รีเซต

โรคความดันโลหิตสูง ต้องเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างไร

โรคความดันโลหิตสูง ต้องเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างไร
Ingonn
31 พฤษภาคม 2564 ( 13:47 )
536

ในสถานการณ์ที่โรคโควิด-19 กระจายทั่วประเทศ และมีความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ติดเชื้อโควิดเสียชีวิตมักมาจากโรคประจำตัวและปัจจัยเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรค โดยโรคความดันโลหิตสูง ถือเป็นโรคอันดับต้นที่มีความเสี่ยงสูงกว่าโรคอื่นๆ เนื่องจากทำให้ความรุนแรงในการติดเชื้อโรคโควิด-19 เพิ่มขึ้นมากและมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นถึง 3-5 เท่า ดังนั้นการฉีดวัคซีนโควิด 19 จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะช่วยป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อที่รุนแรง

 

 


แต่สิ่งสำคัญในการป้องกันโควิด-19 คือ การฉีดวัคซีน แม้จะอยู่ในกลุ่มผู้มีโรคประจำตัวแต่การฉีดวัคซีนเป็นสิ่งที่ไม่ควรหลีกเลี่ยง วันนี้ TrueID จึงได้รวบรวมข้อแนะนำเกี่ยวกับผู้ป่วย ’โรคความดันโลหิตสูง’ ให้เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน

 

 

 


ข้อปฏิบัติผู้ป่วย ’โรคความดันโลหิตสูง’ กับการฉีดวัคซีนโควิด-19

 

โรคความดันโลหิตสูง’ ถือเป็นกลุ่มโรคประจำตัวและมีปัจจัยเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรคโควิด-19 ที่ต้องได้รับการฉีดวัคซีนเป็นลำดับต้น ๆ ดังนั้น ผู้ป่วยด้วยโรคนี้ จึงควรทำความเข้าใจถึงการเตรียมความพร้อมร่างกายก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 

 

 

ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้แนะนำว่า การเตรียมตัวสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจร่วมด้วย ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 จะต้องควบคุมความดันให้ไม่เกิน 140 มม.ปรอท 

 

 

หากมีโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ ต้องทานยาสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ หากมีความดันโลหิตสูงเกินกว่าปกติจะต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์

 

 

ซึ่งหลังฉีดเรียบร้อยแล้วภายใน 2 - 4 ชม. ไม่ควรทำกิจกรรมอะไร เพื่อให้วัคซีนได้ทำงานอย่างเต็มที่ และทานยาประจำโรคได้ปกติ ยกเว้นทานยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด ที่จะต้องแจ้งแพทย์ทันที เพราะอาจมีผลข้างเคียง คือ เลือดออกในกล้ามเนื้อตรงจุดที่ฉีดยา โดยมีลักษณะการบวม หรือช้ำเลือด

 

 

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ไม่ควรหยุดทานยาหรือปรับยาเพื่อฉีดวัคซีน เว้นแต่กรณีที่แพทย์แนะนำให้หยุดยาชั่วคราว เพื่อให้ผลลัพธ์ของวัคซีนแม่นยำขึ้น

 

 


ข้อแนะนําเตรียมตัว ก่อนไปฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19

 

ตรวจสอบร่างกาย


-ไม่อดนอน หลับให้เพียงพอ


-เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และชา-กาแฟ


-ต้องไม่มีอาการไข้ หรืออาการเจ็บป่วย


-สองวันก่อนและหลังฉีด งดออกกําลังกายอย่างหนัก

 

 

แจ้งแพทย์ก่อนฉีด


-โรคประจําตัว


-ประวัติการแพ้ยา หรือวัคซีน


-การตั้งครรภ์

 

 

สิ่งสําคัญที่ห้ามลืม


-บัตรประชาชน วันเวลานัดการฉีดวัคซีน


-รักษามาตรการป้องกัน พื้นฐานอย่างเคร่งครัด คือ สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง พกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ


-สวมใส่เสื้อแขนสั้นหรือเปิดบริเวณต้นแขนแขนได้ง่าย


-วันที่ฉีดวัคซีนควรดื่มน้ำอย่างน้อย 500-1,000 มิลลิลิตร ฉีดแขนข้างที่ไม่ค่อยถนัด และหลังฉีดสองวันอย่าใช้แขนนั้น อย่าเกร็งยกของหนัก หลังฉีดแล้วเจ้าหน้าที่ จะให้รอดูอาการใน บริเวณที่ฉีดระยะเวลาประมาณ 30 นาที


-ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมาก สามารถทานยา พาราเซตามอลขนาด 500 มก. ครั้งละหนึ่งเม็ด ซ้ำได้ถ้าจําเป็น แต่ให้ห่าง 6 ชั่วโมง

 

-ห้ามทานยากลุ่มพวก NASIADs เช่น Ibuprofen, Arcoxia, Celebrex เด็ดขาด


-การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ควรห่าง กับวัคซีนป้องกัน โรคไข้หวัดใหญ่ อย่างน้อย 1 เดือน


-ถ้ากินยาละลายลิ่มเลือดอยู่ ก็ให้กินยาตามปกติ แต่เมื่อฉีดยาแล้ว ให้กดนิ่งตรงตําแหน่งที่ฉีดต่ออีก 1 นาที

 

 


ข้อมูลจาก เพจไทยคู่ฟ้า , ศูนย์สื่อสารสาธารณะ กรมอนามัย , โรงพยาบาลกรุงเทพ

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง