รีเซต

เจาะสเปกยานอวกาศโอไรออนที่ใช้ไปดวงจันทร์ในโครงการอาร์เทมิส

เจาะสเปกยานอวกาศโอไรออนที่ใช้ไปดวงจันทร์ในโครงการอาร์เทมิส
TNN ช่อง16
17 พฤศจิกายน 2565 ( 15:31 )
107
เจาะสเปกยานอวกาศโอไรออนที่ใช้ไปดวงจันทร์ในโครงการอาร์เทมิส

ยานอวกาศโอไรออน (Orion) เป็นยานอวกาศรุ่นต่อไปของนาซา (NASA)  ที่ถูกวางตัวไว้ใช้ส่งนักบินอวกาศไปยังดวงจันทร์และดาวอังคาร ซึ่งปัจจุบันมันถูกวางตัวไว้ใช้ในโครงการอาร์เทมิส (Artemis Program) สำหรับการส่งนักบินอวกาศไปเยือนดวงจันทร์ในรอบ 50 ปี นับจากภารกิจสุดท้ายในโครงการอะพอลโล (Apollo Program)


ส่วนประกอบของยานอวกาศโอไรออน (Orion) 

โดยยานอวกาศโอไรออนแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ด้วยกัน ได้แก่ 


- ระบบยกเลิกการปล่อยตัว (Launch Abort System) ที่ติดตั้งอยู่ด้านบนสุด ซึ่งสามารถเปิดใช้งานได้ในเสี้ยววินาที เพื่อขับเคลื่อนยานอวกาศไปยังที่ปลอดภัย และจัดตำแหน่งลงจอดที่ปลอดภัยให้กับลูกเรือ


- โมดูลลูกเรือ (Crew Module) ที่สามารถรองรับลูกเรือได้ทั้งหมด 4 คน ซึ่งมาพร้อมกับระบบลงจอดและกู้คืนที่ปลอดภัย อีกทั้งภายในยังมีระบบสนับสนุนชีวิต, ระบบพลังงาน และอื่น ๆ ที่จำเป็น


- โมดูลให้บริการ (Service Module) ที่สร้างขึ้นโดยความร่วมมือกับองค์การอวกาศยุโรป (ESA) ซึ่งเป็นส่วนที่คอยให้แรงขับสำหรับการถ่ายโอนวงโคจร, การควบคุมพลังงานและความร้อน และอื่น ๆ อีกทั้งยังเป็นส่วนที่คอยให้น้ำและอากาศไปยังโมดูลลูกเรือ

ภารกิจอาร์เทมิส 1 (Artemis 1) 

โดยในตอนนี้ยานอวกาศโอไรออนกำลังอยู่ในขณะปฏิบัติภารกิจอาร์เทมิส 1 (Artemis 1) ซึ่งเป็นการส่งยานอวกาศไปโคจรรอบดวงจันทร์เป็นระยะทางทั้งหมด 1.3 ล้านไมล์ หรือประมาณ 2 ล้านกิโลเมตร เพื่อทดสอบสมถรรนะการทำงานจริงของยานอวกาศ โดยยานอวกาศจะเดินทางกลับถึงโลกในวันที่ 11 ธันวาคม 2022 ที่จะถึงนี้ ด้วยความเร็วประมาณ 24,000 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 38,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 


ซึ่งยานอวกาศโอไรออนจะถูกนำมาใช้งานอีกครั้งในภารกิจอาร์เทมิส 2 (Artemis 2) ที่จะเป็นการบรรทุกนักบินอวกาศไปโคจรรอบดวงจันทร์ และจะใช้บรรทุกนักบินอวกาศเพื่อลงจอดอีกครั้งในภารกิจอาร์เทมิส 3 (Artemis 3)

ข้อมูลและภาพจาก www.nasa.gov

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง