รีเซต

BYD ปฏิเสธ Baidu เตรียมสร้าง AI ของตนเอง

BYD ปฏิเสธ Baidu เตรียมสร้าง AI ของตนเอง
TNN ช่อง16
16 สิงหาคม 2566 ( 12:59 )
96

เอาแล้วไง ! เมื่อ บีวายดี (BYD) ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่จากประเทศจีน ปฏิเสธข้อตกลงกับไป่ตู้ (Baidu) ในการนำปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) ของไป่ตู้ที่ชื่อว่าอะพอลโล (Apollo) มาใช้สำหรับระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติในรถยนต์ไฟฟ้าของบีวายดี เนื่องจากบีวายดีต้องการที่จะพัฒนาเอไอสำหรับระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติของตนเอง 


โดยในปี 2022 ไป่ตู้เผยว่าจะจับมือกับบีวายดี เพื่อให้บีวายดีนำเอไออะพอลโลไปใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าของบีวายดี รวมถึงระบบนำทางและบริการรับจอดรถอัตโนมัติของไป่ตู้ด้วย

การเติบโตของโรโบแท็กซี่ในประเทศจีน 

แหล่งข่าวไม่เปิดเผยชื่อรายหนึ่ง ระบุว่า บีวายดีระงับข้อตกลงกับไป่ตู้ เนื่องจากบีวายดีมองไม่เห็นโอกาสของเทคโนโลยีขับเคลื่อนอัตโนมัติในตลาดมวลชนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ถึงกระนั้น นี่ก็ยังไม่ใช่จุดจบของเอไออะพอลโล เพราะไป่ตู้ยังมีตลาดโรโบแท็กซี่ หรือแท็กซี่ที่ทำงานด้วยระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ ซึ่งเปิดให้ทดลองใช้งานในบางเมืองของประเทศจีนแล้ว และพบว่าพวกมันสามารถทำงานได้เป็นอย่างดี


อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ลงทุนบางส่วนมองว่า โรโบแท็กซี่ไม่มีทางบรรลุเป้าหมายในการทำกำไรได้ เนื่องจากข้อบกพร่องของเทคโนโลยี, ข้อจำกัดด้านกฎระเบียบ และข้อกังวลด้านความปลอดภัย 


“เรามีทัศนคติที่ไม่ดีเกี่ยวกับหุ่นยนต์แท็กซี่มานานแล้ว เนื่องจากต้นทุนสูงเกินไปและไม่สามารถลดลงได้” - นักลงทุนจากกองทุนร่วมยุนชี พาร์ทเนอร์ส (Yunqi Partners) กล่าว


กลุ่มบริษัทโรโบแท็กซี่เริ่มลดต้นทุนลง 

เมื่อรวมกับปัญหาทางเศรษฐกิจของจีนและความสนใจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของนักลงทุนด้านเทคโนโลยีต่อการมาของแชตจีพีที (ChatGPT) จากบริษัท โอเพ่นเอไอ (OpenAI) ส่งผลให้กลุ่มบริษัทโรโบแท็กซี่เริ่มพยายามลดต้นทุนด้วยการลดจำนวนพนักงาน และพยายามรักษาระดับด้วยการเพิ่มยอดขายด้วยการขายเทคโนโลยีของตนเองให้กับบริษัทอื่น เหมือนที่ไป่ตู้กำลังจะขายเอไออะพอลโลให้กับบีวายดี เรียกได้ว่าเป็นการแข่งขันที่ดุเดือดเลยทีเดียว


ทั้งนี้ เอไออะพอลโลถูกพัฒนาขึ้นมาในปี 2013 และมีบริการโรโบแท็กซี่เป็นของตนเอง นั่นก็คืออะพอลโล โก (Apollo Go) ซึ่งหากว่า ไป่ตู้ต้องการที่จะนำเอไออะพอลโลมาเล่นในตลาดนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อแข่งกับผู้ผลิตเจ้าอื่น ๆ


ข้อมูลจาก SCMP

ภาพจาก Reuters

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง