รีเซต

เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายนะเธอ เป็นอะไรเนี่ย! 'ไบโพลาร์' เหรอ? เช็ก 8 สัญญาณเสี่ยงเป็นหรือเปล่า

เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายนะเธอ เป็นอะไรเนี่ย! 'ไบโพลาร์' เหรอ? เช็ก 8 สัญญาณเสี่ยงเป็นหรือเปล่า
TeaC
31 สิงหาคม 2564 ( 13:32 )
378
เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายนะเธอ เป็นอะไรเนี่ย! 'ไบโพลาร์' เหรอ? เช็ก 8 สัญญาณเสี่ยงเป็นหรือเปล่า

เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายนะเธอ เป็นอะไรเนี่ย! 'ไบโพลาร์' เหรอ? เชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินบ่อยครั้งไม่ว่าจะเป็นลักษณะการพูดหยอกล้อ ล้อเล่น แต่จริง ๆ ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นเลยนะสำหรับบางคนที่อาจเป็นไปได้ว่าเขาหรือเธอ หรือแม้กระทั่งตัวเราอาจเสี่ยงเป็นโรคไบโพลาร์ได้ แต่เอาจริง ๆ โรคไบโพลาร์มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน!

 

เนื่องจากข้อมูลพบว่า มีประชากรประมาณ 60 ล้านคนทั่วโลกกำลังเป็น "โรคไบโพลาร์" อยู่ ซึ่งเป็นโรคที่มีความผิดปกติของสมอง โดยจะมีอาการพื้นฐานอยู่ทั้งหมด 4 อาการพื้นฐานที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความคล่องตัว และเรี่ยวแรง รวมทั้ง ยังส่งผลกระทบสิ่งที่เราต่างรับผิดชอบอยู่ตั้งแต่การใช้ชีวิตประจำวันไปจนถึงหน้าที่การงานที่เราทำอยู่อีกด้วย ดังนั้น เมื่อเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนและส่งผลกระทบการใช้ชีวิต วันนี้ TrueID จะพาทุกคนมารู้จัก โรคไบโพล่าร์ และทดสอบสักหน่อยว่า เราเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้หรือเปล่า จะได้เข้ารับการรักษา

 

สำหรับ โรคไบโพล่าร์ หรือเรียกอีกอย่างว่า โรคอารมณ์สองขั้ว จะเผชิญกับภาวะที่เรียกว่า Manic Episode คือ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงหนึ่งของโรคไบโพลาร์ เป็นช่วงที่ผู้ป่วยมีอาการฟุ้งพล่านสลับกับช่วงที่มีอาการซึมเศร้า ได้แก่

 

  • อยู่ไม่สุข
  • ชอบทำงานหรือลุกเดินไปมา
  • ความคิดแล่นเร็ว
  • พูดเร็ว
  • ความต้องการในการนอนน้อยลงหรือไม่อยากนอน
  • หงุดหงิดง่าย
  • ไม่มีสมาธิ
  • อาจทำอันตรายต่อผู้ใกล้ชิด

 

อาการเหล่านี้ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะวินิจฉัยโรคอารมณ์สองขั้วนี้  แต่ต้องเข้าใจกันสักนิดว่า โรคไบโพลาร์ ไม่ได้เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย แต่จะเว้นระยะเวลาการเกิดภาวะทางอารมณ์ ยกตัวอย่างให้เข้าใจกันง่าย ๆ คือ เดือนนี้คุณอาจมีความสุข พอผ่านไป 1-2 เดือน อารมณ์คุณอาจเปลี่ยนไปเป็นเศร้า ซึ่งไม่ใช่แค่เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายตามที่ล้อเล่นกัน 

 

รู้ได้อย่างไรว่าเสี่ยงเป็น "ไบโพลาร์" หรือไม่?

 

ข้อสังเกตที่เป็นสัญญาณบอกได้ว่า เราหรือคนใกล้ตัวอาจจะเป็นโรคนี้ได้จาก 8 สัญญาณนี้ และควรพาไปเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ

 

1. มีปัญหาในการทำงานให้สำเร็จ ผู้ป่วยไบโพล่าร์จะไม่มีปัญหาในการเริ่มต้นทำงานต่าง ๆ แต่เมื่ออารมณ์ของผู้ป่วยเริ่มเปลี่ยนแปลง การทำงานให้สำเร็จลุล่วงจะเป็นเรื่องที่ยากขึ้นเรื่อย ๆ 

 

2. มีอาการต่าง ๆ ของโรคซึมเศร้าแทรกซ้อนของโรคไบโพล่าร์ ผู้ป่วยจะมีอาการลักษณะเดียวกับคนที่กำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เช่น ความอยากอาหารลดลง มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ไม่ค่อยมีสมาธิ ไม่มีเรี่ยวแรง

 

3. พูดเร็ว คนส่วนใหญ่พูดเร็วขึ้นเมื่อรู้สึกตื่นเต้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ปกติ การพูดเร็วขึ้นเป็นสัญญาณหนึ่งของโรคไบไพล่าร์ จะพูดแทรกคนอื่นและไม่สนใจบทสนทนาของคนรอบข้างมักเปลี่ยนหัวข้อสนทนาอยู่บ่อย ๆ

 

4. หงุดหงิดง่าย ในบางกรณี คนที่เป็นไบโพล่าร์อาจจะมีอาการฟุ้งพล่านและภาวะซึมเศร้าพร้อม ๆ กัน เมื่อมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น จะหงุดหงิดง่ายมาก 

 

5. ใช้ยาเสพติดหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ส่วนมากจะเริ่มต้นใช้ยาเสพติด กินเหล้า หรือใช้ทั้งสองอย่างร่วมกัน

 

6. อารมณ์ดีมากเกินไป (ไฮเปอร์) การแสดงออกทางอารมณ์ที่ดีมากเกินไปอาจเป็นสัญญาณของโรคไบโพล่าร์ได้เช่นกัน

 

7. นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นเรื่องปกติที่โรคไบโพล่าร์จะมีผลข้างเคียงต่อการนอนของผู้ป่วย คนที่เคยมีประสบการณ์ของภาวะฟุ้งพล่าน จะมีปัญหาในการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

 

8. มีพฤติกรรมที่สม่ำเสมอ ไม่คิดหน้าคิดหลัง เวลาที่ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์อยู่ในช่วง ฟุ้งพล่าน มักจะมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงมาก จึงทำให้มักจะแสดงกิริยาโอ้อวด ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยแสดงออก โดยที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่าง ๆ

 

และนี่คือพฤติกรรมที่เราสสามารถสังเกตตัวเองและคนรอบข้างได้ที่อาจเป็นได้ว่าเสี่ยงเป็นไบโพราล์ ดังนั้น อย่าลืมเข้ารับการรักษา เพราะโรคไบโพลาร์รักษาได้ ขอแค่เข้าใจ จะได้กลับมาใช้ชีวิตได้ปกติและมีความสุขกันนะ

 

ข้อมูล : สสส.

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง