รีเซต

เช็กที่นี่! “ประกันสังคม” ช่วยค่ารักษาพยาบาล ผู้ประกันตน “ม.33-ม.39-ม.40” ติดโควิด

เช็กที่นี่! “ประกันสังคม” ช่วยค่ารักษาพยาบาล ผู้ประกันตน “ม.33-ม.39-ม.40” ติดโควิด
Ingonn
16 กันยายน 2564 ( 11:54 )
1.1K

ติดโควิด-19 ขาดรายได้ ประกันสังคมยังดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายให้! สำหรับผู้ประกันตน “ม.33-ม.39-ม.40” ที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นผู้ป่วยโรคโควิด-19  สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาล และแพทย์ผู้ดูแลรักษาพิจารณาแล้วว่า ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์การดูแลรักษาในที่พักระหว่างรอเข้ารักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (Home Isolation) และการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนาม สำหรับคนในชุมชน (Community Isolation) ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด 

 


วันนี้ TrueID จึงสรุปเงื่อนไข การจ่ายเงินช่วยเหลือ ของประกันสังคม กรณีผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ติดโควิด-19 ได้รับการดูแลอย่างไรบ้าง ไปเช็กกันเลย

 

 

 

ค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ 


1. ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ

 


2. ค่าดูแลการให้บริการผู้ประกันตนที่ป่วย โดยเป็นค่าใช้จ่ายรวมค่าอาหาร 3 มื้อ การติดตามประเมินอาการ และการให้คำปรึกษา เหมาจ่ายในอัตรา 1,000 บาทต่อวัน ไม่เกิน 14 วัน

 


3. ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น เช่น ค่าปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็น ค่าชุด PPE สำหรับบุคลากรทางการแพทย์

 


4. ค่ายาที่ใช้รักษา

 


5. ค่าพาหนะเพื่อรับหรือส่งต่อผู้ป่วยระหว่างที่พัก โรงพยาบาลสนาม และสถานพยาบาล

 


6. ค่าบริการ X-ray ทรวงอก

 


7. ค่า oxygen ตามดุลยพินิจของแพทย์
 

 

 

การเบิกค่าทดแทนการขาดรายได้ 


ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 


จะพิจารณาตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน คือ ช่วงที่ 30 วันแรกที่ลาป่วยจะได้ค่าจ้างจากนายจ้าง แต่หากมีความจำเป็นต้องหยุดพักรักษาตัวนานเกินกว่า 30 วันจะสามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคมได้ ตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยเป็นต้นไป 

 

 

ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 


จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 39 (4,800 บาท)  
ทั้งนี้ พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 ต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนใช้สิทธิ์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

 

 

ผู้ประกันตนตามมาตรา 40

 
จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ตามทางเลือก 1-2-3 โดยพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนใช้สิทธิ์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ 

 

 

 

กองทุนประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 คุ้มครองอะไรบ้าง?


เพราะประกันสังคมไม่ได้ครอบคลุมแค่กลุ่มมนุษย์เงินเดือนเท่านั้น แต่แบ่งออกเป็น 3 มาตราหลักที่มอบสวัสดิการให้คนทำงานแต่ละกลุ่ม แตกต่างกันดังนี้ 

 

 

มาตรา 33 คือ ลูกจ้างผู้ซึ่งทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ว่างงาน

 

 

มาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ โดยเป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนแล้วลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม โดยได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ   

 

 

มาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพ หรือแรงงานอิสระ ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39  โดยได้รับความคุ้มครองมากที่สุด 5 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร ตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิ

 

 


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม www.sso.go.th หรือ
โทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

 

 


ข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง