รีเซต

ก้าวไปอีกขั้น! เทคโนโลยีช่วยแปลงความคิดเป็นข้อความ

ก้าวไปอีกขั้น! เทคโนโลยีช่วยแปลงความคิดเป็นข้อความ
TNN ช่อง16
13 พฤษภาคม 2564 ( 23:50 )
120

ลองนึกดูเล่น ๆ ว่าหากต่อไปเราแค่คิดก็พิมพ์ออกมาเป็นตัวอักษรได้คงจะดีไม่ใช่น้อย ซึ่งล่าสุดฝันนี้ก็อาจจะใกล้เป็นจริงเพราะมีข่าวการรายงานถึงความสำเร็จในการแปลสัญญาณพฤติกรรมของสมอง (cognitive signals) จากการนึกถึงการเขียนหนังสือด้วยลายมือในหัว ก่อนที่จะแปลงการเคลื่อนไหวในสมองนี้ให้กลายเป็นข้อความได้แบบทันที ซึ่งทำสำเร็จเป็นครั้งแรกและได้รับการตีพิมพ์แล้วในวารสารชื่อ “Nature”

เทคนิคใหม่ของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Stanford University ถือว่าล้มวิธีการเดิม ๆ ก่อนหน้านี้ออกไปโดยสิ้นเชิงเลยทีเดียว เพราะวิธีนี้เเร็วขึ้นกว่าเดิมสองเท่า และยังทำให้ชายคนหนึ่งที่ป่วยเป็นอัมพาต สามารถส่งข้อความได้ในอัตราความเร็ว 18 คำต่อนาทีเลยทีเดียว โดยในการทดสอบ ทีมงานได้ทำงานร่วมกับผู้เข้าร่วมวิจัยอายุ 65 ปี (ใช้ชื่อในการทดลองครั้งนี้ว่า T5) ซึ่งเขาป่วยเป็นอัมพาตตั้งแต่คอลงมา เนื่องจากอาการบาดเจ็บที่ไขสันหลังในปี 2007 


นักวิจัยเริ่มต้นการทดลอง ด้วยการฝังชิป 2 ชิ้นในสมองส่วนที่มีชื่อว่า “Motor Cortex” ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหว จากนั้นเมื่อทดสอบจึงขอให้ชายผู้นี้จินตนาการว่าเขากำลังเขียนหนังสือตามปกติโดยใช้ปากกาบนกระดาษที่มีลาย จากนั้นชิปในสมองก็จะส่งสัญญาณประสาทผ่านสายไปยังคอมพิวเตอร์ โดยที่ AI จะทำหน้าที่ถ่ายทอด "การเขียนด้วยความคิด" (ในที่นี้ใช้คำว่า “Mindwriting”) ของเขาออกมา โดยการถอดรหัสจากการเคลื่อนไหวของมือและนิ้วที่เขานึก

ผลลัพธ์ที่ได้ปรากฏว่าเขาสามารถทำความเร็วในการเขียนได้ประมาณ 18 คำต่อนาที โดยมีความแม่นยำถึง 94.1% ซึ่งหากเปรียบเทียบกันแล้ว ผู้ใหญ่ในวัยใกล้เคียงกันก็จะสามารถพิมพ์ข้อความบนสมาร์ทโฟนได้ประมาณ 23 คำต่อนาที นักวิจัยเคลมว่าวิธีการผสมผสานเทคนิคใหม่กับตัวติดตั้งที่พวกเขาสร้างขึ้นจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยสื่อสารได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้กับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลังหรือโรค “Lou Gehrig” และผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองได้อีกด้วย

ในตอนนี้ทีมวิจัยยังคงตั้งเป้าที่จะทำการทดลองเพิ่มเติมต่อไป เพื่อพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของเทคโนโลยีก่อนที่จะนำไปช่วยเหลือผู้คนต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก


ขอบคุณข้อมูลจาก

engadget


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง