18 ข้อปฏิบัติ สำหรับผู้ป่วยโควิด ณ ที่พักอาศัย (Home Isolation)
จากสถานการณ์ปัจจุบันที่ดูจะหนักขึ้นเรื่อยๆ กับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดการติดเชื้อในวงกว้าง มีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากที่ได้รับการบำบัดในสถานพยาบาลต่างๆ ของรัฐ และเอกชน แต่ก็มีผู้ป่วยบ้างส่วนที่ไม่ได้รับการรักษา เนื่องจากจำนวนเตียงไม่พอต่อการรักษา จนหน่วยงานของรัฐต้องออกวิธีการปฏิบัติหากติดเชื้อโควิด-19 ณ ที่พักอาศัย (Home Isolation)
วันนี้ trueID ได้รวบรวมข้อมูลปฏิบัติ สำหรับผู้ติดเชื้อที่ต้องรักษาตัวเองอยู่ที่บ้านมาให้รับข้อมูลกัน
สําหรับใช้กับ ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค หรือ ผู้ป่วยเข้าข่าย หรือผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการไม่รุนแรง และมี ลักษณะดังต่อไปนี้
- ไม่มีโรคประจําตัว เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคไตหรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- ที่พักอาศัยนั้นต้องมีลักษณะสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีอากาศที่ถ่ายเทดี สามารถแยกห้องนอน ห้องน้ำของผู้ป่วยและสมาชิกในบ้านได้ มีอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อทั้งของผู้ป่วยและผู้สัมผัสใกล้ชิด เช่น หน้ากาก อนามัย ถุงมือ ฯลฯ
- สามารถติดต่อกับโรงพยาบาลได้ดี ดูแลตนเองได้ และเดินทางมาโรงพยาบาลได้สะดวก
การดูแลรักษาตัวที่บ้าน ให้ปฏิบัติดังนี้
1. ผู้ป่วยหยุดเรียน หยุดงาน และพักอยู่กับบ้านจนกว่าอาการจะหายเป็นปกติไม่มีไข้ ไอ น้ำมูก อย่างน้อย 1 วันเพื่อลดการ แพร่เชื้อ
2.เมื่อมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล และยารักษาตามอาการ เช่น ยาละลายเสมหะ ย
ตาม คําแนะนําของแพทย์หรือเภสัชกร
3. เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำสะอาดอุ่นเล็กน้อยเป็นระยะ โดยการเช็ดแขนขาย้อนเข้าหาลําตัว เน้นการเช็ดตัวลดไข้บริเวณหน้าผาก ซอกรักแร้ ขาหนีบ ข้อพับแขนขา และใช้ผ้าห่มปิดหน้าอกระหว่างเซ็ดแขนขา เพื่อไม่ให้หนาวเย็นจนเกินไป หากผู้ป่วยมีอาการหนาวสั้น ต้องหยุดเช็ดตัวและห่มผ้าให้อบอุ่นทันที
4. ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มากๆ งดดื่มน้ำเย็นจัด
5. พยายามรับประทานอาหารอ่อนๆ รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก และผลไม้ให้พอเพียง
6. นอนพักผ่อนมากๆ ในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
7. ผู้ป่วยควรนอนแยกห้อง
8.รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น หากอาการทุเลาแล้ว อาจรับประทานอาหารร่วมกันได้ แต่ต้องใช้ช้อนกลาง ทุกครั้ง
9. ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ
10. หากมีอาการไอให้ สวมหน้ากากอนามัย ปิดปากจมูกด้วยกระดาษทิชชูทุกครั้งที่ไอจามแล้วทิ้งทิชชูลงในถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้ง ทําความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำและสบู่ทันที
11. เมื่ออยู่กับผู้อื่นต้องสวมหน้ากากอนามัย และอยู่ห่างจากคนอื่นๆ ในบ้านประมาณ 2 เมตร
12. ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดบุคคลอื่นโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ
13. ผู้ดูแลผู้ป่วยต้องสวมหน้ากากอนามัย เมื่อดูแลเสร็จ ต้องถอดหน้ากากอนามัยลงในถังขยะ และทําความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำและสบู่ทันที
14. ทุกคนในบ้านควรล้างมือบ่อยๆ เพื่อลดการรับและแพร่เชื้อ
15. ทําความสะอาดบริเวณที่ผู้ป่วยพัก เช่น เตียง โต๊ะ บริเวณของใช้รอบๆ ตัวของผู้ป่วย รวมถึงห้องน้ำด้วยน้ำยาฟอกขาว 5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วน ต่อน้ำ 99 ส่วน)
16. ทําความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู ฯลฯ ด้วยสบู่หรือผงซักฟอกขาวและน้ำ หรือซักผ้าด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิน้ำ 60-90 C
17. เฝ้าระวังอาการเจ็บป่วยของผู้สัมผัสใกล้ชิดหรือสมาชิกในบ้าน ภายในระยะเวลา 14 วัน หลังสัมผัสผู้ป่วย
18. มาตรวจอาการตามนัด และถ้ามีอาการผิดปกติให้มาพบแพทย์ทันที
หากมีอาการมากขึ้น เช่น ไข้สูง เหนื่อยมากขึ้น แน่นหน้าอก หอบ หายใจไม่สะดวก กินไม่ได้ ให้รีบมาโรงพยาบาล
ที่มา : กรมควบคุมโรค และ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ภาพโดย mohamed Hassan จาก Pixabay
++++++++++
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- รู้จัก"หมอพร้อม" วัคซีนโควิดพร้อม คนไทยพร้อมหรือยัง?
- รวมเบอร์สายด่วน"โควิด-19" รู้ไว้รับมือทัน!
- เปิดสถานที่ตรวจ "โควิด-19 ฟรี" เช็คเลย!
- รู้จัก “โควิดสายพันธุ์อังกฤษ” สู่ “โควิดทองหล่อ” ที่วัคซีนป้องกันได้?
- วิธีปฏิบัติ หากติดโควิด ทำตามขั้นตอนนี้เลย
- “โควิด-19” ทำให้เครียดหรือเปล่า? รับมือให้ทันก่อนจะเครียดเพราะโควิด
- Work from home อีกครั้ง ลืมไปหรือยังว่าต้องทำยังไงให้ได้งาน ?
- ไทยเซฟไทย ใช้งานต่างจาก หมอชนะ และไทยชนะ หรือเปล่า?
- 7 ประกันโควิด-19 เบี้ยไม่เกิน 500/ปี เดือนเมษา 64
- ติดโควิด-19 แต่ยังไม่ได้ไปหาหมอ ต้องกักตัวอย่างไร?
- อัพเดท "หมอพร้อม v.2" เปิดจองฉีดวัคซีนโควิด 1 พ.ค. นี้!