รับมือกับ "โรคซึมเศร้า" ด้วยตัวเอง
ในช่วงเวลาหลายปีมานี้ สื่อต่าง ๆ มีการนำเสนอข่าวคนดัง เช่นกรณี ทอยทอย ธนภัทร นักแสดงซีรีย์ ใช้มีดแทงแฟนสาวดับ พบประวัติป่วยซึมเศร้า หรือล่าสุดกรณี อาร์ต KPN และแม้แต่ข่าวการฆ่าตัวตายที่มีส่วนเกี่ยวโยงกับการเป็นโรคซึมเศร้าออกมาอย่างต่อเนื่อง เราจึงควรตระหนักว่า โรคซึมเศร้าใกล้ตัวเรากว่าที่คิด เราอาจจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองหรือคนรอบข้างกำลังเสี่ยงหรือเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ เพราะข่าวที่ออกมาก็ไม่ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคในเชิงลึกสักเท่าไหร่ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักโรคซึมเศร้าในแง่มุมต่างๆ ให้มากขึ้น เพื่อจะเป็นประโยชน์ในการระแวดระวังและหาทางป้องกันหรือรีบรักษา วันนี้ trueID จะหาวิธีรับมือกับ"โรคซึมเศร้า"ด้วยตัวเอง จะเป็นอย่างไรไปติดตามกัน
วิธีรับมือ"โรคซึมเศร้า"เบื้องต้น
- หมั่นดูแลตนเองให้มีสุขภาพดี ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ กินอาหารถูกสุขลักษณะ ไม่ใช้สารเสพติด ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้ง
- ในด้านจิตใจ ฝึกให้เป็นคนคิดบวก มองโลกในแง่ดี ไม่คิดร้ายกับใคร ไม่กล่าวโทษตัวเองไปซะทุกเรื่อง ควรหางานอดิเรก คลายเครียด เข้าชมรมต่างๆ ที่เหมาะกับวัย หรือเป็นจิตอาสา ทําสิ่งที่ทำให้รู้สึกตัวเองมั่นใจ มีคุณค่า รู้ว่าใครรักและเป็นห่วงก็ให้อยู่ใกล้คนๆ นั้น และให้อยู่ห่างจากคนที่ไม่ถูกใจ
- ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ควรหาเวลาออกไปทำกิจกรรมที่สนุกสนาน ไม่เคร่งเครียดหรือทำงานหนักเกินไป ไม่ไปอยู่ในสถานการณ์หรือดูข่าวร้ายที่ทำให้จิตใจหดหู่ หากมีการใช้ยาเพื่อรักษาโรคใดๆ อยู่ไม่ควรหยุดยาเอง โดยเฉพาะถ้ารักษาโรคด้านจิตเวชอยู่ควรกินยาตามแพทย์สั่ง อย่าได้ขาดหรือหยุดยาเอง
โรคซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายถ้าหากอาการไม่รุนแรกมาก และยังพอที่จะสามารถควบคุมจิตใจตนเองได้โดยไม่ต้องพึงยา เพียงแค่เราปรับพฤติกรรม ความคิด และ อารมณ์ ของเราให้คงที่ละว่างในชีวิตประจำวัน
วิธีหายจากโรคซึมเศร้าด้วยตัวเอง
1. ทำสมาธิ : เพราะการทำสมาธิแม้แค่วันละไม่กี่นาที่ สามารถช่วยว่าเราเข้าสู่ความเงียบสงบ ปรับสมดุลชีวิต ผ่อนคลายความเครียด และยังทำให้มีความแจ่มชัดในสมองและนเองอีกด้วย
2. ออกกำลังกาย : การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยเพิ่มสารเอนโดฟินส์ในร่างกาย ส่งเสริมพลังงาน ยกระดับอารมณ์ให้สูงขึ้น และ ยังเพิ่มความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง
3. มีกลุ่มเพื่อนที่ไว้ใจได้ : กลุ่มเพื่อนที่เป็นกัลยาณมิตร คอยดูแลรับฟัง ช่วยเหลือกันและกัน มีสุขรวมเสพ มีกุกข์ร่วมต้าน เพราะว่าการที่คมเรามีกลุ่มคนคอยหนุนนำจะทำให้คนเราสามารถรับมือกับความเครียดและความเจ็บป่วยทางใจได้
4. หางานอดิเรกทำ : งานอดิเรกมักเป็นสิ่งที่เรารักที่ จะทำช่วยดึงความสนใจจากอารมณ์ด้านลบได้ ดังนั้นถ้ารู้สึกเครียดหรือซึมเศร้า ควรหางานอดิเรกที่กทำแล้วจะมีสมาธิจดจ่อกับมัน
5. รับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ : ในบางครั้งเราอาจจะพบเจอเรื่องราวที่ทำให้เราไม่สามารถควบคุม อารมณ์และความคิดของเราได้จริงๆ เราจึงจำเป็นต้องพึงพาผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำแนะนำและวินิจฉัยอาการของเราได้แม่นยำ ซึ่งจะค่อยช่วยเหลือเราให้ผ่อนคลายอารมณ์จนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ ซึ่ง เราสามารถขอคำปรึกษาได้ที่เบอร์โทร 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่สำคัญเป็นบริการฟรีจากกรมสุขภาพจิต
6. จงรักตัวเอง : การรักตัวเองเป็นหนึ่งในวิธีที่ได้ผลดีที่สุด แต่ไม่ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย เหตุผลคือน้อยคนนักที่จะถูกสอนให้รักตัวเอง การรักตัวเองหาใช่ความเห็นแก่ตัว แต่คือการเมตตาและปรารถนาดีต่อตัวเราเอง
ภาพโดย Manuel Alvarez จาก Pixabay
ข้อมูล: รพ.พญาไท , สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ติดโควิดใครว่าไม่เครียด! รู้วิธีจัดการความเครียดสำหรับผู้ป่วยโควิด-19
- “โควิด-19” ทำให้เครียดหรือเปล่า? รับมือให้ทันก่อนจะเครียดเพราะโควิด
- อย่าปล่อยให้เครียด! เช็คสุขภาพใจช่วงโควิด ไปกับกรมสุขภาพจิตกันเถอะ
- ต้าน โรคซึมเศร้า! เปิด 7 วิธีเช็กสุขภาพจิตของตัวเองเบื้องต้น
- รวมแอปฯ ปรึกษาจิตแพทย์ สำหรับผู้ป่วยซึมเศร้าและผู้ต้องการคำปรึกษา