รีเซต

ภาพถ่ายดวงจันทร์จากยานอวกาศโอไรออนที่ความสูง 130 กิโลเมตร เหนือพื้นผิว

ภาพถ่ายดวงจันทร์จากยานอวกาศโอไรออนที่ความสูง 130 กิโลเมตร เหนือพื้นผิว
TNN ช่อง16
27 พฤศจิกายน 2565 ( 14:27 )
117

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2022 ที่ผ่านมา ยานอวกาศโอไรออน (Orion) ได้โคจรเข้าใกล้ดวงจันทร์มากที่สุดในภารกิจอาร์เทมิส 1 (Artemis 1) ซึ่งทำให้ยานอวกาศอยู่สูงเหนือพื้นผิวดวงจันทร์เพียง 8.1 ไมล์ หรือ 130 กิโลเมตร


โดยหนึ่งในอุปกรณ์ที่ติดตั้งไปกับยานอวกาศเพื่อทดสอบการใช้งานก็คือ กล้องออพติคัลนำทาง ซึ่งจะต้องทำการถ่ายภาพโลกและดวงจันทร์ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกในวันที่ 11 ธันวาคม 2022 ที่จะถึงนี้ เพื่อทดสอบการทำงานของกล้องในช่วงแสงและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2022  เราได้ภาพถ่ายแบบขาวดำของพื้นผิวดวงจันทร์จากมุมสูงที่ระยะความสูงเพียง 130 กิโลเมตร

ต่อมาในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2022 ยานอวกาศโอไรออนได้ขาดการติดต่อกับทีมเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินของนาซา (NASA) นานถึง 47 นาที ก่อนที่จะสามารถกลับมาติดต่อได้อีกครั้ง ซึ่งทีมเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินยังไม่พบความผิดปกติใด ๆ ของยานอวกาศ ทำให้ยังคาดเดาไม่ได้อย่างแม่นยำนักว่าการขาดการติดต่อดังกล่าวเกิดจากอะไร จนกว่ายานอวกาศจะเดินทางกลับโลก


โดยการขาดการติดต่อกับยานอวกาศถือเป็นปัญหาที่ทีมวิศวกรจะต้องค้นหาสาเหตุและทำการแก้ไขเมื่อยานอวกาศเดินทางถึงโลกแล้ว เพื่อป้องกันปัญหาเดิมในภารกิจต่อ ๆ ไปที่จะมีการส่งนักบินอวกาศไปกับยานอวกาศด้วย เนื่องจากการขาดการติดต่อกับยานอวกาศหมายถึงการขาดการติดต่อกับนักบินอวกาศด้วย ซึ่งในช่วงเวลานั้นอาจเกิดเหตุที่อันตรายกับนักบินอวกาศได้


ต่อไปจะเป็นช่วงการเปิดเครื่องยนต์เพื่อสร้างแรงดันให้ยานอวกาศโอไรออนเข้าสู่วงโคจรระดับสูงของดวงจันทร์ และจะโคจรอยู่ในวงโคจรดังกล่าวนาน 1 สัปดาห์ ก่อนที่จะเดินทางเพื่อเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกในวันที่ 11 ธันวาคม 2022 และตกลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกนอกชายฝั่งแคลิฟอร์เนียในวันที่ 12 ธันวาคม 2022 


ข้อมูลจาก www.space.com

ภาพจาก NASA

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง