ แก๊สหรือวัตถุไวไฟอื่น ๆ ควรเก็บแยกต่างหากจากสินค้าอื่น ๆ และสามารถทำได้ควรแยกห้องเก็บวัตถุไวไฟ

 


3. การขจัดแหล่งที่เป็นบ่อเกิดของไฟอื่น ๆ


- ควรงดมิให้มีการสูบบุหรี่ในบริเวณที่มีการเก็บสินค้า


- ไม่ควรมีการผลิตหรือดำเนินการใด ๆ ในบริเวณที่เก็บสินค้า เช่น การอัดแบตเตอรี่


- ควรรักษาความสะอาดบริเวณที่เก็บสินค้าเป็นประจำ เช่น จากเศษกระดาษที่ใช้ห่อสินค้า

 


4. การตรวจเช็คดูแลและความปลอดภัย


- สายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณที่เก็บสินค้าควรได้รับการตรวจ เช็คเป็นประจำ


- บริเวณที่เก็บสินค้าควรปิดล็อคไว้เสมอเมื่อไม่ได้ใช้และห้ามบุคคลภายนอกซึ่งไม่ได้รับอนุญาติเข้าไป


- อุปกรณ์ดับเพลิงควรติดตั้งบริเวณทางเข้าออก

 

 

 

 


ข้อมูลจาก สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน ( ประเทศไทย ) ในพระราชูปถัมภ์ , สถานีดับเพลิงสามเสน

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง