รีเซต

ไขคำตอบ “ความรัก” ทำให้คนตาบอดได้อย่างไร ?

ไขคำตอบ “ความรัก” ทำให้คนตาบอดได้อย่างไร ?
TNN ช่อง16
17 มกราคม 2567 ( 15:11 )
162
ไขคำตอบ “ความรัก” ทำให้คนตาบอดได้อย่างไร ?

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย Australian National University (ANU), University of Canberra, และ University of South Australia เผยผลการวิจัยใหม่ “ความรักทำให้คนตาบอดได้อย่างไร ?”


“ความรัก” มีอิทธิพลต่อสมองอย่างไร ?


การวิจัยครั้งนี้ เป็นงานวิจัยชิ้นแรก ที่ได้จับเอาหนุ่มสาวที่กำลังมีความรักจำนวน 1,556 คน มาหาคำตอบว่า “ความรักที่โรแมนติก ส่งผลต่อการทำงานของสมองอย่างไรบ้าง ?” การศึกษาจะโฟกัสไปที่การหาความเชื่อมโยงระหว่าง ระบบกระตุ้นพฤติกรรม (BAS) กับ ประสบการณ์ด้านความรัก


ในการวิจัย ทางทีมงานจะเจาะลึกเข้าไปยังประสบการณ์ความรักของผู้เข้าร่วมในด้านต่าง ๆ ผ่านทางคำถามที่ค่อนข้างเซนซิทีฟในด้านอารมณ์ที่มีต่อคู่รักของตน รูปแบบพฤติกรรมของพวกเขา และระดับความสนใจที่ทุ่มเทให้กับคนรักของพวกเขา


โดยต่อไปนี้คือผลลัพธ์ส่วนหนึ่งที่ได้จากการวิจัย


1. เมื่อคนเราตกหลุมรัก สมองจะเกิดปฏิกิริยาที่แตกต่างจากตอนปกติ ทำให้เราโฟกัสอยู่กับเรื่องของความรักเท่านั้น ระบบกระตุ้นพฤติกรรมของเราจะทำงาน โดยตอบสนองต่ออารมณ์เชิงบวกอย่างความตื่นเต้นและความสุข

2. เมื่อเรามีความรัก เราจะพยายามทำหลาย ๆ สิ่งเพื่อให้ได้รับรางวัลจากคนที่เรารัก เราจะจัดลำดับความสำคัญในแต่ละวันใหม่ โดยให้ตัวเองมีความพร้อมร่วมกับคนรัก และพยายามทำให้ตัวเองเป็นที่ชื่นชอบ โดยการเปลี่ยนเสื้อผ้า กิริยา นิสัย หรือค่านิยม

3. ความรักอาจทำให้เกิดพฤติกรรมไม่รู้จักเรียนรู้ขึ้นได้ โดยเฉพาะเพศชาย มีแนวน้อมที่จะตีความ ความเป็นมิตรของคนที่กำลังสนใจอยู่แบบผิด ๆ ได้ง่าย ก่อให้เกิดเป็น อคติเชิงบวกที่ผิดพลาด และทำให้เราตกอยู่ในความรัก จนเกิดเป็นพฤติกรรม การพยายามจีบคนเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า แม้จะมีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่า ความพยายามดังกล่าวจะไม่เกิดผลก็ตาม

4. คนที่มีความรัก จะรู้สึกว่าสิ่งที่ได้รับมาจากคนรักนั้น ยังไม่มากพอ หรือยังไม่ได้เติมจนเต็มอยู่เสมอ ๆ เช่น แม้จะรู้สึกว่าใกล้ชิดกับคนรักมากขึ้นแล้ว ก็ยังอยากที่จะใกล้ชิดมากขึ้นไปอีก เพราะความรู้สึกโลภและการควบคุมไม่ได้ ถือเป็นคุณลักษณะหนึ่งของความรัก คุณอาจปรับเวลาในชีวิตใหม่เพื่อคนรักของคุณโดยเฉพาะก็ได้ หรือบางครั้งคุณก็อาจจะเข้าไปส่องหน้าเฟซบุ๊กของคนที่คุณรักอยู่เสมอ ๆ เป็นต้น


5. ระบบกระตุ้นพฤติกรรม มีบทบาทสำคัญในการดึงดูดความสนใจอย่างรวดเร็ว และจัดลำดับความสำคัญของสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ซึ่งสิ่งกระตุ้นบางอย่าง โดยเฉพาะการมีคนรัก จะเข้าไปกระตุ้นระบบกระตุ้นพฤติกรรม และทำให้สมองเกิดการเปลี่ยนแปลง กระบวนการนี้ขับเคลื่อนโดยฮอร์โมนออกซิโตซิน และโดปามีน ส่งผลให้เราจัดลำดับเรื่อง “ความรัก หรือคนรัก” ให้อยู่เหนือทุก ๆ สิ่ง หรือโดดเด่นเป็นพิเศษ

6. ในความรักโรแมนติก เมื่อเรามีปฏิสัมพันธ์กับคนที่เรารัก ฮอร์โมนออกซิโตซินจะไหลเวียนไปทั่วระบบประสาท และกระแสเลือด

7. สิ่งที่เราเรียกกว่าความรู้สึกรัก เกิดจากการที่สมองเราหลั่งฮอร์โมนออกซิโตซิ นมาผสมรวมเข้ากับโดปามีน 


การวิจัยนี้ได้รับพิมม์ลงใน Behavioural Sciences สามารถเข้าไปอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่ >> https://www.mdpi.com/2076-328X/13/11/921



อย่างไรก็ตาม การวิจัยนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น ในขั้นต่อไปทางทีมนักวิจัยจะเริ่มศึกษาเกี่ยวกับความแตกต่าง ระหว่างชายและหญิงในแนวทางด้านความรัก


The Behavioral Activation System (BAS) คืออะไร ?


The Behavioral Activation System (BAS) หรือ “ระบบกระตุ้นพฤติกรรม” คือกลไกทางชีววิทยาอย่างหนึ่ง ที่มีบทบาทในการเกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เรา ระบบนี้ทำงานได้ทั้งแบบอินพุตและเอาต์พุต โดยอินพุตก็คือสิ่งเร้าต่าง ๆ ที่จะเข้ามากระตุ้นการทำงานของตัวระบบ จนก่อให้เกิดเป็นพฤติกรรมต่าง ๆ เอาต์พุตออกมา อาทิเช่น การเคลื่อนไหวของร่างกาย พลังงาน ความมั่นใจ ความสนใจ ความพอใจในรางวัล และอาจรวมไปถึงการเข้าสังคมและการสำรวจ


แหล่งที่มา mdpi.com


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง