รีเซต

ใช้สิทธิ บัตรทอง คลอดฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ใช้สิทธิ บัตรทอง คลอดฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
TrueID
20 มิถุนายน 2565 ( 15:23 )
26.2K
1
ใช้สิทธิ บัตรทอง คลอดฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ปัจจุบันการดูแลลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ไปจนถึงการทำคลอดมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงซึ่งอาจเป็นปัญหาขึ้นกับคุณแม่บ้างท่านในเรื่องค่าใช้จ่าย แต่หากมี บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป วันนี้ trueID news จะพาคุณแม่ทุกท่านไปรู้จักสิทธิของบัตรดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์

 

 

 

 

บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P) เป็นสิทธิประโยชน์เดียวในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่จัดให้กับประชาชนไทยทุกสิทธิ เป็นบริการสาธารณสุขที่ให้โดยตรงแก่บุคคลครอบครัวหรือกลุ่มบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ อัตราป่วย/อัตราตายที่เป็นภาระโรคของประเทศและส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก บรรลุเป้าประสงค์ที่ต้องการให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือน

 

กิจกรรมบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (สิทธิประโยชน์) ที่ประชาชนทุกสิทธิจะได้รับ กรณีตั้งครรภ์มีดังนี้

 

1.บริการฝากครรภ์คุณภาพ

 

- บริการฝากครรภ์คุณภาพ ตามแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์แนวใหม่ ขององค์การอนามัยโลกหรือตามที่ กรมอนามัยแนะนำ หญิงตั้งครรภ์และสามี (กรณีสามีเฉพาะการ คัดกรองและตรวจ ยืนยันโรคโลหิต จางธาลัสซีเมียและการ มีส่วนร่วมในการดูแล ครรภ์) อย่างน้อย 5 ครั้ง 1) ครั้งที่ 1 อายุครรภ์ ก่อน 12 สัปดาห์ 2) ครั้งที่ 2 อายุ ครรภ์ 13 -< 20 สัปดาห์ 3) ครั้งที่ 3 อายุ ครรภ์ 20 -< 26 สัปดาห์ 4) ครั้งที่ 4 อายุ ครรภ์ 26 -< 32 สัปดาห์ 5) ครั้งที่ 5 อายุ ครรภ์ 32 - 40 สัปดาห์

 

- การฝากครรภ์แต่ละครั้งจะได้รับบริการดังนี้
1. การทดสอบการตั้งครรภ์
2. การสอบถามข้อมูล
3. การตรวจร่างกาย
4. การประเมินสุขภาพจิต
5. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
6. การประเมินเพื่อการส่งต่อ
7. การให้การดูแลรักษา
8. การให้คำแนะนำ ตอบคำถามและการนัดครั้งต่อไป
9. การบันทึกข้อมูล


1.1 การทดสอบการตั้งครรภ์


- ตรวจปัสสาวะทดสอบการตั้งครรภ์


1.2 การสอบถามข้อมูล


- สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว การเจ็บป่วย ประวัติทางสูติกรรม การตั้งครรภ์ปัจจุบัน


1.3 การตรวจร่างกาย และตรวจครรภ์


- ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต

- ตรวจร่างกายทั่วไป ดูภาวะซีด อาการ บวมและอาการเตือนของโรคอื่นๆ

- ตรวจครรภ์ วัดความสูงยอดมดลูก ประเมินอายุครรภ์

- ตรวจสุขภาพช่องปาก ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1

- พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายทั่วไป และตรวจฟังเสียงการหายใจ และเสียงหัวใจโดยแพทย์ ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1

- ตรวจภายในเพื่อตรวจหาความผิดปกติ และการติดเชื้อในช่องคลอด เมื่อมีข้อบ่งชี้ ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 หรือ 2

- ตรวจอัลตราซาวด์ (ถ้ามี) เพื่อยืนยันอายุครรภ์ จำนวนทารก สัญญาณชีพ ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 หรือ 2


1.4 การประเมินสุขภาพจิต


- ประเมินความเครียด คัดกรองโรคซึมเศร้า และปัญหาการดื่มสุรา


1.5 การตรวจทางห้อง ปฏิบัติการที่จำเป็น


- การตรวจปัสสาวะด้วยแถบตรวจ (multiple urine dipstick) เพื่อตรวจหาการติดเชื้อแบคทีเรีย ในทางเดินปัสสาวะ ที่ไม่มีอาการไข่ขาว (โปรตีน) และน้ำตาล

- ตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิส (VDRL) ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 และ 4 (อายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์)

- ตรวจการติดเชื้อเอชไอวี (Anti - HIV) ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 และ 4

- ตรวจคัดกรองพาหะไวรัสตับอักเสบบี ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1

- ตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (CBC) หรือวัดระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือด (HB) หรือปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (HCT) ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 และ 4

- ตรวจคัดกรองโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย (MCV/OF+DCIP) ถ้าผลคัดกรองเป็นบวก ให้ตรวจคัดกรองสามีต่อ ถ้าผลเป็นบวกทั้งคู่ให้ส่งเลือดตรวจยืนยัน Hb typing/PCR เพื่อกำหนดคู่เสี่ยง การตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ และยุติการตั้งครรภ์ ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 อย่างช้าอายุครรภ์ไม่เกิน 24 สัปดาห์ ทั้งนี้ตามแนวทางหรือเวชปฏิบัติที่กำหนด

- ตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ รายที่ผลเป็นบวกให้ตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ และยุติการตั้งครรภ์ตามแนวทาง เวชปฏิบัติ ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 อย่างช้าอายุครรภ์ไม่เกิน 24 สัปดาห์ ทั้งนี้ตามแนวทางหรือแนวทางเวชปฏิบัติที่กำหนด(หญิงตั้งครรภ์ อายุ 35 ปีขึ้นไป)

- ตรวจหมู่เลือด (ABO และ Rh)


1.6 การให้การดูแลรักษา


- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก (dT) ในรายที่ไม่เคยได้รับวัคซีนนี้มาก่อน ฉีดทันทีที่ฝากครรภ์ครั้งแรก โดยฉีดที่ 0, 1 และ 6 เดือนตามลำดับ

- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ช่วงอายุครรภ์มากกว่า 4 เดือนขึ้นไป

- รับยาเสริมธาตุเหล็ก กรดโฟลิก ไอโอดีน กินทุกวันตลอดอายุการตั้งครรภ์

- ขัดและทำความสะอาดฟัน ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 หรือ 2 (อายุครรภ์ไม่เกิน 6 เดือน)

- การดูแลรักษาหากตรวจพบความผิดปกติ รวมถึงการแก้ไขภาวะทุพ โภชนาการ


1.7 การประเมินเพื่อ การส่งต่อ


- ประเมินความเสี่ยงตามเกณฑ์ประเมิน ความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ทุกครั้ง โดยพิจารณาร่วมกับหลักฐานที่พบ จากการฝากครรภ์แต่ละครั้ง หากมีความเสี่ยง หรือมีอาการผิดปกติที่เกินขีด ความสามารถของหน่วยบริการจะได้รับ การส่งต่อไปยังหน่วยบริการที่มีขีด ความสามารถสูงกว่า


1.8 การให้คำแนะนำ ตอบคำถามและการนัด ครั้งต่อไป


- คำแนะนำที่จำเป็นสำหรับการดูแลครรภ์ และการคลอดการเลี้ยงลูก การวางแผนครอบครัว (เข้าโรงเรียนพ่อแม่)

- ให้คำแนะนำสำหรับการติดต่อ กรณีมีเลืออก ปวดท้อง หรือ ภาวะฉุกเฉิน หรือต้องการคำแนะนำ

- ซักถามและตอบคภพาม นัดตรวจครั้งต่อไป

- ให้คำปรึกษาก่อน/หลังการตรวจเลือด HIV (ตามความสมัครใจ) โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ดาวน์ซินโดรม

- ให้คำแนะนำสำหรับการติดต่อกรณี มีเลือดออกปวดท้องหรือภาวะฉุกเฉิน


1.9 การบันทึกข้อมูล


- รับสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก 1 เล่ม และนำสมุดบันทึกมาทุกครั้ง

- ผู้ให้บริการบันทึกข้อมูลในสมุดบันทึกสุขภาพ และเวชระเบียนให้ครบ


2. บริการตรวจหลังคลอด


- บริการตรวจหลังคลอด ตามแนวทางที่กรมอนามัยกำหนด อย่างน้อย 3 ครั้ง

- ครั้งที่ 1 ภายหลังคลอดไม่เกิน 7 วัน

- ครั้งที่ 2 หลังคลอด 8-15 วัน

- ครั้งที่ 3 หลังคลอด 16-42

- การสอบถาม ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจร่างกายทั่วไปและตรวจ ภายในเฉพาะที่มีข้อบ่งชี้ทางคลินิก

- ตรวจคัดกรองโรคซึมเศร้าหลังคลอด

- คำแนะนำและบริการวางแผน ครอบครัวตามความสมัครใจ (ยากิน/ ยาฉีดคุมกำเนิด ห่วงอนามัย ยาฝัง คุมกำเนิด การทำหมัน)

- คำแนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลี้ยงลูก

- ยาเสริมธาตุเหล็ก กรดโฟลิก ไอโอดีน กินทุกวันหลังคลอดเป็นเวลา 6 เดือน


3. บริการเยี่ยมบ้าน


- บริการเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์และ หญิงหลังคลอด ตามแนวทางที่กรมอนามัยหรือ ที่เกี่ยวข้องกำหนด


4. บริการส่งเสริมการให้ นมแม่ในสถานที่ทำงาน


- บริการส่งเสริมการให้นมแม่ของหญิงหลังคลอด บุตรเมื่อต้องกลับไปทำงานเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน โดยประสานกับสถานที่ประกอบการหรือ สถานที่ทำงานจัดให้มีช่วงเวลาพักระหว่างงาน สำหรับการให้นมหรือปั๊มเก็บน้ำนม รวมถึงการอำนวยความสะดวกด้าน สถานที่และอุปกรณ์

 

ตรวจสอบสิทธิได้ที่  http://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml

 

 

ภาพโดย lisa runnels จาก Pixabay 

++++++++++++++++++++

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

>>>ผู้มีสิทธิบัตรทอง กับ วิธีเปลี่ยนสถานพยาบาลแบบง่ายๆด้วยตนเอง

>>>วิธีทำบัตรทอง และตรวจสอบสิทธิ์บัตรทอง 5 ช่องทาง ด้วยตนเองง่ายๆ

>>> สิทธิประกันสังคมกรณี ลาออก เลิกจ้าง ว่างงาน และเหตุโควิด-19 อย่าลืมขอเงินทดแทน

>>>สิทธิประโยชน์ของผู้ถือบัตรทอง ทำอย่างไร?จึงจะมีสิทธิบัตรทอง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง