รีเซต

อัปเดทล่าสุด ฉีดวัคซีนโควิด-19 ประจำปี 2566 ต้องฉีดอย่างไร?

อัปเดทล่าสุด ฉีดวัคซีนโควิด-19 ประจำปี 2566 ต้องฉีดอย่างไร?
TrueID
25 เมษายน 2566 ( 10:14 )
228

ข่าววันนี้  ฉีดวัคซีนโควิด-19 ประจำปี ต้องฉีดอย่างไร? กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยแนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 อัปเดตล่าสุดปี 2566 มาดูกันเลย 

 

ฉีดวัคซีนโควิด-19 ประจำปี 

 

สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ระบุว่า เปิดให้บริการเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ศูนย์ฉีดวัคซีน COVID-19 ณ อาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง เปิดให้บริการเดือนกุมภาพันธ์ เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ สำหรับผู้มีอายุ 5 ปีขึ้นไป ทุกสัญชาติ

 

 ฉีดวัคซีนโควิด-19 ประจำปี ต้องฉีดอย่างไร?

  • ฉีดปีละ 1 เข็ม เริ่มปี 2566 เป็นต้นไป
  • ฉีดตั้งแต่เดือนเม.ย. ก่อนเข้าสู่ฤดูฝน
  • ฉีดห่างจากเข็มสุดท้าย หรือการติดเชื้อครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 3 เดือน
  • ฉีดพร้อมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ โดยฉีดที่ต้นแขนคนละข้าง
  •  หากฉีดไม่พร้อมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จะห่างกี่วันก็ได้

 

 

 ฉีดวัคซีนโควิด-19 ประจำปี 2566


ใครควรฉีดวัคซีนโควิดบ้าง?

  1. ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป, 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง, หญิงตั้งครรภ์ และเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เพื่อลดความเสี่ยงป่วยรุนแรง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน
  2. ผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องสัมผัสคนจำนวนมาก หรืออยู่ในสถานที่แออัด เช่น ทัณฑสถาน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ
  3. บุคลากรการแพทย์และสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ด่านหน้า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อรักษาระบบสาธารณสุขของประเทศ

 

ฉีดวัคซีนโควิด ชนิดใด และระยะห่างกี่เดือน

  • วัคซีนทุกชนิด ทุกรุ่น ฉีดเป็นเข็มกระตุ้นได้
  • ผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีน และไม่เคยติดเชื้อ ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 1-2 เดือน
  • ผู้ที่เคยฉีดวัคซีน หรือเคยติดเชื้อ ฉีดกระตุ้นปีละ 1 เข็ม

 

อัปเดทล่าสุด โควิด-19 ลูกผสมสายพันธุ์ โอมิครอน XBB.1.5 กับ XBB.1.16

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยข้อความมูลเกี่ยวกับความแตกต่าง โควิด-19 ลูกผสมสายพันธุ์ โอมิครอน ระหว่าง โควิด XBB.1.5 กับ โควิด XBB.1.16

 

  XBB.1.5XBB.1.16
การระบาดเป็นสายพันธุ์หลักที่กำลังระบาด พบใน 95 ประเทศมีแนวโน้มพบเพิ่มขึ้น
ลูกผสมของสายพันธุ์ โอมิครอน BJ.1 และ BM.1.1.1BA.2.10.1 และ BA.2.75
ความสามารถในการแพร่กระจายแพร่กระจายได้รวดเร็วอาจแพร่กระจายได้ดีกว่า XBB.1.5
ความสามารถในการหลบภูมิคุ้มกัน หลบภูมิคุ้มกันได้ดีหลบภูมิคุ้มกันได้ดี
ความรุนแรงยังไม่มีหลักฐานแสดงว่าทำให้โรครุนแรงขึ้นยังไม่มีหลักฐานแสดงว่าทำให้โรครุนแรงขึ้น
อาการที่พบไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก

ไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก

*อาจพบเยื่อบุตาอักเสบ คันตา ตาเหนียว ร่วมด้วย

 

โควิด-19 ลูกผสมสายพันธุ์ โอมิครอน XBB.1.5 กับ XBB.1.16

 

ข้อมูล : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

 

บทความเกี่ยวกับ  โควิด XBB.1.16 โควิดสายพันธุ์โอมิครอน

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง