นักวิจัยกับความพยายามค้นหาการทำงานระบบความจำของมนุษย์
หากพูดถึงความจำของมนุษย์ของคนเรานั้น จะต้องมาดูเรื่องของการทำงานของระบบประสาทและสมอง เวลานี้ทางด้านนักวิจัยจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐหรือ NIH ได้มีการวิจัยคุณลักษณะหน้าที่ของเซลล์สมอง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างกระบวนการความจำ, การเก็บความจำและการเรียกคืนความจำ
การวิจัยมีการตรวจสอบในเรื่องของโครงสร้างการรับรู้ความจำในแต่ละช่วงเวลาของมนุษย์ งานวิจัยได้มีการระบุถึงกระบวนทัศน์การเชื่อมโยงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสมองมนุษย์ โดยที่เซลล์สมองเป็นผู้ผลิตความจำเป็นเรื่อง ๆ ไป หมายความว่าความจำที่เกิดขึ้นเหมือนกับเป็นการต่อจิ๊กซอว์แล้วค่อย ๆ ปรากฏให้เห็นเป็นภาพชัดมากขึ้น
งานวิจัยนี้ได้มีการเชิญอาสาสมัคร 20 คน ที่ผ่านการผ่าตัดสมองเพื่อรักษาโรคลมชัก โดยมีเป้าหมายในการวิเคราะห์การทำงานของสมองแต่ละคน และมีการให้อาสาสมัครทำการดูวิดีโอที่พรรณนาเหตุการณ์ต่าง ๆ และจากนั้นให้พวกเขาพยายามฟื้นฟูความจำที่ได้ซึมซับเหตุการณ์
ผลลัพธ์ที่ออกมาชี้ให้เห็นว่าการทำงานของสมองของผู้เข้าร่วมจะมีผลก็ต่อเมื่อมีการฉายภาพวิดีโอที่มีความเชื่อมโยงกับขอบเขตการหยั่งรู้ ตลอดจนถึงชี้ให้เห็นว่า ความจำมีการกักเก็บได้อย่างไรและสมองสามารถฉายภาพความจำตั้งแต่เริ่มต้นถึงตอนจบได้อย่างไร การฉายวิดีโอประกอบไปด้วยการฉายวิดีโอแบบอ่อน ๆ หมายถึงเป็นวิดีโอที่ฉายภาพเรื่องราวเดียวกันอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่นการฉายกีฬาเบสบอลทั้งตอนขว้างลูกและตีลูก และจากนั้นภาพก็ได้ตัดไปที่คนรับลูกอีกครั้งส่วนอีกวิดีโอหนึ่งจะเป็นการฉายแบบเข้มข้น หมายถึงเป็นวิดีโอที่มีการฉายเรื่องราวต่าง ๆ หลากหลาย จากตอนแรกที่มีการฉายเรื่องราวแล้วจากนั้นจู่ ๆ ก็มีการตัดโฆษณาขายสินค้าทันที
สรุปได้ว่า เรื่องนี้มีความเชื่อมโยงกับระบบประสาทได้มีการใช้สารโดพามีนซึ่งเป็นสารความสุขเมื่อได้รับรางวัลตอบแทนเข้ามาเชื่อมโยงกับการทำงานของเซลล์และมีความเป็นไปได้สูงที่จะช่วยเสริมสร้างให้ระบบความจำสามารถสร้างภาพได้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น การทำงานของสมองในส่วนของคลื่นเธต้ามีความเชื่อมโยงกับการเรียนรู้และความจำ
ข้อมูลจาก : thenextweb.com
ภาพจาก : pixabay.com