รีเซต

เรือยักษ์ปิดคลองสุเอซ กระทบต่อหุ้นอะไร ได้หรือเสีย ?

เรือยักษ์ปิดคลองสุเอซ กระทบต่อหุ้นอะไร ได้หรือเสีย ?
ทันหุ้น
29 มีนาคม 2564 ( 09:46 )
299

 

บล.เอเซีย พลัส หรือ ASPS ระบุเกือบสัปดาห์แล้วที่เหตุการณ์เรือยักษ์ Ever Given เกยตื้นติดอยู่กับชายฝั่ง ลำตัวขวางกั้นคลองสุเอซ (Suez) ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าเส้นทางขนส่งสินค้าระหว่างยุโรปกับเอเชียทำให้เรือลำอื่นรวมกันเกิน 200 ลำไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 

 

 

สถานการณ์ล่าสุด คือ เรือยังไม่ขยับมาก แม้น้ำจะขึ้น โดยแผนการล่าสุด ที่จะดำเนินการคือ การขนย้ายตู้สินค้าบนเรือออก เพื่อให้เรือมีน้ำหนักเบาขึ้น และสามารถลากจูงออกมาได้ง่าย โดยคาดว่าจะใช้เวลาราว 1-2 สัปดาห์ เพราะในเรือมีตู้สินค้ากว่า 2 หมื่นตู้ หากยืดเยื้อเป็นเวลานาน 2 สัปดาห์ หรือกรณีเลวร้าย นานร่วมเดือนจะเป็นการซ้ำเติมวิกฤตตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน ทำให้อัตราค่าระวางของสายเรือทุกประเภทปรับตัวขึ้นตามต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น อาทิ ราคาน้ำมันดิบ (วันศุกร์พลิกกลับมา + 4%) ไม่ว่าจะเป็นเรือบรรทุกตู้คอนเทนอเนอร์ และเรือเทกอง รวมถึงเรือขนส่งน้ำมัน

 

 

ผลกระทบโดยรวมเป็นปัจจัยลบกระทบต่อการค้าโลกช่วงสั้น โดย ASPS ประเมินผลกระทบต่อบริษัทจดทะเบียน ดังนี้

 

 

หุ้นที่ได้ประโยชน์ (+)

 

- กลุ่มพลังงาน โดยมีปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นจาก Supply ที่หายไป ที่สำคัญ คือ ตลาดรอผลกาประชุม OPEC+ 1 เม.ย. ช่วงสั้นราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นดีต่อ PTT (Buy: FV@B48.5) และ PTTEP (Buy: FV@B118)

 

 

- กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ ที่รับจัดการขนส่งทางเรือ(Sea Freight) คาดจะได้รับประโยชน์จากเหตุการณ์นี้ เช่น LEO (รายได้จาก Sea Freight 69%), III (รายได้จาก Sea Freight 10%), SONIC (รายได้จาก Sea Freight 63%) ขณะที่ หุ้นที่ฝ่ายวิจัย Coverage คือ WICE (BUY,FV@B8.00) มีสัดส่วนรายได้จาก SeaFreight 16% และกลุ่มธุรกิจห้องเย็น-คลังสินค้าจะได้รับประโยชน์คือ JWD (BUY,FV@B11.00) เพราะผู้ประกอบการจะนำสินค้าเข้ามาพักไว้ในคลังบริเวณท่าเรือแหลมฉะบัง ในระหว่างที่ต้องรอเวลาบรรจุเข้าตู้สินค้ายาวนานขึ้น

 

 

ส่วนบริษัทที่มีส่งออก อาทิ กลุ่มเกษตร -อาหาร : STGT, STA, TU, TFG GFPT CPF ฝ่ายวิจัยได้โทรไปสอบถามบริษัทจดทะเบียนเกือบทุกบริษัทที่ทำการศึกษา ในเบื้องต้น คาดว่าผลกระทบจำกัด เพราะเป็นผลกระทบระยะสั้นและสัดส่วนการส่งออกไปสหภาพยุโรปไม่มาก แต่ยังต้องติดตามว่าปัญหาดังกล่าวจะยืดเยื้อ หรือไม่ ซึ่งหากยืดเยื้ออาจทำให้ค่าขนส่งของผู้ประกอบการสูงขึ้น เพราะต้องใช้เส้นทางขนส่งที่ยาวขึ้น ดังนี้

 

 

STGT : คาดกระทบจำกัด จากการสอบถามทาง STGT พบว่าปัจจุบัน STGT มีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกถุงมือยางไปสหภาพยุโรปราว 21% ของรายได้รวม/ปี ซึ่งทาง STGT ประเมินว่าบริษัทเดินเรือจะใช้เส้นทางขนส่งผ่านแหลมกู้ดโฮปหรือเส้นทางอื่นแทนไปก่อนSTA: คาดกระทบจำกัด จากการสอบถามทาง STA พบว่าปัจจุบัน STA มีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกยางพาราและถุงมือยางไปสหภาพยุโรปราว 12% ของรายได้รวม/ปี ซึ่งทาง STA ประเมินว่าบริษัทเดินเรือจะใช้เส้นทางขนส่งผ่านแหลมกู้ดโฮปหรือเส้นทางอื่นแทน

 

 

TU : คาดกระทบจำกัด ปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกไปสหภาพยุโรปราว 3% ของรายได้รวม ทั้งนี้ TU มีโรงงานแปรรูปทูน่าที่ประเทศเซเชลส์ ซึ่งผลิตทูน่าสุกแช่แข็ง (TunaLoin) เพื่อส่งออกไปสหภาพยุโรป เพื่อผลิตทูน่ากระป๋อง คิดเป็นสัดส่วนราว 5% ของรายได้รวม ทำให้ TU มีสัดส่วนรายได้ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบทั้งสิ้นราว 8% ของรายได้รวม/ปี ทั้งนี้ จากการสอบทาง TU พบว่าบริษัทเดินเรือจะใช้เส้นทางขนส่งผ่านแหลมกู้ดโฮปแทนไปก่อน ส่วนค่าขนส่งสำหรับสินค้าที่จ่ายไปแล้วก็จะไม่ต้องจ่ายเพิ่ม แต่สำหรับการขนส่งสินค้าใหม่อาจต้องจ่ายเพิ่มขึ้นบ้าง โดยรวมแล้วคาด TU ยังบริหารจัดการได้

 

 

TFG : คาดกระทบจำกัดเช่นกัน จากการสอบถามทาง TFG พบว่าปัจจุบัน TFG มีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกไก่ไปสหภาพยุโรปราว 6% ของรายได้รวม/ปี ซึ่งทาง TFG ประเมินว่าปัญหาดังกล่าวจะแก้ไขได้ใน 1-2 สัปดาห์

 

 

GFPT : คาดกระทบจำกัดเช่นกัน จากการสอบถามทาง GFPT พบว่าปัจจุบัน GFPT มีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกไก่ไปสหภาพยุโรปราว 5% ของรายได้รวม/ปี

 

 

CPF : คาดกระทบจำกัดเช่นกัน จากการสอบถามทาง CPF พบว่าปัจจุบัน CPF มีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกไก่ไปสหภาพยุโรปเพียง 2% ของรายได้รวม/ปี

 

 

กลุ่มชิ้นส่วนฯ KCE : ได้รับผลกระทบจำกัด เนื่องจากสัดส่วนที่บริษัทรับผิดชอบขนส่งเป็น40% ของคำสั่งซื้อทั้งหมด (และลูกค้ารับผิดชอบเอง 60%) โดยในส่วนที่ KCE รับผิดชอบจะเป็นการส่งทางอากาศ 40% และทางเรือ 60% ทำให้รายได้ที่ใช้การขนส่งทางเรือที่ KCE รับผิดชอบคิดเป็น 24% ของรายได้รวม โดย KCE มีสัดส่วนรายได้ส่งไปสหภาพยุโรป 55% ของรายได้รวม/ปี ทำให้ Net exposure คิดเป็น 13% ของรายได้ทั้งหมด

 

 

DELTA : คาดว่าจะได้รับผลกระทบจำกัด โดย DELTA มีลูกค้าสหภาพยุโรปราว 12% ของรายได้รวม/ปี โดยคาดว่าบริษัทขนส่งจะเปลี่ยนเส้นทางไปขนส่งผ่านแหลมกู้ดโฮปหรือเส้นทางอื่นแทนไปก่อน ซึ่งจะส่งผลให้ระยะการส่งมอบสินค้านานขึ้นราว 1.-2 สัปดาห์

 

 

SVI : คาดว่าจะกระทบจำกัด ถึงแม้ว่าบริษัทจะมีลูกค้าส่วนใหญ่กว่า 80% ในสหภาพยุโรปแต่การขนส่งและนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่กว่า 90% เป็นการขนส่งทางอากาศเป็นหลัก ทำให้ให้ Net exposure จากการขนส่งทางเรือไปยุโรปคิดเป็นเพียงราว 5% ของรายได้ทั้งหมด

 

 

HANA : คาดกระทบจำกัด เนื่องจากไม่ได้มีลูกค้าอยู่ในสหภาพยุโรป โดยลูกค้าของบริษัทส่วนใหญ่กว่า 80% อยู่ในทวีปอเมริกาและเอเชียเป็นหลัก แต่อาจได้รับผลกระทบทางอ้อมจากลูกค้าบางส่วนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว

 

 

 

 

ข่าวเกี่ยวข้อง : 

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง