รีเซต

"ปล่อยห้องรก" แค่ความขี้เกียจ หรือสัญญาณเตือน! ปัญหาสุขภาพจิต

"ปล่อยห้องรก" แค่ความขี้เกียจ หรือสัญญาณเตือน! ปัญหาสุขภาพจิต
TNN ช่อง16
22 กรกฎาคม 2568 ( 21:57 )
15

รู้หรือไม่ว่าสภาพห้อง ช่วยบอกสุขภาพจิตได้! จิตแพทย์ชี้ทำห้องรกอาจไม่ใช่ขี้เกียจ แต่เป็น  Hoarding  Disorder ชอบสะสมของไม่มีคุณค่า


โรคชอบสะสมสิ่งของ หรือ โรคเก็บของ (Hoarding Disorder) คือ ภาวะทางจิตที่ผู้ป่วยมีพฤติกรรมเก็บสะสมสิ่งของจำนวนมาก จนล้นพื้นที่ใช้สอย ไม่สามารถแยกแยะสิ่งของที่จำเป็น ไม่จำเป็นได้ โดยที่สิ่งของเหล่านี้อาจมีมูลค่าหรือไม่มีมูลค่าก็ได้ ซึ่งสาเหตุการเกิดโรคอาจเกิดได้จากพันธุกรรม, เคยได้รับการบาดเจ็บทางสมองและเป็นโรคทางสมอง, ประสบการณ์ที่ฝังใจ เช่น เคยถูกทอดทิ้ง เคยถูกทำร้าย หรือ สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก


ปัจจุบันมีการวิจัยเกี่ยวกับโรคนี้บ่อยครั้งแต่พบปัจจัยที่ทำให้เกิดสาเหตุหลักๆ เป็นจำนวนมากและอาจถึง 50 ของคนที่มีส่วนสำคัญที่คนทั่วไปก็ให้ความสำคัญนี้ด้วย และอีกปัจจัยคือความทราบทางสมองของระบบปฏิบัติการโดยยังอยู่ในขั้นตอนของการทำวิจัยสำหรับสิ่งที่ผู้ป่วยเลือกเก็บข้อมูลส่วนใหญ่ของทั่วไปไม่ได้มีค่าหรือทำอะไร เช่น หนังสือนิตยสาร ขวดพลาสติก ตามลำดับ

ผู้ที่มีส่วนร่วมนี้มุ่งเน้นไปที่ช่วงวัยรุ่นแต่อาการจะเห็นได้ชัดอย่างชัดเจนเมื่อช่วงวัย 30 ปี ข้าวของเครื่องใช้จะขึ้นจำนวนมาก ผู้คนที่ปฏิเสธการทิ้งขว้างโดยจะเก็บตกนรกบ้านตรงข้ามกับทั่วไปที่มักจะในวัยนี้ปฏิบัติของปริมาณเพื่อทิ้งและเพื่อเก็บแต่ผู้ที่ป่วยจะตัดใจทิ้งส่วนประกอบต่างๆ เพราะร้านอาหารของยังมีประโยชน์ต่อตนเองอยู่


ผู้ป่วยโรคชอบสะสมสิ่งของ มักมีพฤติกรรมดังนี้


-เก็บสะสมสิ่งของจำนวนมาก จนล้นพื้นที่ใช้สอย

-ยากที่จะทิ้งสิ่งของ แม้ว่าจะเป็นสิ่งของที่ไม่จำเป็น ไร้ค่า หรือเสียหายแล้ว

-เชื่อว่าสิ่งของที่เก็บสะสมไว้ อาจมีประโยชน์ในอนาคต

-รู้สึกทุกข์ทรมาน วิตกกังวล เมื่อต้องทิ้งสิ่งของ

-รู้สึกโกรธ โมโห หากมีคนพยายามทิ้งสิ่งของของตน

-ละเลยการดูแลตัวเอง บ้านช่องรก สกปรก

-แยกตัวจากสังคม ไม่คบค้าสมาคมกับใคร


โรคชอบสะสมสิ่งของ สามารถบำบัดรักษาได้ โดยจิตแพทย์จะประเมินและพิจารณาการรักษาตามความเหมาะสม เช่น การบำบัดทางจิตวิทยา การบำบัดพฤติกรรมรู้ความคิด การบำบัดกลุ่ม, การให้ยา เช่น ยาต้านเศร้า ยาลดความวิตกกังวล ,และการปรับสภาพแวดล้อม เช่น ช่วยผู้ป่วยจัดระเบียบ ทำความสะอาด บ้าน อาจจะช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้นได้ในอนาคต

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง