รีเซต

องค์การอวกาศยุโรป วางแผนเตรียมปลูกพืชไร้ดินบนดวงจันทร์แบบไฮโดรโปนิกส์

องค์การอวกาศยุโรป วางแผนเตรียมปลูกพืชไร้ดินบนดวงจันทร์แบบไฮโดรโปนิกส์
TNN ช่อง16
8 มีนาคม 2566 ( 00:27 )
93

องค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency: ESA) เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือระหว่างประเทศในสหภาพยุโรป ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการสำรวจอวกาศ ล่าสุดได้ริเริ่มทำโปรเจกต์ใหม่ด้วยการเตรียมทำฟาร์มปลูกพืชบนดวงจันทร์ โดยมีบริษัทโซลซิส ไมน์นิ่ง (Solsys Mining) จากประเทศนอร์เวย์ เป็นผู้นำในการค้นคว้า เพื่อหาความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนดินบนดวงจันทร์ให้กลายเป็นปุ๋ยสำหรับใช้ปลูกพืชไร้ดินแบบไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics)


โปรเจกต์นี้เป็นการศึกษาต่อยอดจากงานวิจัยชิ้นก่อนหน้า จากการค้นพบว่าดินบนดวงจันทร์ที่เรียกว่าเรโกลิธ (Regolith) นั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่ปัญหาที่ตามมา คือ พบว่าดินบนดวงจันทร์นั้นประกอบไปด้วยน้ำเป็นจำนวนมาก จึงทำเป็นอุปกสรรคในการยึดเกาะของรากพืช


การนำวิธีการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) หรือการปลูกพืชแบบไร้ดินนั้น ได้กลายมาเป็นทางออกในการแก้ปัญหานี้ เพื่อให้สามารถปลูกพืชในน้ำได้โดยไม่ต้องใช้ดิน ทีมวิจัยจากองค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency) และบริษัทโซลซิส ไมน์นิ่ง (Solsys Mining) จึงต้องหาวิธีการที่จะสกัดเอาสารอาหารที่มีประโยชน์จากดินเรโกลิธ (Regolith) แล้วเอาสิ่งที่ไม่จำเป็นออก เพื่อนำมาใช้ในการปลูกพืชแบบไร้ดินต่อไป


ขั้นตอนในการสกัดเอาสารอาหารออกมาจากดิน มีอยู่ด้วยกัน 3 ขั้นตอน โดยเริ่มจากการนำดินเรโกลิธ (Regolith) มาทำการคัดแยก จากนั้นส่งไปสกัดสารอาหารในโรงงาน ก่อนจะละลายเป็นน้ำเพื่อนำไปบำรุงต้นพืชเป็นขั้นตอนสุดท้าย


โครงการปลูกพืชบนพื้นผิวของดวงจันทร์นี้ จะเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์สำหรับการสำรวจดวงจันทร์ในระยะยาว เพื่อให้ทีมสำรวจสามารถเข้าถึงแหล่งอาหารได้จากทรัพยากรที่มีอยู่บนดวงจันทร์ และเป็นจุดเริ่มต้นในการค้นคว้าอย่างละเอียดได้ในอนาคต


เพื่อให้โปรเจกต์นี้ประสบความสำเร็จและเข้าสู่ความเป็นจริงมากขึ้น องค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency) และบริษัทโซลซิส ไมน์นิ่ง (Solsys Mining) จึงได้ร่วมมือกับสถาบันธรณีเทคนิคแห่งนอร์เวย์ ( NGI ) และศูนย์วิจัยสหวิทยาการในอวกาศ ( CIRIS ) โดยโครงการนี้ได้เปิดตัวเมื่อเดือนธันวาคม  2022 ที่ผ่านมา 


ที่มาของข้อมูล Thenextweb

ที่มาของรูปภาพ ESA


 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง