รีเซต

เงินสงเคราะห์บุตร จาก ประกันสังคม คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องรู้! เบิกยังไง? ใครจะได้บ้าง? ได้เท่าไร?

เงินสงเคราะห์บุตร จาก ประกันสังคม คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องรู้! เบิกยังไง? ใครจะได้บ้าง? ได้เท่าไร?
TrueID
26 สิงหาคม 2563 ( 12:15 )
3.3K
4
เงินสงเคราะห์บุตร จาก ประกันสังคม คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องรู้! เบิกยังไง? ใครจะได้บ้าง? ได้เท่าไร?

ในภาวะเศรษฐกิจขาลงในขณะนี้ ทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก สำหรับลูกจ้างที่เป็นหญิงมีครรภ์นอกจากจะมีสิทธิ์ลาคลอดตามกฏหมายคุ้มครองแรงงานแล้ว ยังมีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร ที่ประกันสังคมจะช่วยให้เราแบ่งเบาภาระได้ trueID news จะพาไปรู้จักกับเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคม ว่าคืออะไร? ใครสิทธิ์ได้บ้าง? และเบิกได้เท่าไร?

 

เงินสงเคราะห์บุตร คืออะไร?

สำหรับคนที่ประกันตนในระบบประกันสังคมและมีลูกด้วยนั้น มีสิทธิขอรับเงินสงเคราะห์บุตรได้ด้วย ซึ่งเชื่อว่าหลาย ๆ คนเองก็คงยังไม่ทราบเหมือนว่าเรามีสิทธิในเรื่องนี้ด้วย โดยเราจะได้รับเงินจำนวนหนึ่งไว้สำหรับแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน

 

เงินสงเคราะห์บุตร ใครเบิกได้บ้าง ?

  • ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39
  • จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน 
  • ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
  • อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์

 

เงินสงเคราะห์บุตร เบิกได้เท่าไร ?

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร เดือนละ 600 บาทต่อบุตรหนึ่งคน โดยจะเริ่มจ่ายตั้งแต่บุตรแรกเกิด จนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์ ได้พร้อมกันคราวละไม่เกิน 3 คน ซึ่งจะได้รับเงินผ่านบัญชีธนาคารทุก ๆ เดือน
 
 

การหมดสิทธิรับเงินกรณีสงเคราะห์บุตร

  • เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
  • บุตรเสียชีวิต
  • ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

 

ภาพจาก สำนักงานประกันสังคม

 

 

ยื่นเบิกเงินสงเคราะห์บุตร ประกันสังคม ได้ที่ไหน?

ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

 

หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
  2. กรณีผู้ประกันตนเคยยื่นใช้สิทธิแล้วและประสงค์จะใช้สิทธิสำหรับบุตรคนเดิม ให้ใช้หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ
  3. กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ
    1. สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) จำนวน 1 ชุด
  4. กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ
    1. สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตนหรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 1 ชุด
    2. สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วยจำนวน 1 ชุด)
  5. กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย จำนวน 1 ชุด
  6. กรณีผู้ประกันตนต่างชาติขอรับประโยชน์ทดแทนให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคมและสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1ชุด
  7. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ จำนวน 1 ฉบับ ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน ดังนี้
    • ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
    • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
    • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
    • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
    •  ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)
    • ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)
    • นาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
    • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด(มหาชน)
  8. เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ที่เป็นสำเนาให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ กรณีเอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน

 

ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน 

  1. ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส.2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน (กรณีผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตร 3 คน ในคราวเดียวกันสามารถใช้แบบคำขอฯ ชุดเดียวกันได้)
  2. เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ
  3. สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
  4. พิจารณาสั่งจ่าย จ่ายเป็นรายเดือนโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

>>>สิทธิประกันสังคมในการทำฟัน ครอบคลุมอะไรบ้าง ดัดฟัน จ่ายหรือไม่?

>>>อาชีพอิสระ งานส่วนตัว อย่าลืมใช้สิทธิสมัครประกันสังคม ม.40

>>> รวมปิดกิจการ - ยื่นล้มละลาย ปี 2020 พิษโควิด-19

 

==========

 

ขอบคุณข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม

ภาพโดย wawawoo จาก Pixabay 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง