รีเซต

ฉันผ่านได้ แค่ทุกคนเข้าใจ! วิธีสังเกตอาการ ไบโพล่าร์ VS ซึมเศร้า

ฉันผ่านได้ แค่ทุกคนเข้าใจ! วิธีสังเกตอาการ ไบโพล่าร์ VS ซึมเศร้า
TeaC
31 สิงหาคม 2564 ( 11:16 )
355
ฉันผ่านได้ แค่ทุกคนเข้าใจ! วิธีสังเกตอาการ ไบโพล่าร์ VS ซึมเศร้า

เมื่อสุขภายใจกลายเป็นเรื่องที่ทุกคนเริ่มให้ความสำคัญในการดูแลเยียวยาจิตใจท่ามกลางความเครียดและความกดดันจากสถานการณ์โรคโควิดระบาด เรื่องปากท้อง คุณภาพชีวิตที่ปรากฎเป็นข่าวให้เห็นล้วนให้สุขภาพใจได้รับความหดหู่ในหัวใจมากขึ้นไปอีก อย่างกรณีของเพื่อนสาวคนสนิทของหนุ่ม ทอยทอย ธนภัทร ชนะกุลพิศาล ดาราซีรีน์วาย ป่วยเป็นโรคไบโพล่าร์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และบ่อยครั้งที่มักจะพบเห็นการหยิบยกคนที่อารมณ์แปรปรวน เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องให้ เดี๋ยวโมโหภายในวันเดียวว่า "นี่แกเป็นไบโพล่าร์ป้ะเนี่ย"

 

ซึ่งจริง ๆ แล้ว "โรคไบโพล่าร์" (Bipolar Disorder)  เป็นอีกหนึ่งโรคที่ไม่ควรมองข้ามในการทำความเข้าใจให้มากขึ้น เพื่อสังเกตตัวเองและคนรอบข้าง เช่นเดียวกับการเข้าใจคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า TrueID จึงอยากให้เข้าใจโรคไบโพล่าร์ หรืออาการอารมณ์ 2 ขั้วของโรคนี้มากยิ่งขึ้น เพื่อจะได้สังเกตทั้งตัวเองและคนในครอบครัว เพราะทุกคนสามารถเป็นโรคที่เกี่ยวกับสุขภาพใจได้เช่นเดียวกัน

 

ทำความเข้าใจ! โรคไบโพลาร์

 

หลายคนที่มักชอบแซวคนที่มีอารมณ์แปรปรวนเป็นพวกไบโพลาร์ หรือ Bipolar Disorder ซึ่งเป็นโรคที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติของอารมณ์เด่นชัด โดยหากสังเกตและทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว จะพบว่าคนที่เป็นจะมีอารมณ์เศร้ามากผิดปกติ ร้องไห้ อ่อนเพลีย อยากตาย หรืออาจมีอารมณ์ดีมากผิดปกติ ครึกครื้น พูดมาก ผู้ป่วยอาจมีอาการเพียงด้านเดียว กรณีอารมณ์ครื้นเครง หรือมีอาการสองด้านก็ได้

 

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพอาการของคนที่เป็นโรคไบโพลาร์ จะได้เข้าใจอย่างถูกต้อง อาการอารมณ์ 2 ขั้วของโรคนี้ ไม่ได้เกิดสลับกันภายในวันสองวันอย่างที่ทุกคนคิดไปเอง หรือเข้าใจไปกันเอง แต่อาการนี้จะเกิดขึ้นนานเป็นอาทิตย์ หรือเป็นเดือน ๆ จะสวิชไปอีกอารมณ์นึง และจะกินกินเวลาเป็นเดือน ๆ ถึงจะสวิชกลับมาเหมือนกัน โดยอาการไบโพลาร์ แบ่งได้เป็น 2 ระยด้วยกัน นั่นคือ ระยะ มาเนีย (Manic Episode) กับ ระยะซึมเศร้า (Depressive Episode)

 

ระยะมาเนีย (Manic Episode) คือ ระยะพุ่งพล่าน มีอาการคิดเร็ว ทำเร็ว มั่นใจในตัวเอง นอนน้อย เพราะอยากออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย อารมณ์พุ่งพล่าน ใช้เงินเยอะ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้หากไม่ใส่ใจดี ๆ หรือขาดการสังเกตทำให้ผู้ป่วยและคนรอบข้างเข้าใจว่าเป็นแค่นิสัยไฮเปอร์ ไม่ได้ผิดปกติหรืออะไร และอาจเป็นแบบนี้อยู่นานหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือนได้

 


แต่พอนานวันเข้า อาการที่กล่าวข้างต้นที่ผู้ป่วยเองหรือคนรอบข้างเข้าใจว่าเป็นแค่นิสัย จะกลับตาลปัตรเข้าสู่ระยะซึมเศร้า (Depressive Episode) ทีนี้ล่ะ ผู้ป่วยจะมีอาการตรงกันข้ามกับระยะมาเนียทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น มีอาการท้อแท้ เบื่อหน่า ยไม่อยากทำอะไร เบื่ออาหารหรือกินมากกว่าปกติ รู้สึกตัวเองไร้ค่า สิ้นหวัง อ่อนเพลีย อยากฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายตัวเอง และอาจเป็นอาการซึมเศร้าอยู่นานติดต่อกันเป็นเดือน หลังจากนั้นสวิชกลับไปคึกคักเหมือนช่วงมาเนียอีกครั้ง 

 

ดังนั้น เวลาที่อาการซึมเศร้าดีขึ้น ต้องคอยสังเกตตัวเองว่าเรากลับมามีอารมณ์ปกติของเรา หรือ อารมณ์ดีมีความสุขสุด ๆ โลกนี้ช่างสดใส เพราะข้อดีของการแยกได้ว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า หรือเป็นโรคไบโพลาร์ จะช่วยให้คนรอบข้างเข้าใจเรามากขึ้นว่าเป็นอาการของโรคนะ ไม่ใช่นิสัยใจคอที่ทุกคนคิดไปเอง หรือเข้าใจไปเอง

 

เพราะอย่าลืมว่า แต่ละคนมีวิธีรับมือกับสถานการณ์ที่เจอแตกต่างกันออกไป ดังนั้น สถานการณ์เดียวกันแต่ต่างคนต่างรู้สึกถึงความสูญเสียไม่เท่ากัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ยังมีบางกลุ่มในสังคมไทยไม่เข้าใจผู้ป่วยที่ตกอยู่ในอาการซึมเศร้า และอาการอารมณ์ 2 ขั้วนี้ และทำให้เกิดการคอมเม้นต์แบบไม่เข้าใจบนสังคมออนไลน์ สร้างรอบแผลเล็ก ๆ ในจิตใจ หรือการใช้คำพูดที่คิดว่าธรรมดา แต่คนป่วยที่รับฟังกลับรู้สึกหดหู่ จึงทำให้เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ผู้ป่วยรู้สึกยิ่งสูญเสีย และเสียศูนย์จึงก่อให้เกิดเหตุอันน่าสลดใจตามมาได้

 

สุดท้าย TrueID ขอเป็นกำลังใจคนที่กำลังเผชิญโรคซึมเศร้าและโรคไบโพลาร์อยู่ อย่าลืมกินยาสม่ำเสมอในการรักษา รวมทั้งรับมือกับผลข้างเคียงของยา พร้อมทั้งปรึกษาแพทย์ตามที่นัดเสมอ

 

และที่สำคัญมี TrueID อยู่เคียงข้างเสมอนะ :)

 

ข้อมูล : โรงพยาบาลเปาโล

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง