Pride Month : คนข้ามเพศ (Transgender) ฉีดวัคซีนโควิด-19 มีอะไรต้องระวังบ้าง?
คนอีกหนึ่งกลุ่มที่ทางกระทรวงสาธารณะสุขเป็นห่วง หลังการได้รับฉีดวัคซีน คือ กลุ่มคนข้ามเพศ (Transgender) โดยเฉพาะที่ใช้ฮอร์โมนเพศหญิง เนื่องจากต้องใช้ยาฮอร์โมนทดแทนไปตลอดชีวิตในด้านการแสดงออกตามเพศที่เลือกไว้ ซึ่ง สธ. ยืนยันว่า ผู้ที่ใช้ฮอร์โมนในการรักษาโรคทางนรีเวช ฮอร์โมนเพศในกลุ่มคนข้ามเพศ (Transgender) สามารถฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ เพราะการใช้ฮอร์โมนไม่ใช่ข้อบ่งห้ามในการฉีดวัคซีนโควิด-19
วันนี้ TrueID จะพาคนข้ามเพศ หรือ Transgender มาเช็กตัวเองให้พร้อมก่อนฉีดวัคซีนโควิด ว่าต้องระวังอะไรบ้าง สามารถฉีดได้หรือไม่ จะกระทบกับยาฮอร์โมนมากแค่ไหน
คนข้ามเพศคืออะไร
คนข้ามเพศ (Transgender) หมายถึง ผู้ที่รู้สึกพึงพอใจกับเพศภาวะหรืออัตลักษณ์ทางเพศที่ตรงข้ามกับเพศกำเนิดของตน ซึ่งมักจะหมายถึงผู้ที่ได้รับการแปลงเป็นเพศที่ต้องการแล้ว
- Male to female transgender (MtF) หมายถึง หญิงที่ได้รับการแปลงเพศมาจากเพศชายเรียบร้อยแล้วหรือเรียกว่า หญิงข้ามเพศ (transwoman)
- Female to male transgender (FtM) หมายถึง ชายที่ได้รับการแปลงเพศมาจากเพศหญิงเรียบร้อยแล้วหรือเรียกว่า ชายข้ามเพศ (transman)
การใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ (Transgender hormone therapy)
จัดเป็นการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy) แขนงหนึ่ง โดยการใช้ฮอร์โมนเพศ หรือยาฮอร์โมนอื่นๆ ในกลุ่มคนข้ามเพศ หรือคนที่แสดงออกทางเพศที่ไม่ตรงกับบรรทัดฐานของสังคมเพื่อจุดประสงค์เพื่อให้มีลักษณะที่บ่งบอกทางเพศที่เป็นแบบทุติยภูมิของเพศที่ต้องการ การใช้ฮอร์โมนบำบัดแบ่งเป็น 2 ประเภท ตามจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงจากชายเป็นหญิง หรือจากหญิงเป็นชาย
1.การใช้ฮอร์โมนจากชายเป็นหญิง (Ferminizing hormone therapy) สำหรับหญิงข้ามเพศ หรือคนข้ามเพศที่มีลักษณะของเพศหญิง แต่ไม่ได้มองว่าตนเป็นหญิงข้ามเพศ
1.1 ยาฮอร์โมนเพื่อเปลี่ยนแปลงร่างกายให้มีลักษณะของเพศหญิง (Ferminizing medication)
– ฮอร์โมนเอสโตรเจน
1.2.ยาเพื่อลดการทำงานของฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน
– กลุ่มยาต้านฮอร์โมนแอนโดรเจน
– ยา Cyproterone acetate
– ยา Spironolactone
– ยา Goserelin หรือ leuprorelin
– ยา Finasteride
– ฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน (Progesterone) ไม่แนะนำให้จ่ายแก่คนไข้เนื่องจากยามีส่วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดและผลข้างเคียงอื่นๆ นอกจากนี้หากกินในขนาดที่สูงยังส่งผลยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้มีขนบนใบหน้ากลับมาขึ้นใหม่ และเพิ่มความต้องการทางเพศ
2.การใช้ฮอร์โมนจากหญิงเป็นชาย (Masculinizing hormone therapy) สำหรับชายข้ามเพศ หรือคนข้ามเพศที่มีลักษณะของเพศชาย แต่ไม่ได้มองว่าตนเป็นชายข้ามเพศ
2.1 ยาฮอร์โมนเพื่อเปลี่ยนแปลงร่างกายให้มีลักษณะของเพศชาย (Musculinizing medication)
– ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone)
2.2 ยาเพื่อลดการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจน
– ยา Goserelin
– ยา Leuprorelin ยากลุ่มนี้มีความสำคัญน้อยเนื่องจากฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนอย่างเดียวนั้นเพียงพอสำหรับชายข้ามเพศแล้ว
การรับวัคซีนโควิด-19 ในบุคคลข้ามเพศ
ในสถานการณ์ปัจจุบัน ยังไม่พบข้อมูลความเชื่อมโยงระหว่างการใช้ฮอร์โมนในบุคคลข้ามเพศกับความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่อาจสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
คลินิกสุขภาพเพศ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีข้อแนะนำการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ดังนี้
1.บุคคลข้ามเพศที่มีสุขภาพแข็งแรงดี และใช้ฮอร์โมนข้ามเพศอย่างเหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์ ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
2.ไม่มีข้อแนะนำให้หยุดใช้ฮอร์โมนข้ามเพศก่อนการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลที่เชื่อมโยงปฏิกิริยาของวัคซีนกับฮอร์โมนข้ามเพศ
3.สุขภาพให้แข็งแรง รวมถึงควรลดบุคคลข้ามเพศควรรักษาปัจจัยเสี่ยงต่อโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น งดสูบบุหรี่และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
3.บุคคลข้ามเพศที่มีความเสี่ยงจำเพาะบางชนิด เช่น โรคมะเร็ง โรคที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด โรคเกล็ดเลือดต่ำ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเข้ารับวัคซีน
4.ในกรณีที่รับยาต้านไวรัสเอชไอวีหรือได้รับยาสำหรับการป้องกันก่อนหรือหลังการสัมผัสเชื้อเอชไอวี (ART,PrEP หรือ PEP)ยังไม่พบข้อมูลปฏิกิริยาระหว่างยากับวัคซีน จึงแนะนำให้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้
5.ควรเลือกใช้ฮอร์โมนชนิดที่ส่งผลต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันน้อยที่สุด โดยปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสุขภาพของบุคคลข้ามเพศ
คำแนะนำจากแพทย์
หากบุคคลข้ามเพศที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มีอาการข้างเคียง เช่น หายใจติดขัด เจ็บหน้าอก ขาบวม หรือมีอาการปวดท้องรุนแรงที่ไม่ทราบสาเหตุ ให้รีบพบแพทย์ทันที
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวยืนยันว่า วัคซีนที่ได้รับอนุมัติให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินได้ผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบโดยผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา ซึ่งบางรายอาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์บ้าง แต่ส่วนใหญ่เป็นอาการเล็กน้อย
สำหรับยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนที่มีอยู่ในปัจจุบันมีทั้งแบบที่เป็นยาเม็ด ยาฉีด ยาฝังที่ใต้ผิวหนัง และแผ่นแปะที่ผิวหนัง แต่วิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ ยาเม็ดแบบกินชนิดที่มีฮอร์โมนรวมเพราะนอกจากจะมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการตั้งครรภ์แล้ว ยังมีผลข้างเคียงน้อย ซึ่งได้รับการวิจัยและพัฒนาด้านความปลอดภัยมาอย่างต่อเนื่องนานกว่า 50 ปี
ดังนั้น หากยังมีความกังวลใจและต้องการหยุดการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน ควรใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่น ๆ มาทดแทนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ได้แก่ ยาเม็ดหรือยาฉีดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพียงอย่างเดียว ห่วงอนามัย ยาฝังคุมกำเนิด และถุงยางอนามัย ซึ่งควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนวิธีการคุมกำเนิดด้วย
ข้อมูลจาก กรมอนามัย , คลินิกสุขภาพเพศ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย , ข่าวสด , บทบาทของนรีแพทย์ในการดูแลหญิงข้ามเพศ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- How To อยู่ร่วมกับ “LGBT” ต้อนรับ “Pride Month” พ่อแม่ควรปฏิบัติตัวอย่างไร
- เทศกาลไพรด์ Pride Month LGBTQ Pride Parades โบกธงสีรุ้งให้สะบัด
- รักไม่มีพรมแดน!! 10 คู่รักคนดัง จับมือยืนหยัดไม่ว่าเพศไหน แค่มีใจก็รักกันได้
- เช็กตัวเอง! เรากลัวการฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือเปล่า
- เคยติดโควิด-19 แล้ว ต้องฉีดวัคซีนอีกทีเมื่อไหร่
- เทียบให้ชัด! ผลข้างเคียงหลังฉีด "วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า" และ "วัคซีนซิโนแวค"