รีเซต

การฉีดวัคซีนโควิด-19 กับผู้ป่วยมะเร็ง ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

การฉีดวัคซีนโควิด-19 กับผู้ป่วยมะเร็ง ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
Ingonn
1 มิถุนายน 2564 ( 11:15 )
411
การฉีดวัคซีนโควิด-19 กับผู้ป่วยมะเร็ง ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

โรคร้ายอีกหนึ่งโรคที่ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างเร่งด่วน คือ “โรคมะเร็ง” โรคมะเร็งและการรักษาของโรคมะเร็งทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันที่ลดลง จึงมีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงได้มากกว่าผู้ป่วยทั่วไป และอาจมีเชื้อค้างอยู่ในร่างกายนานกว่าคนทั่วไป 

 

 


ผู้ป่วยมะเร็งควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แม้ว่าจะกำลังได้รับเคมีบำบัดอยู่ก็ตาม เนื่องจากองค์การอนามัยโลกได้จัดให้ผู้ป่วยมะเร็ง เป็นกลุ่มที่สองที่ควรรับวัคซีน หลังจากกลุ่มแรกคือบุคลากรทางการแพทย์และผู้สูงอายุ โดย TrueID ได้รวบรวมข้อควรปฏิบัติและการเตรียมตัวสำหรับผู้ป่วยมะเร็งในการฉีดวัคซีนไว้ที่นี่แล้ว

 

 


สาเหตุที่ผู้ป่วยมะเร็งควรฉีดวัคซีนอย่างเร่งด่วน


1.ร่างกายของผู้ป่วยมีภูมิต้านทานต่ำกว่าคนทั่วไป


2.เป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง หากได้รับเชื้อโรคโควิด-19 อาการของโรคจะรุนแรงมากกว่าปกติ


3.เชื้อโรคโควิด-19 มีโอกาสอยู่ในร่างกายนานกว่าคนทั่วไป


4.ผู้ป่วยมะเร็งที่สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้

 

 


การให้ยาเคมีบำบัดส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย


ยาเคมีบำบัดมีผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของผู้ป่วยลดต่ำลงบ้างโดยเฉพาะในช่วง 3-10 วัน หลังจากได้รับยาเคมีบำบัดแต่ละครั้งผลข้างเคียงดังกล่าวในผู้ป่วยแต่ละราย อาจแตกต่างกันในแต่ละสูตรยาและแต่ละครั้งที่มารับยา

 

 


ผู้ป่วยมะเร็งที่สามารถฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้


1.ผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างการติดตามผลการรักษา


2.ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยยาฮอร์โมนหรือภูมิคุ้มกันบำบัด


3.ผู้ป่วยที่กำลังรับการฉายรังสี


4.ผู้ได้รับการรักษาจนโรคมะเร็งหายขาดไปแล้ว

 

 

 

ผู้ป่วยมะเร็งที่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19


1.ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก


2.ผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังจะได้รับการผ่าตัด


3.ผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังได้รับยาเคมีบำบัด




ควรฉีดวัคซีนยี่ห้อใด?


ผู้ป่วยมะเร็งสามารถฉีดวัคซีนได้ทุกยี่ห้อที่ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสารารณสุข ควรลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด-19 ผ่านระบบหมอพร้อมเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงหากติดเชื้อโควิด-19

 


ผู้ป่วยมะเร็งเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อโควิดมากกว่าคนอื่นไหม?


ผู้ป่วยมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งโรคเลือดและมะเร็งปอด หรือผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่กระจาย มีความเสี่ยงสูงขึ้น ความเสี่ยงนี้จะสูงในช่วงปีแรกหลังการวินิจฉัย และจะลดลงจนเท่าคนทั่วไปหลังจาก 5 ปีหลังการวินิจฉัย

 

 

ฉีดแล้วจะได้ผลป้องกันโรคได้ไหม?


ในการวิจัยวัคซีนในคน มีผู้ป่วยมะเร็งน้อยมากที่ได้รับวัคซีน และมักจะไม่ใช่กลุ่มที่กำลังได้รับเคมีบำบัด จึงไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพและผลข้างเคียงในคนไข้กลุ่มนี้มากนัก อย่างไรก็ตามผู้ป่วยมะเร็งควรได้รับการติดตามถึงผลการป้องกันโรคและผลข้างเคียงอย่างใกล้ชิด ภายหลังการฉีดวัคซีน

 

 

ควรจะฉีดเมื่อไหร่ ระหว่างรับการรักษาฉีดได้ไหม?


ถ้าเป็นไปได้ ควรฉีดวัคซีนก่อนเริ่มการรักษา ถ้าฉีดในระหว่างรับเคมีบำบัด การตอบสนองอาจไม่ดีพอ อาจช่วยให้ดีขึ้นได้โดยการฉีดหลาย dose อย่างไรก็ตามยาอื่นเช่น immunotherapy ไม่มีผลต่อการตอบสนองวัคซีน

 

 

วัคซีนชนิดไหนที่ห้ามฉีด?


วัคซีนที่ห้ามฉีดในคนไข้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำจากเคมีบำบัด คือ live vaccine ซึ่งวัคซีนโควิดที่เข้าในประเทศไทย ไม่มีวัคซีนชนิดนี้

 

 

เตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19

 

1.พักผ่อนให้เพียงพอประมาณ 6-7 ชั่วโมง

 

2.ดื่มน้ำประมาณ 500-1,000 ซีซี.

 

3.หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ 

 

4.ทำจิตใจให้สบาย

 

5.หากรู้สึกไม่สบายให้แจ้งแพทย์ เพื่องดรับวัคซีน 

 

6. ไม่ควรทายาAspirin (หากไม่ใช่ยาที่ทานเพื่อรักษาโรคประจำตัวอยู่) หรือ อาหารเสริมใดๆก่อนไปรับวัคซีน

 

 

 

 

ข้อมูลจาก โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สภากาชาดไทย , ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี , คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง