รีเซต

รู้จัก ไวรัสมรณะ "นิปาห์" (Nipah virus) ยังไม่มียารักษา ไม่มีวัคซีน ใครติดเชื้อ มีโอกาสตายสูง

รู้จัก ไวรัสมรณะ "นิปาห์" (Nipah virus) ยังไม่มียารักษา ไม่มีวัคซีน ใครติดเชื้อ มีโอกาสตายสูง
TrueID
9 กันยายน 2564 ( 14:42 )
645
รู้จัก ไวรัสมรณะ "นิปาห์" (Nipah virus) ยังไม่มียารักษา ไม่มีวัคซีน ใครติดเชื้อ มีโอกาสตายสูง

ไวรัสมรณะ "นิปาห์" (Nipah virus) เริ่มระบาดในอินเดีย ผู้เชี่ยวชาญชี้ร้ายแรงยิ่งกว่าโควิด-19 ยังไม่มียารักษา ไม่มีวัคซีน ใครติดเชื้อ มีโอกาสตาย 75% 

 

ข้อมูลสำคัญ

  • ผู้ติดเชื้อไวรัสนิปาห์มีอาการไข้สมองอักเสบเป็นหลัก โดยอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • การแพร่ระบาดเกิดจากสัตว์สู่คน โดยเฉพาะจากการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งจากค้างคาวผลไม้ และจากคนสู่คน
  • การรักษาเป็นแบบประคับประคอง ไม่มีการรักษาจำเพาะ
  • การป้องกันคือการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่มีโอกาสติดเชื้อไวรัสนิปาห์ โดยเฉพาะค้างคาวผลไม้ และหลีกเลี่ยงรับประทานผลไม้ที่มีโอกาสปนเปื้อนเชื้อ
  • ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์
  • เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งต้องรายงานภายใน 3 ชั่วโมง เมื่อพบผู้ป่วยที่ยืนยันผล

 

รู้จัก"ไวรัสนิปาห์"(Nipah virus)

ไวรัสนิปาห์ (Nipah virus) เป็นเชื้อไวรัสชนิด RNA ในสกุล Henipaviruses วงศ์ Paramyxovidae ซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบเป็นหลัก โดยอยู่สกุลเดียวกับเฮนดราไวรัส (Hendra virus) ซึ่งก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจเป็นหลัก องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ไวรัสนิปาห์เป็นไวรัสที่มีความร้ายแรงอย่างมาก เพราะมีโอกาสสูงถึง 75 เปอร์เซ็นต์ที่ผู้ติดเชื้อจะเสียชีวิต และนี่ทำให้ไวรัสนิปาห์ เป็นเชื้อมรณะที่น่ากลัวยิ่งกว่าเชื้อโควิด และเชื้อในตระกูลโคโรนาไวรัสทุกสายพันธุ์บนโลก

 

ไวรัสนิปาห์ ถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศมาเลเซีย ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2541 ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจรุนแรงในสุกรและการติดเชื้อไข้สมองอักเสบในมนุษย์ โดยพบผู้ป่วยทั้งหมด 265 ราย และเสียชีวิต 105 ราย

 

และในปี พ.ศ. 2542 พบผู้ป่วยที่ประเทศสิงคโปร์ จากการสัมผัสสุกรซึ่งนำเข้าจากมาเลเซีย โดยพบผู้ป่วยจำนวน 11 ราย และเสียชีวิต 1 ราย

 

ต่อมาพบการระบาดในเมืองสิริกุรี ตอนเหนือของประเทศอินเดีย ในปีพ.ศ. 2544 โดยมีผู้ป่วยจำนวน 66 ราย เสียชีวิต 45 ราย

 

และมีการระบาดในประเทศบังคลาเทศ ในปี พ.ศ. 2544-2555 โดยมีผู้ป่วย 214 ราย เสียชีวิต 166 ราย อย่างไรก็ตามการระบาดในประเทศอินเดียและบังคลาเทศ เกิดจากการบริโภคน้ำจากผลอินทผลัมที่ปนเปื้อนน้ำลายของค้างคาวผลไม้ และมีการติดต่อการคนสู่คน ไม่เหมือนการระบาดในประเทศมาเลเซียซึ่งเกี่ยวกับการสัมผัสสุกร รวมทั้งมีอาการและอาการแสดงแตกต่างกัน จึงมีการแบ่งเป็นสายพันธุ์มาเลเซีย และสายพันธุ์บังคลาเทศ 

 

และในปี พ.ศ. 2557 มีการระบาดในประเทศฟิลิปปินส์ โดยพบผู้ป่วยจำนวน 17 ราย และพบม้าเสียชีวิตจำนวนมาก โดยเกิดจากการสัมผัสม้าที่ติดเชื้อ

 

การระบาดครั้งล่าสุด เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ที่เมือง Kozhikode, Malapuram, Wayanda, Kannur รัฐเกรละ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย พบผู้ป่วยรายแรกในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ล่าสุดมีรายงานผู้ติดเชื้อเสียชีวิตแล้ว 12 ราย โดยเป็นพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วย 1 ราย  และมีรายงานพบค้างคาวผลไม้ในบริเวณบ่อน้ำใกล้หมู่บ้าน แต่ยังไม่มีรายงานยืนยันสาเหตุของการระบาดในครั้งนี้

 

สัตว์ชนิดใดเป็นโรคสมองอักเสบนิปาห์ได้บ้าง 

สุกรเป็นสัตว์ที่สามารถติดเชื้อไวรัสนิปาห์ได้ง่ายที่สุด สัตว์ชนิดอื่นที่สามารถติดเชื้อได้คือ สุนัข แพะ แมว ม้า และแกะ ตามธรรมชาติแล้วเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกายของค้างคาวกินผลไม้ซึ่งไม่แสดงอาการป่วย

 

สัตว์ติดโรคสมองอักเสบนิปาห์ได้อย่างไร

สุกรสามารถติดเชื้อไวรัสนิปาห์ได้จากการสัมผัส หรือกินวัตถุที่ปนเปื้อนปัสสาวะ อุจจาระ หรือน้ำลายของค้างคาว ที่เป็นพาหะ หรืออาจติดจากสุกรตัวอื่นโดยการสัมผัสหรือหายใจเอาเชื้อไวรัสเข้าไป สัตว์ชนิดอื่นอาจติดเชื้อได้จากการ สัมผัสสุกรที่ติดเชื้อหรือวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส

 

รคสมองอักเสบนิปาห์มีผลต่อสัตว์อย่างไร 

สุกรที่ติดเชื้อไวรัสนิปาห์จะมีอาการหายใจลำ บากและหายใจเร็ว อ้าปากหายใจ และไออย่างแรงและมีเสียงดังซึ่ง เป็นลักษณะเฉพาะของโรค ส่วนใหญ่มักมีไข้เชื้ออาจมีผลต่อระบบประสาท ทำ ให้มีอาการตัวสั่น กล้ามเนื้อกระตุก กะเผลก ทรงตัวไม่ได้และอาจตายทันที 

 

คนติดโรคสมองอักเสบนิปาห์ได้หรือไม่ 

คนจะติดเชื้อไวรัสนิปาห์ได้จากการสัมผัสสุกรที่ติดเชื้ออย่างใกล้ชิด อาจไม่แสดงอาการหรืออาจมีอาการ อาการ ในระยะแรกคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ และจะมีอาการทางประสาทตามมา ได้แก่ วิงเวียนศีรษะ และเดินโซเซ

 

การติดต่อของโรค

แหล่งรังโรคตามธรรมชาติคือ ค้างคาวผลไม้ (Pteropus) หรือเรียกว่า flying fox ซึ่งไม่แสดงอาการป่วย แต่สัตว์ที่สามารถติดเชื้อไวรัสนิปาห์ได้ คือ สุกร สุนัข แพะ แมว ม้า และแกะ ซึ่งถือเป็นแหล่งเพาะโรค การติดต่อของโรคมาสู่คนเป็นจากการสัมผัส

 

หรือรับประทานวัตถุที่ปนเปื้อน ปัสสาวะ อุจจาระ หรือน้ำลายของค้างคาวที่เป็นพาหะ หรือจากสัตว์อื่นที่ติดเชื้อ (รูปที่ 2) การศึกษาในประเทศไทยโดย ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา พบเชื้อนิปาห์ไวรัส ร้อยละ 7.8 ในค้างคาวผลไม้จากภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้

 

ลักษณะอาการ

ผู้ติดเชื้อมักมีอาการทางระบบประสาทเป็นหลักคือ ไข้ ปวดศีรษะ ตามมาด้วย ซึม สับสน และหมดสติ ภายใน 24-48 ชั่วโมง อาจพบอาการผิดปกติของก้านสมองคือ abnormal doll’s eye reflex และ vasomotor change นอกจากนี้อาจมีอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น myoclonic jerk และอาจพบอาการทาง cerebellar ร่วมด้วย รวมทั้งมีรายงานอาการทางจิตเวช เช่น พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง และซึมเศร้า เป็นต้น

 

ลักษณะที่สำคัญอีกประการของการติดเชื้อไวรัสนิปาห์คือ สามารถกลับเป็นซ้ำ (relapse) หรือเป็นภายหลัง (late-onset) ได้ จากการศึกษาของ Tan และคณะ5 พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 7.5 มีอาการกลับเป็นซ้ำหลังจากหายแล้ว และร้อยละ 3.4 ไม่แสดงอาการทางระบบประสาทในการติดเชื้อช่วงแรกแต่มีอาการในภายหลัง โดยมีรายงานแสดงอาการได้นานถึง 11 ปีหลังจากการติดเชื้อ6 นอกจากนี้ผู้ติดเชื้อบางคนมีผลกระทบระยะยาวคือ ลมชัก และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง

 

นอกจากอาการทางระบบประสาทแล้ว ผู้ติดเชื้ออาจมีอาการของระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย หรือมีรายงานที่พบเพียงอาการของระบบทางเดินหายใจอย่างเดียว โดยไม่พบอาการทางระบบประสาทจากการระบาดในประเทศสิงคโปร์

 

การรักษา

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาจำเพาะ เป็นเพียงการรักษาประคับประคองตามอาการ มีรายงานการใช้ยา Ribavirin ในช่วงการระบาดของประเทศมาเลเซียพบว่าสามารถลดอัตราการตายได้

 

อย่างไรก็ตามต้องมีการศึกษาประสิทธิภาพของยาเพิ่มเติม และเนื่องจากเชื้อสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ สิ่งสำคัญสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลรักษาผู้ป่วยคือการใช้มาตรการป้องกันการติดเชื้อทั้ง standard, contact และ droplet precautions10 รวมทั้งการใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม 

 


การป้องกัน

ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค วิธีป้องกันโรคคือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่มีโอกาสติดเชื้อไวรัสนิปาห์ โดยเฉพาะค้างคาวผลไม้ หลีกเลี่ยงการรับประทานผลไม้ที่มีโอกาสปนเปื้อนน้ำลาย มูลสัตว์ ปัสสาวะของค้างคาวผลไม้ ไม่รับประทานผลไม้ที่ตกอยู่ที่พื้น หรือมีรอยกัดแทะ

 

 

ข้อมูล : สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กฯ

อ้างอิง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง