รีเซต

วิธีทำบัตรทอง ด้วยตัวเอง ตามขั้นตอนไม่ยาก

วิธีทำบัตรทอง ด้วยตัวเอง ตามขั้นตอนไม่ยาก
TrueID
21 มกราคม 2564 ( 09:53 )
9.5K
1
วิธีทำบัตรทอง ด้วยตัวเอง ตามขั้นตอนไม่ยาก

          จากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 อนุมัติงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ปี 2564 รวมทั้งสิ้น 194,508.79 ล้าน เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ประมาณ 2.2 % และมีการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ – บริการ ดังนี้  1.เพิ่มวัคซีน “หัด, คางทูม, หัดเยอรมัน” (MMR) ในเด็กอายุ 1 ปี 6 เดือน 2.เพิ่มการคัดกรองภาวะ “ดาวน์ซินโดรม” ให้กับหญิงตั้งครรภ์ทุกกลุ่มอายุ 3.โครงการรับยาใกล้บ้านโมเดล 1-3 4.บริการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปยังผู้ป่วยที่บ้าน 5.บริการโทรเวชกรรม (Telemedicine) และ Telehealth ดังนั้นสำหรับประชาชนที่สนใจจะสมัครบัตรทองหรือต้องการเช็คสิทธิ์บัตรทองด้วยตนเอง วันนี้ trueID news ได้นำวิธีการทำบัตรทอง และวิธีเช็คสิทธิบัตรทองด้วยตนเองมาไว้ให้แล้ว

 

 

วิธีการทำบัตรทองด้วยตัวเอง

หลักฐานที่ต้องใช้

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ กรณีเด็กต่ำกว่า 7 ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร (ใบเกิด) แทน
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอมีชื่ออยู่ กรณีพักอาศัยอยู่จริงไม่ตรงตามทะเบียนบ้าน จะต้องแนบสำเนา
  • ทะเบียนบ้านของบุคคลที่ตนไปพักอาศัยอยู่ พร้อมหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน หากเป็นบ้านเช่าหรือหอพักใช้เอกสารหลักฐานอื่น ๆ เช่น สัญญาเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำ ใบเสร็จรับเงินค่าโทรศัพท์บ้าน ที่แสดงว่าผู้ขอลงทะเบียนพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ จริง

 


กรุงเทพมหานคร ติดต่อขอทำบัตรทองได้ที่

1. สำนักงานเขต 19 แห่ง ขณะนี้สามารถทำบัตรทองได้ที่สำนักงานเขต 19 แห่ง ดังนี้ (ยังคงมีเจ้าหน้าที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประจำอยู่) คลองสามวา-คลองเตย-ธนบุรี-บางกะปิ-บางขุนเทียน-บางพลัด-บางแค-ประเวศ-พระโขนง-มีนบุรี-ราชเทวี-ราษฎร์บูรณะ-ลาดกระบัง-ลาดพร้าว-สายไหม-หนองจอก-หนองแขม-หลักสี่-ห้วยขวาง โดยจุดรับลงทะเบียนบัตรทองที่สำนักงานเขต สามารถสอบถามเขตที่เปิดให้บริการ โทร.1330 (เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) หรือตรวจสอบข้อมูลได้ที่ http://bkk.nhso.go.th คลิ๊กเลือก สำหรับประชาชน เลือก แผนที่จุดรับลงทะเบียน ณ สำนักงานเขต เวลาให้บริการ 08.00- 16.00 น. (จันทร์-ศุกร์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ )
2. สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ระยะเวลาการเปิดให้บริการ : ยังไม่มีกำหนดปิด วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00 – 19.00 น. วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.00 – 17.00 น.  โดยสามารถแจ้งขอเปลี่ยนโรงพยาบาลได้
3.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส.3 ทั้ง3 สาขา ได้แก่  1.สาขาย่อยหมอชิต 2 ระยะเวลาการเปิดให้บริการ : ยังไม่มีกำหนดปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00 – 19.00 น.  2.สาขาย่อยตลาดยิ่งเจริญ ระยะเวลาการเปิดให้บริการ : ยังไม่มีกำหนดปิด  วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.30 – 16.30 น.  สาขาย่อยวัดไทร ระยะเวลาการเปิดให้บริการ : ยังไม่มีกำหนดปิด วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 15.30 น.  หมายเหตุ : โดยทั้ง3 สาขานี้ท่านสามารถแจ้งขอเปลี่ยนโรงพยาบาลได้
4. ธนาคารออมสิน สาขาราชดำเนิน ระยะเวลาการเปิดให้บริการ ยังไม่มีกำหนดปิด วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 15.30 น. ท่านสามารถแจ้งขอเปลี่ยนโรงพยาบาลได้

ต่างจังหวัด ติดต่อขอทำบัตรทองได้ที่

1.สถานีอนามัย
2.โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่พื้นที่
3.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

 

หลังจากยื่นดำเนินการเสร็จแล้ว สิทธิ์บัตรทองจะเกิดต้องรอประมาณ 30 วัน สามารถตรวจสอบสิทธิ์ได้ที่หมายเลขสายด่วน 1330 ว่า ณ ตอนนั้นสิทธิ์เกิดแล้วหรือไม่ ตรวจสอบได้ในวันที่ 15 หรือวันที่ 28 ของเดือน แต่หากเกิดการเจ็บป่วยขึ้นมาในระหว่างที่รอการเกิดสิทธิ์ก็สามารถใช้สิทธิ์ได้ โดยติดต่อได้ที่หน่วยบริการที่ระบุในบัตร นำบัตรประจำตัวประชาชน ,สำเนาทะเบียนบ้านยื่นต่อทางเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลด้วย

 

วิธีตรวสอบสิทธิบัตรทอง (หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ด้วยตนเอง ผ่านทาง 5 ช่องทางดังนี้

1.ท่านสามารถติดต่อด้วยตนเองได้ที่ สำนักงานเขต กทม. (19 เขต)/ สปสช. เขตพื้นที่ 1-13/ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล/ โรงพยาบาลของรัฐ
2.โทรสายด่วน สปสช. 1330 จากนั้นกด 2 ตามด้วยหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และเครื่องหมาย #
3.ติดต่อผ่าน Application “สปสช.” สามารถดาวน์โหลดฟรี ได้ทั้งระบบ Andriod และ iOS (สแกน QR Code เพื่อดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน) (หมายเหตุ : เมื่อลงทะเบียนติดตั้งแอปพลิเคชันเรียบร้อย สามารถเข้าใช้งานฟังก์ชั่น ตรวจสอบสิทธิตนเอง และตรวจสอบสิทธิคนในครอบครัวได้ทันที)
4.ติดต่อผ่าน LINE Official Account สปสช. – แอดเป็นเพื่อนง่าย ๆ พิมพ์ค้นหา Line ID @nhso หรือ สแกน QR Code/ หรือคลิกลิงก์ https://lin.ee/zzn3pU6(หมายเหตุ : ใช้งานง่าย ๆ เพียงเลือกฟังก์ชั่น “ตรวจสอบสิทธิ” และกรอกข้อมูล ก็สามารถhttps://lin.ee/zzn3pU6ตรวจสอบสิทธิได้แล้ว)
5.ติดต่อผ่านทางเว็บไซต์ สปสช. www.nhso.go.th (เข้าเมนูประชาชน เลือกหัวข้อ “ตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” หรือคลิกลิงก์นี้ https://eservices.nhso.go.th/eServices/

 

 

กรณีไม่สามารถติดต่อขอทำบัตรได้ด้วยตนเอง

สำหรับกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี พ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรสเด็กอยู่กับพ่อ ไม่สามารถติดตามหาแม่ได้ พ่อจะไปทำบัตรทองให้เด็กต้องใช้เอกสาร ดังนี้

  • บัตรประชาชน หรือ สูติบัตร
  • ทะเบียนบ้าน
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ปกครอง * กรณี เด็กอาศัยอยู่ใน กทม. แต่ทะเบียนบ้านอยู่ต่างจังหวัด ให้นำสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ให้อยู่อาศัยมาด้วย

หนังสือมอบอำนาจทำบัตรทองสามารถเขียนหรือพิมพ์ขึ้นเองได้ หรือต้องใช้แบบฟอร์มของทางหน่วยงาน

ดาวโหลดที่เว็บไซต์ http://bkk.nhso.go.th
เดินทางไปรับที่หน่วยงานที่ไปติดต่อ


เด็กที่อาศัยอยู่กับญาติ ญาติจะพาไปทำบัตรทองต้องมีหนังสือยินยอมจาก พ่อ แม่ หรือไม่

  • ผู้ปกครองที่ไม่ใช่พ่อแม่ สามารถไปทำบัตรทองให้เด็กได้โดยไม่ต้องใช้หนังสือยินยอม


เด็กที่อาศัยอยู่กับญาติ แต่ไม่สามารถติดต่อบิดามารดาเด็กได้ ญาติสามารถพาไปทำบัตรทองต้องใช้เอกสาร ดังนี้

  • บัตรประชาชน หรือ สูติบัตร
  • ทะเบียนบ้าน
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ปกครอง (ผู้ปกครองที่ไม่ใช่พ่อแม่ สามารถไปทำบัตรทองให้เด็กได้โดยไม่ต้องใช้หนังสือยินยอม)
  • กรณี เด็กอาศัยอยู่ใน กทม. แต่ทะเบียนบ้านอยู่ต่างจังหวัด ให้นำสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ให้อยู่อาศัยมาด้วย

กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี บิดา-มารดา สามารถไปทำบัตรทองให้บุตรได้โดยไม่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากบุตร

กรณีบุตรอายุ 15 ปีขึ้นไป บิดา-มารดา ไปทำบัตรทองให้บุตรได้

  • ต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินการแทนจากบุตรก่อนโดยหนังสือมอบอำนาจต้องเป็นรูปแบบที่เจ้าหน้าที่เขตกำหนดไว้

กรณีบุคคลบรรลุนิติภาวะ สามารถมอบอำนาจให้ บิดา-มารดา พี่น้อง ญาติ (ระบุความสัมพันธ์ ) ไปทำบัตรทองแทนได้

  • แต่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน
  • พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนของผู้ที่ลงทะเบียนแทน

*หมายเหตุเวลาการใช้บริการบัตรทองโรงพยาบาลได้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ ซึ่งได้กำหนดให้หน่วยบริการ ให้บริการแก่ผู้ป่วยทุกวันจันทร์-วันเสาร์ เวลา 07.00 ถึง 17.00 น. เว้นวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ นอกเหนือจากเวลาที่กำหนดนี้ โรงพยาบาลจะให้บริการผู้ป่วยในกรณีอุบัติเหตุและฉุกเฉินเท่านั้น เนื่องจากจำนวนแพทย์และพยาบาล ตลอดจนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ จะมีจำนวนน้อยกว่าในเวลาราชการ แต่ละโรงพยาบาลก็อาจจะกำหนดวันและเวลา ในการให้บริการที่แตกต่างกันออกไป โดยทางโรงพยาบาลจะปิดป้ายประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ผู้รับบริการทราบอยู่แล้ว ถ้าหากไม่ฉุกเฉินจริง ๆ แนะนำให้ไปใช้บริการในวันเวลาราชการการคลอด ไม่ถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินและใช้สิทธิบัตรทองไม่ได้ เนื่องจาก ตามปกติแล้ว แพทย์จะกำหนดวันคลอดที่ใกล้เคียงให้ ซึ่งผู้ตั้งครรภ์ไม่ควรเดินทางในช่วงใกล้คลอด เพราะอาจเกิดอันตรายต่อผู้ตั้งครรภ์และทารกได้ และเมื่อครบกำหนดแล้วจะมีการเจ็บเตือน ซึ่งมีเวลาเพียงพอให้เดินทางไปหน่วยบริการที่ระบุในบัตรทองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีครรภ์แรก ยกเว้นแต่ว่าเป็นการคลอดก่อนกำหนดหรือไม่เป็นไปตามที่แพทย์คาดคะเนไว้ หากภรรยาคลอดในหน่วยบริการที่ฝากครรภ์อยู่ ซึ่งไม่ใช่หน่วยบริการที่ระบุในบัตร ไม่ถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉิน ก็จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย หรือค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด

 

>>>ใช้สิทธิ บัตรทอง คลอดฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

>>>ผู้มีสิทธิบัตรทอง กับ วิธีเปลี่ยนสถานพยาบาลแบบง่ายๆด้วยตนเอง

>>>วิธีทำบัตรทอง และตรวจสอบสิทธิ์บัตรทอง 5 ช่องทาง ด้วยตนเองง่ายๆ

>>>สิทธิประโยชน์ของผู้ถือบัตรทอง ทำอย่างไร?จึงจะมีสิทธิบัตรทอง

 

รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม

สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)

 

ข้อมูล : สปสช

++++++++++

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง