รีเซต

ขั้นตอนขอรับเงินช่วยเหลือจาก "กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ" กรณีผู้มีรายได้น้อย ตกงาน มีหนี้ ต้องทำอย่างไรบ้าง ได้เงินเยียวยาเท่าไหร่

ขั้นตอนขอรับเงินช่วยเหลือจาก "กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ" กรณีผู้มีรายได้น้อย ตกงาน มีหนี้ ต้องทำอย่างไรบ้าง ได้เงินเยียวยาเท่าไหร่
Ingonn
10 สิงหาคม 2564 ( 13:32 )
4.2K
1
ขั้นตอนขอรับเงินช่วยเหลือจาก "กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ" กรณีผู้มีรายได้น้อย ตกงาน มีหนี้ ต้องทำอย่างไรบ้าง ได้เงินเยียวยาเท่าไหร่

 

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ พม. เปิดโอกาสให้ประชาชนที่มีรายได้ไม่เพียงพอ ไม่มีงานทำ มีหนี้สิน และประสบปัญหาความเดือดร้อน สามารถยื่นขอรับเงินช่วยเหลือผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้วโดยให้ประชาชนผู้ประสบความเดือดร้อน สามารถเข้าไปกรอกข้อมูล เพื่อ "ยื่นคำขอรับบริการ" ด้วยการ สแกน QR Code หรือ คลิกที่ http://www.dsdwservice.dsdw.go.th/Petitions/Petition

 

 

ขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือนั้น จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามกระบวนการทางสังคมสงเคราะห์ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ไปตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริง ตามที่ประชาชนได้ให้ไว้ในระบบ

 

 

วันนี้ TrueID จะเปิดเผยขั้นตอนอย่างละเอียดเพื่อให้ผู้ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนด้านการเงินในช่วงวิกฤตโควิด-19 ได้รับเงินช่วยเหลือ

 

 

 

ช่องทางการขอรับเงินช่วยเหลือจาก พม.


1.สแกน QR Code 


2.คลิกที่ http://www.dsdwservice.dsdw.go.th/Petitions/Petition

 

 

 

ขั้นตอนการขอรับเงินช่วยเหลือ


สำหรับประชาชนผู้ประสบความเดือดร้อน สามารถเข้าไปกรอกข้อมูล เพื่อ "ยื่นคำขอรับบริการ" โดยมีขั้นตอนและวิธีการดังต่อไปนี้

 

1.สแกน QR Code หรือ "ยื่นคำขอรับบริการ"ในเว็บไซต์กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ หรือ (คลิกที่นี่)

 


2.กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน เช่น ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด เลขบัตรประชาชน ที่อยู่ 

 


3.ถ่ายรูป แนบไฟล์เอกสาร(เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสภาพปัญหา)

 


4.ตรวจสอบความถูกต้อง และ"กดบันทึกข้อมูล"

 

 

 

 

ตัวอย่างการระบุข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหา


ผู้ต้องการจะต้องระบุ สภาพความเดือดร้อนและสิ่งที่อยากขอความช่วยเหลือ เช่น ไม่มีงาน อยากให้ช่วยจัดหาอาชีพให้ ไม่มีเงินทุนประกอบอาชีพ อยากกลับภูมิลำเนาแต่ไม่มีค่าเดินทาง เป็นผู้ติดเชื้อเอดส์ ต้องการถุงยังชีพ ฯลฯ

 

 

 

 


การยื่นคำขอรับบริการ ผ่านระบบ e-Service เป็นเพียงขั้นตอนการแจ้งความประสงค์เท่านั้น ซึ่งการให้ความช่วยเหลือจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของระเบียบของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ โดยผ่านขั้นตอนกระบวนการทางสังคมสงเคราะห์ ซึ่งผู้ที่ได้ยืนยันข้อมูลและยินยอมให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน เพื่อตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริง ตามที่ให้ไว้ในระบบ หากพบว่าปกปิดข้อมูล หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ กรมฯ/หน่วยงานจะไม่รับพิจารณาคำขอรับความช่วยเหลือดังกล่าว และหากเกิดความเสียหายอย่างใด ๆ ขึ้นกับส่วนราชการจะดำเนินการตามกฎหมายจนถึงที่สุด

 

 

 

ขั้นตอนการเยี่ยมบ้านสำหรับผู้ที่เดือดร้อน ต้องการเงินเยียวยา


1.เจ้าหน้าที่ พส.จะตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น ด้วยการโทรกลับไปสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการเบื้องต้น 

 


2.นัดวันที่ผู้ร้องสะดวก เพื่อส่งนักสังคมสงเคราะห์ลงเยี่ยมบ้าน 

 

แต่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาดหนัก จะใช้วิธีให้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ที่อยู่ในชุมชนอยู่แล้ว เข้าไปเยี่ยมบ้านแทนและแจ้งข้อมูลมาให้นักสังคมสงเคราะห์ 

 

ซึ่งการไปเยี่ยมบ้านเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะต้องเห็นสภาพความเดือดร้อนเพื่อเป็นการยืนยันถึงความต้องการในการรับเงินช่วยเหลือ เนื่องจากเงินส่วนนี้ให้สำหรับผู้เดือดร้อนจริงๆ

 

 


ได้รับเงินเยียวยาเท่าไหร่

 

ทาง พม. จะพิจารณาคุณสมบัติผู้ร้อง โดยผู้ที่ผ่านจะได้รับเงิน 3,000 บาท ซึ่งเป็นเงินสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย ใช้เวลาโอนเงินเข้าบัญชี ไม่เกิน 5 วัน

 

ส่วนกรณีถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอยู่ หากตรวจสอบแล้วว่าเป็นผู้เดือดร้อนและยากจนจริง สามารถรับเงินในส่วนนี้ได้

 

 


ขั้นตอนการตรวจสอบหรือติดตามสถานะการรับเงินอุดหนุน 


1.เลือกเมนู "ยื่นคำขอรับบริการ"ในเว็บไซต์กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ หรือ สแกน QR Code 

 


2.กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้ที่ต้องการตรวจสอบสถานะ

 


3.กรอกวันเดือนปีเกิดของผู้ที่ต้องการตรวจสอบสถานะ เช่น 21/10/2550 (กรณีที่มีแต่ปีเกิดให้ใส่ 01/01/ปีเกิด)

 


4.กดตรวจสอบสถานะ

 

 

 

ข้อมูลจาก กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , เพจ ไทยคู่ฟ้า , มติชน

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง