รีเซต

สิทธิประโยชน์ของผู้ถือบัตรทอง ทำอย่างไร?จึงจะมีสิทธิบัตรทอง

สิทธิประโยชน์ของผู้ถือบัตรทอง ทำอย่างไร?จึงจะมีสิทธิบัตรทอง
TrueID
14 กันยายน 2563 ( 09:15 )
44.1K
1

ก่อนหน้านี้ประเทศไทยมีระบบสวัสดิการและหลักประกันสุขภาพที่ภาครัฐเข้าไปมีส่วนร่วม 4 ระบบ อันได้แก่ ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ, ระบบประกันสังคม, ระบบประกันสุขภาพโดยสมัครใจ (โครงการบัตรสุขภาพ เสียเงินรายเดือนหรือรายปี) และโครงการสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล (สปร.) หรือ บัตรอนาถา ซึ่งเมื่อรวมกับระบบประกันสุขภาพของภาคเอกชน (ประกันชีวิต) แล้ว เท่ากับว่าไทยมีระบบประกันสุขภาพจำนวน 5 ระบบ ทั้งห้าระบบนี้สามารถครอบคลุมประชากรประมาณร้อยละ 70 ของประเทศ จะเห็นได้ว่า ยังมีประชากรอีกกว่า 20 ล้านคนหรือร้อยละ 30 ของประเทศที่ยังไม่มีหลักประกันสุขภาพใด ๆ นี่เป็นประเด็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ผลักดันให้มีการขยายสวัสดิการรักษาพยาบาลและหลักประกันสุขภาพให้ครอบคลุมกลุ่มประชากรที่ตกหล่น จึงทำให้เกิดบัตรทอง หรือบัตร 30 บาทรักษาทุกโรค trueID news จะพาทุกท่านไปรู้จักกับบัตรดังกล่าวว่ามีประโยชน์อย่างไร และทำอย่างไรถึงจะมีสิทธิได้มาครอบครอง

 

บัตรทองคืออะไร? 

 

บัตรทอง : สิทธิของคนไทย หรือ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตร 30 บาทรักษาทุกโรค) เป็นบัตรที่ออกโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิเข้ารับบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการ ** โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

 

สิทธิประโยชน์ของผู้ถือบัตรทอง


* การส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ทั้งก่อนและหลังคลอดการคลอด การคลอดบุตรรวมกันไม่เกิน 2 ครั้ง
* การดูแลสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก รวมทั้ง วัคซีนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค
* บริการวางแผนครอบครัว ได้แก่ การให้คำแนะนำปรึกษาแก่คู่สมรส การคุมกำเนิด
* การตรวจ การวินิจฉัย การรักษาโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
* ค่ายาและเวชภัณฑ์ตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ
* ค่าอาหารและค่าห้องสามัญ ระหว่างพักรักษาตัว ณ หน่วยบริการ
* การจัดส่งต่อเพื่อการรักษาระหว่างหน่วยบริการ

 

คุ้มครองโรคค่าใช้จ่ายสูง


* ผ่าตัดตาต้อกระจก
* ผ่าตัดหัวใจ
* บำบัดรักษามะเร็ง
* การใส่เพดานเทียมในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่
* ยาต้านไวรัสเอดส์
* ล้างไตทางช่องท้อง สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

 

ตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เพื่อให้การดูแลรักษาโรคก่อนถึงระยะอันตราย ได้แก่ ตรวจระดับ
น้ำตาลในเลือดเพื่อเฝ้าระวังโรคเบาหวาน ตรวจมะเร็งปากมดลูก ตรวจมะเร็งเต้านม เป็นต้น


บริการทันตกรรม ได้แก่ อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน การให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ การรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม การเคลือบหลุมร่องฟันเพื่อป้องกันฟันผุ และการทำฟันปลอมฐาน
พลาสติก


บริการการแพทย์แผนไทย ได้แก่ ยาสมุนไพรหรือยาแผนไทย การนวดเพื่อการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ การอบหรือประคบสมุนไพรเพื่อการรักษา


บริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

คนพิการตาม พรบ. การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 หรือคนพิการที่ได้รับการตรวจประเมินว่ามีความพิการอยู่ในเกณฑ์ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด และได้รับการลงทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิบัตรทอง (ท.74)สามารถขอรับบริการเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ เช่น กายภาพบำบัด จิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด ฟื้นฟูการได้ยิน ฟื้นฟูการมองเห็น และรับอุปกรณ์เครื่องช่วยตามประเภทความพิการได้

นอกจากนี้ ผู้ถือบัตรทองยังได้รับความคุ้มครอง ในกรณีที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือได้ภายใน 1 ปีหลังจากทราบว่าได้รับความเสียหาย


ทำอย่างไร? จึงจะมีสิทธิบัตรทอง


ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 5 กำหนดให้บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติซึ่งบุคคลในที่นี้หมายถึง บุคคลที่มีสัญชาติไทย


ดังนั้น ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือ บุคคลที่มีสัญชาติไทย มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้


ตัวอย่างบุคคลที่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลจากรัฐ(ที่ไม่มีสิทธิได้บัตรทอง) เช่น

1. ผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เช่น ลูกจ้างที่ทำงานในกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปยกเว้น ลูกจ้างทำงานบ้าน หาบเร่ แผงลอย หรือลูกจ้างของบุคคลธรรมดาที่ไม่มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย
2. ผู้มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เช่น ข้าราชการ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ และครอบครัว
3. ผู้อยู่ในความคุ้มครองของหลักประกันสุขภาพอื่นที่รัฐจัดให้ เช่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระ ครูโรงเรียนเอกชนในระบบ


ต่างจังหวัด ติดต่อลงทะเบียนทำบัตรได้ที่

- สถานีอนามัย
- โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน หรือ
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

เปิดให้บริการในวันจันทร์- ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น.


กรุงเทพมหานคร ติดต่อลงทะเบียนทำบัตรได้ที่


- สำนักงานเขตที่อยู่ใกล้บ้าน เปิดให้บริการในวันจันทร์- ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น.
- ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพ ชั้น M สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอาคารจัสมินอินเตอร์เนชั่นแนล 200 ม.4 ถ.แจ้งวัฒนะ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี11120 เปิดให้บริการในวันจันทร์- ศุกร์ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น


ใช้หลักฐานอะไรบ้าง ?


1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ หากเป็นเด็กต่ำอายุต่ำกว่า15ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร (ใบเกิด)
2. สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอมีชื่ออยู่
3. แบบคำร้องลงทะเบียนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า/ขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ


กรณีพักอาศัยอยู่จริงไม่ตรงตามทะเบียนบ้าน ให้แสดงหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้


1. สำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่ตนไปพักอาศัยอยู่ พร้อมหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน
2. หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน ซึ่งรับรองว่าผู้ขอลงทะเบียนพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ
3. หนังสือรับรองของผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง
4. เอกสารหรือหลักฐานอื่น เช่น สัญญาเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำใบเสร็จรับเงินค่าโทรศัพท์บ้าน ฯลฯ ที่แสดงว่าผู้ขอลงทะเบียนพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ จริง


การใช้สิทธิบัตรทอง


ผู้ประสงค์ใช้สิทธิบัตรทองให้แสดงบัตรทอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนในการเข้ารับบริการสาธารณสุข ได้ที่หน่วยบริการประจำที่ระบุในบัตรก่อนทุกครั้ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย


กรณีเจ็บป่วยทั่วไป

 

 

1. เข้ารับการรักษาพยาบาลที่หน่วยบริการปฐมภูมิก่อนทุกครั้ง
2. แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประกันประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตร
ประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร (ใบเกิด)


หมายเหตุ : ควรเข้ารับบริการในวัน เวลาราชการ หรือเวลาที่หน่วยบริการกำหนดไว้


การวินิจฉัยว่า เจ็บป่วยฉุกเฉิน แพทย์จะพิจารณาตามข้อบ่งชี้ ดังนี้

 

 


1. โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต หรืออันตรายต่อผู้อื่น
2. โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรง ต้องรักษาเป็นการเร่งด่วน
3. โรคที่ต้องผ่าตัดด่วน หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต
4. โรคหรือลักษณะอาการของโรคที่คณะกรรมการกำหนด

ทั้งนี้ แพทย์จะพิจารณาจากความดันโลหิต ชีพจร อาการของโรค การวินิจฉัยโรค แนวทางการรักษาและ
ความเร่งด่วนในการรักษาประกอบด้วย


แนวทางการใช้สิทธิ คือ


1. เข้ารับการรักษากับหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ใกล้ที่สุด
2. แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัว
ประชาชน หรือเอกสารอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร (ใบเกิด)


หมายเหตุ : กรณีฉุกเฉิน สามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการอื่นนอกเหนือหน่วยบริการประจำได้ไม่จำกัด
จำนวนครั้ง (ตั้งแต่ 31 กรกฎาคม 2551)

 

กรณีอุบัติเหตุ

ผู้มีสิทธิสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ที่หน่วยบริการอื่นนอกเหนือหน่วยประจำครอบครัวได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้

 

 

กรณีได้ประสบอุบัติเหตุทั่วไป


1. ควรเข้ารับการรักษายังหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการฯ และอยู่ใกล้ที่สุด
2. แจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิพร้อมแสดงเอกสารประกอบ ได้แก่ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตร
ประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร (ใบเกิด)


กรณีประสบภัยจากรถ

ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิบัตรทองต่อเนื่องจากค่าเสียหายเบื้องต้นที่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ
หรือบริษัทประกันภัยเป็นผู้จ่าย โดย

          1. เข้ารับการรักษายังหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการ
                1.1 แจ้งใช้สิทธิพร้อมหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย (หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร) สำเนา พ.ร.บ.รถที่ประสบภัย
                1.2 หากมีความเสียหายเกินค่าเสียหายเบื้องต้น ให้ผู้ป่วยสำรองจ่ายแล้วไปรับคืนจากบริษัท
ประกันภัยของคู่กรณี (กรณีได้ข้อยุติว่ารถคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด)


          2. เข้ารับการรักษายังหน่วยบริการที่ไม่เข้าร่วมโครงการ
                2.1 แจ้งใช้สิทธิบัตรพร้อมหลักฐานประกอบได้แก่ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย (หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร) สำเนา พ.ร.บ.รถที่ประสบภัย
                2.2 ติดต่อสายด่วน สปสช. 1330 เพื่อประสานหาเตียงรองรับ ในการใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อเนื่อง
                2.3 หากมีความเสียหายเกินค่าเสียหายเบื้องต้น ให้ผู้ป่วยสำรองจ่ายแล้วไปรับคืนจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณี (กรณีได้ข้อยุติว่ารถของคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด)

หมายเหตุ : ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ไม่ได้กำหนดให้โรงพยาบาลเรียกเก็บแทนผู้ประสบภัย

 

การส่งต่อเพื่อการรักษาต่อเนื่อง

 

 

 


1. เข้ารับการรักษา ณ หน่วยบริการที่ระบุในบัตรทอง
2. แจ้งความจำนงเพื่อขอใช้สิทธิทุกครั้ง พร้อมทั้งแสดงบัตรทองและบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตร
ประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีใช้สำเนาใบสูติบัตร (ใบเกิด)
3. หากการรักษาพยาบาลครั้งนั้นเกินศักยภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิ หน่วยบริการปฐมภูมิจะพิจารณาส่ง
ต่อไปยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพที่สูงกว่าตามภาวะความจำเป็นของโรค


หน่วยบริการประจำ คืออะไร


          หน่วยบริการ หมายถึง โรงพยาบาล สถานีอนามัย สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ศูนย์บริการสาธารณสุข สถานพยาบาลของเอกชน ศูนย์บริการสาธารณสุข ที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
          หน่วยบริการประจำ หมายถึง หน่วยบริการที่ผู้มีสิทธิบัตรทองเลือกลงทะเบียนเพื่อรับบริการสาธารณสุขประจำ โดยทั่วไปจะเป็นหน่วยบริการที่มีสถานที่ตั้งใกล้เคียงกับที่อยู่ของผู้มีสิทธิบัตรทอง                        การขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ สามารถติดต่อขอเปลี่ยนได้ที่หน่วยบริการ หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสำนักงานเขตของ กทม. ในวันเวลาราชการ โดยเปลี่ยนได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ต่อปี(ตุลาคม - กันยายนของปีถัดไป) ทั้งนี้การขอรับบริการ ณ หน่วยบริการแห่งใหม่ สามารถใช้สิทธิไม่เสียค่าใช้จ่ายได้หลังการแจ้งความจำนงประมาณ 1 เดือน


สิทธิบัตรทอง...ดูแลทุกวัย...อุ่นใจใกล้บ้าน

กลุ่มที่ได้รับการคุ้มครอง

การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการควบคุมโรค

1. การตรวจและดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์
2. การดูแลสุขภาพเด็ก พัฒนาการและภาวะโภชนาการ รวมถึงการให้ภูมิคุ้มกันโรคตามแผนงานการให้ภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ
3. การตรวจสุขภาพประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง
4. การวางแผนครอบครัว (ยาคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย ห่วงอนามัย ยาฝังคุมกำเนิด และการทำหมันถาวร)
5. ยาต้านไวรัสเอดส์กรณีป้องกันการแพร่เชื้อจากแม่ตั้งครรภ์สู่ลูก
6. การเยี่ยมบ้าน และการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
7. การให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้รับบริการในระดับบุคคลและครอบครัว
8. การให้คำปรึกษา (counseling) และสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ
9. การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก ได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปาก การแนะนำด้านทันตสุขภาพ การให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ เช่น กลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ รวมทั้งการเคลือบหลุมร่องฟัน


บริการด้านการตรวจวินิจฉัย


1. การตรวจ การวินิจฉัย การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์จนสิ้นสุดการรักษาทั้งนี้ รวมถึงการแพทย์ทางเลือกที่ผ่านการรับรองของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
2. การคลอดบุตร รวมกันไม่เกิน 2 ครั้ง (กรณีบุตรคลอดแล้วรอดออกมามีชีวิต)โดยนับตั้งแต่ใช้สิทธิในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
3. ค่าอาหาร และค่าห้องสามัญ
4. การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูน การทำฟันปลอมฐานพลาสติก การรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม และการใส่เพดานเทียมในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่
5. ยาและเวชภัณฑ์ตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ
6. การจัดส่งต่อเพื่อการรักษาระหว่างหน่วยบริการ

 

บริการทางการแพทย์ที่ผู้มีสิทธิไม่ได้รับความคุ้มครอง

กลุ่มบริการที่เกินความจำเป็นพื้นฐาน

1. การรักษามีบุตรยาก
2. การผสมเทียม
3. การเปลี่ยนเพศ
4. การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงาม โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
5. การตรวจวินิจฉัย และรักษาใดๆ ที่เกินความจำเป็นและไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
6. การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง
กลุ่มบริการที่มีงบประมาณจัดสรรเป็นการเฉพาะ
7. โรคจิต กรณีที่ต้องรับไว้รักษาเป็นผู้ป่วยในเกินกว่า 15 วัน
8. การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดและสารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยาเสพติด
9. อุบัติเหตุการประสบภัยจากรถและผู้อยู่ในความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองประสบ
ภัยจากรถเฉพาะส่วนที่บริษัทหรือกองทุนตามกฎหมายนั้นต้องเป็นผู้จ่าย หลังจากใช้สิธิ พ.ร.บ.
ครบจึงจะสามารถใช้สิทธิ

กลุ่มบริการอื่นๆ

10. โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยในเกินกว่า 180 วัน ยกเว้นกรณีมี
 ความจำเป็นต้องรักษาต่อเนื่องจากการแทรกซ้อน หรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
11. การรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยการล้างไต (Peritoneal Dialysis) และการฟอกเลือด
ด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)
12. การเปลี่ยนอวัยวะ (Organ Transplant)

 

 

 

ข้อมูล : สปสช

ภาพโดย Arek Socha จาก Pixabay 

++++++++++++++++++++

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

>>>สิทธิประกันสังคมกรณี ลาออก เลิกจ้าง ว่างงาน และเหตุโควิด-19 อย่าลืมขอเงินทดแทน

>>>เงินเกษียณอายุ ประกันสังคม กรณีชราภาพ มีกี่แบบ วิธีรับเงิน?

>>>สิทธิประกันสังคมในการทำฟัน ครอบคลุมอะไรบ้าง ดัดฟัน จ่ายหรือไม่?

>>>อาชีพอิสระ งานส่วนตัว อย่าลืมใช้สิทธิสมัครประกันสังคม ม.40

>>>รวมปิดกิจการ - ยื่นล้มละลาย ปี 2020 พิษโควิด-19

>>>คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องรู้! เบิกยังไง? ใครจะได้บ้าง? ได้เท่าไร? กับเงินสงเคราะห์บุตร จาก ประกันสังคม

>>>มีสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง ที่เราจะได้รับจากประกันสังคม

>>>แรงงานต่างด้าว ได้สิทธิประกันสังคมไหม และได้อะไรบ้าง?

>>>ทุพพลภาพ ประกันสังคม ดูแลตลอดชีพ

 

รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม

สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง