รีเซต

ทุพพลภาพ ประกันสังคม ดูแลตลอดชีพ

ทุพพลภาพ ประกันสังคม ดูแลตลอดชีพ
TrueID
28 สิงหาคม 2563 ( 11:27 )
17.6K
2

ในชีวิตการทำงานเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนจะมีโอกาสเจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุ จนจำเป็นต้องหยุดงาน ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงตั้งกองทุนเงินทดแทนขึ้นมา เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งสิทธิประกันสังคมกรณีทุพพลภาพก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ลูกจ้างจะได้รับ และในวันนี้ trueID news จะพาไปรู้จักกับสิทธิดังกล่าว

   

 

สำนักงานประกันสังคม

 

ทุพพลภาพ คืออะไร?

การสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกายหรือสูญเสียภาวะปกติของจิตใจ จนทำให้ความสามารถในการทำงานลดลงถึงขนาดไม่อาจประกอบการงานตามปกติได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด 

 

กรณีทุพพลภาพ มีเงื่อนไข? 

ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนทุพพลภาพ 

 

จะได้รับเงินเท่าไร ?


1.  เงินทดแทนการขาดรายได้ 

 

  • กรณีทุพพลภาพรุนแรง ได้รับในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นรายเดือน ตลอดชีวิต
  • กรณีทุพพลภาพไม่รุนแรง ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาตามประกาศฯกำหนด

 

2.  ค่าบริการทางการแพทย์ ดังนี้


•    กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลของรัฐ 
-    ประเภทผู้ป่วยนอก จ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
-    ประเภทผู้ป่วยใน    จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลคำนวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรค (DRGs)


•    กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลของเอกชน
-    ประเภทผู้ป่วยนอก จ่ายเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท
-    ประเภทผู้ป่วยใน    จ่ายเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท


•    ค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพกรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ เหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท


•    ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเมื่อมีมติให้เป็นผู้ทุพพลภาพ


•    ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพและเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานของสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพตามหลักเกณฑ์ประกาศฯกำหนด


•    ค่าทำศพ กรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพถึงแก่ความตาย ผู้จัดการศพมีสิทธิได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท
 
•    เงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพถึงแก่ความตายผู้มีสิทธิได้รับดังนี้
             -  ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปแต่ไม่ถึง 10 ปี จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยสองเดือน

             -  ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป  จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยหกเดือน


หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน (กรณียื่นคำขอฯเพื่ออนุมัติให้เป็นทุพพลภาพ)


       -  แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)
       -  ใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่าเป็นบุคคลทุพพลภาพ
       -  สำเนาเวชระเบียน
       -  สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน มีดังนี้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)  ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) 

 


หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับค่าอวัยวะเทียม/อุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคกรณีทุพพลภาพ


        -  แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01) หรือ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีอวัยวะเทียม อุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค (สปส. 2-09)
        -  ใบเสร็จรับเงิน
        -  ใบรับรองแพทย์ (ให้แพทย์ระบุประเภทอวัยวะเทียม/อุปกรณ์ฯที่ใช้)
        -  หลักฐานอื่นๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติม



หลักฐานที่ใช้เพื่อขอรับค่าบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ (กรณีผู้ทุพพลภาพเป็นผู้ยื่นเรือง)


       -  แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01       -  ใบรับรองแพทย์
       -  ใบเสร็จรับเงิน
       -  หลักฐานอื่นๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติม 


 
หลักฐานที่ใช้เพื่อขอรับค่ารถพยาบาล/พาหนะรับส่ง/ (กรณีทุพพลภาพเป็นผู้ยื่นเรื่อง)


      -   แบบคำขอรับค่าบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพกองทุนประกันสังคม สปส. 2-01
      -  ใบรับรองแพทย์
      -  หลักฐานอื่นๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติม 


สถานที่ยื่นเรื่อง

ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

  
ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน

 

  1. ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา พร้อมหลักฐาน
  2. เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐาน นัดตรวจร่างกายผู้ประกันตนเพื่อประเมินการสูญเสียโดยแพทย์ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม และเสนอคณะกรรมการการแพทย์เพื่อพิจารณาอนุมัติ
  3. สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาแก่ผู้ประกันตนที่ยื่นคำขอฯ
  4. พิจารณาสั่งจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพรุนแรงเป็นรายเดือนตลอดชีวิต
        กรณีทุพพลภาพไม่รุนแรงจะพิจารณาสั่งจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาตามประกาศกำหนด
        โอนเข้าบัญชีธนาคารของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน มีดังนี้  ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)   ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)  
  5. กรณีผู้ทุพพลภาพมีความจำเป็นที่จะขอรับเป็นเงินสดหรือ ธนาณัติให้แจ้งความประสงค์ต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

>>>สิทธิประกันสังคมในการทำฟัน ครอบคลุมอะไรบ้าง ดัดฟัน จ่ายหรือไม่?

>>>อาชีพอิสระ งานส่วนตัว อย่าลืมใช้สิทธิสมัครประกันสังคม ม.40

>>> รวมปิดกิจการ - ยื่นล้มละลาย ปี 2020 พิษโควิด-19

>>> คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องรู้! เบิกยังไง? ใครจะได้บ้าง? ได้เท่าไร? กับเงินสงเคราะห์บุตร จาก ประกันสังคม

 

 

ภาพประกอบจาก : AFP

==========

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง