รีเซต

นักวิทย์ฯ พบความเชื่อมโยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

นักวิทย์ฯ พบความเชื่อมโยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
TNN ช่อง16
3 พฤศจิกายน 2563 ( 05:57 )
202

ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตเห็นความสัมพันธ์ของกโรคซึมเศร้า (Depression) กับโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) รายละเอียดเพิ่มเติมเป็นอย่างไร ติดตามได้จากบทความนี้เลย


ที่มาของภาพ https://www.slashgear.com/study-finds-depression-may-be-a-nontraditional-stroke-risk-factor-02645431/

ในปัจจุบันรายงานความสัมพันธ์การเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีมากขึ้น ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า สาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ที่พัฒนาขึ้นในระหว่างป่วยเป็นโรคซึมเศร้า

ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่บุคคลหนึ่งกำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้า โรคนี้จะส่งผลให้พฤติกรรมของผู้ป่วยเปลี่ยนไป อาจมีนิสัยเชื่องช้า เหนื่อยง่าย นอนเยอะขึ้น รับประทานอาหารเยอะขึ้น หรือออกกำลังกายน้อยลง สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกาย เป็นเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นตามมา เช่น เบาหวาน และความดันโลหิตสูง


ที่มาของภาพ https://newatlas.com/health-wellbeing/depression-stroke-increased-risk-new-study/

ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า โรคซึมเศร้าเองยังมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในร่างกาย และกระทบต่อหลอดเลือดสมองได้โดยตรงเช่นกัน

เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอลาบามา เมืองเบอร์มิงแฮม สหรัฐอเมริกา ได้มีการติดตามผลการทดลองในระยะยาว โดยการประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคซึมเศร้าในอาสาสมัครด้วยแบบเประเมินโรคซึมเศร้า CES-D-4 ในแบบประเมินนี้หากได้คะแนนมากขึ้น จะยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า

ตลอดการติดตามผลเป็นระยะเวลา 9 ปี พบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 39% เคยทำแบบทดสอบ CES-D-4 ได้คะแนน 1-3 คะแนน และมีจำนวนมากถึง 54% ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่ทำคะแนน CES-D-4 ได้ตั้งแต่ 4 คะแนนขึ้นไป


ที่มาของภาพ https://www.healthline.com/health/stroke/depression-after-stroke

เพราะฉะนั้น นักวิทยศาสตร์จึงลงความเห็นว่า โรคซึมเศร้าอาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งการทดลองนี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้แพทย์จัดให้โรคซึมเศร้าเป็นหนึ่งในความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดลเอดสมอง และจะได้มีการวางแผนป้องกันในอนาคตต่อไป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก New Atlas

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง