รีเซต

รัสเซียส่งยานอวกาศกู้ภัย Soyuz MS-23 นำนักบินอวกาศกลับโลก

รัสเซียส่งยานอวกาศกู้ภัย Soyuz MS-23 นำนักบินอวกาศกลับโลก
TNN ช่อง16
25 กุมภาพันธ์ 2566 ( 16:24 )
83

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รัสเซียประสบความสำเร็จส่งยานอวกาศในภารกิจยาน Soyuz MS-23 จากศูนย์อวกาศไบโคนูร์คอสโมโดรม (Baikonur Cosmodrome) ขึ้นสู่อวกาศเพื่อทำภารกิจกู้ภัยนำนักบินอวกาศ 3 คน บนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS เดินทางกลับโลก หลังจากยานอวกาศในภารกิจ Soyuz MS-22  ถูกตรวจพบรอยรั่วไหลของสารหล่อเย็นในช่วงเดือนธันวาคม 2022 ที่ผ่านมา โดยสันนิษฐานว่าอาจโดนวัตถุขนาดเล็กในอวกาศพุ่งชน 


ภารกิจยาน Soyuz MS-23 เป็นภารกิจแบบไร้นักบินอวกาศภายในยาน โดยยานมีเป้าหมายหลักนำนักบินอวกาศ 3 คน เดินทางกลับโลก ประกอบด้วย  


1. นักบินอวกาศเซอร์เกย์ โปรโคปีเยฟ ( 

Sergey Prokopyev)

2. นักบินอวกาศดมิทรี เพลิน (Dmitry Petelin)

3. นักบินอวกาศฟรานซิสโก รูบิโอ (Francisco Rubio)


ภารกิจยาน Soyuz MS-23 มีกำหนดการเข้าเชื่อมต่อกับโมดูล Poisk บนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ เนื่องจากภายในตัวยานไม่มีมนุษย์ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ในยานถูกแทนที่ด้วยสัมภาระและตุ๊กตาหมีซึ่งเป็นอุปกรณ์วัดแสดงสภาวะไร้น้ำหนักภายในห้องโดยสารของยานอวกาศ


กระบวนการเทียบท่าสถานีอวกาศในภารกิจนี้อาจใช้ความละเอียดมากขึ้นเนื่องจากหลังยาน Soyuz MS-23 เข้าเทียบท่าประมาณ 24 ยานอวกาศ Crew-6 Dragon พร้อมนักบินอวกาศ 4 คน ของบริษัท สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) มีกำหนดการเทียบท่าสถานีอวกาศนานาชาติ ISS บริเวณโมดูล Harmony zenith


สำหรับกำหนดการเดินทางกลับโลกของภารกิจยาน Soyuz MS-23 คาดว่าจะมีขึ้นในวันที่ 27 กุมภาพันธ์


แม้ว่ารอยรั่วไหลของสารหล่อเย็นของยาน Soyuz MS-22 จะไม่กระทบต่อสถานีอวกาศนานาชาติ ISS มากนักและปัจจุบันสถานีอวกาศยังคงทำภารกิจไปได้อย่างต่อเนื่อง แต่องค์การนาซา (Nasa) และองค์การอวกาศประเทศพันธมิตรอื่น ๆ รวมไปถึงรัสเซียมีแผนการสำรองอยู่เสมอ 


แผนการสำรองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงนักบินอวกาศรัสเซีย 2 คน คือ นักบินอวกาศเซอร์เกย์ โปรโคปีเยฟ ( Sergey Prokopyev) และนักบินอวกาศดมิทรี เพลิน (Dmitry Petelin) ยังคงใช้ยาน Soyuz MS-22 หนีภัยกลับโลกได้ตามคำแถลงการณ์ขององค์อวกาศรัสเซีย (Roscosmos) ส่วนนักบินอวกาศฟรานซิสโก รูบิโอ (Francisco Rubio) สามารถใช้ที่นั่งฉุกเฉินเพิ่มเติมของยาน Crew Dragon ในภารกิจ SpaceX Crew-5 หนีภัยกลับโลกได้


ที่มาของข้อมูล SpaceWikipedia.orgWikipedia.org 

ที่มาของรูปภาพ NASA TV



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง