รีเซต

เปิดวิธีขอรับเงินเยียวยา หลังโค-กระบือติด “โรคลัมปี สกิน” ไม่เกินรายละ 2 ตัว สูงสุด 22,000 บาท

เปิดวิธีขอรับเงินเยียวยา หลังโค-กระบือติด “โรคลัมปี สกิน” ไม่เกินรายละ 2 ตัว สูงสุด 22,000 บาท
Ingonn
13 มิถุนายน 2564 ( 16:51 )
14.5K
เปิดวิธีขอรับเงินเยียวยา หลังโค-กระบือติด “โรคลัมปี สกิน” ไม่เกินรายละ 2 ตัว สูงสุด 22,000 บาท

 

วิกฤต “โรคลัมปี สกิน” ยังคงระบาดหนักอย่างต่อเนื่อง ทำให้พี่น้องชาวเกษตรกรหลายพื้นที่ กว่า 41 จังหวัด ต้องสูญเสียโค-กระบือที่เลี้ยงไว้จำนวนมาก ซึ่งส่งผลต่อรายได้และความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่เลี้ยงสัตว์ และเนื่องจากเป็นโรคอุบัติใหม่ ไทยจึงไม่มีวัคซีน ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ โดยสัปดาห์หน้าคาดว่าจะมีวัคซีน “โรคลัมปี สกิน” เข้ามาเพิ่มอีก 300,000 โดส จากที่เข้ามาแล้วก่อนหน้านี้ 60,000 โดส

 

 


วันนี้ TrueID จะรวบรวมหลักเกณฑ์ขอรับเงินเยียวยาหลังโค-กระบือติด “โรคลัมปี สกิน” จากกรมปศุสัตว์ ว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง ต้องยื่นเอกสารอย่างไร และรับเงินเท่าไหร่

 

 

 


กรมปศุสัตว์ ได้ส่งหนังสือลงวันที่ 1 มิ.ย. 2564 ถึงผู้ว่าราชการ 76 จังหวัดทั่วประเทศ เรื่องการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร กรณีการระบาดของโรคลัมปี สกิน (Lumnpy Skin Disease : LSD) โดยใช้ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี 2560 และ ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ปี 2562

 

 

 

สถานการณ์การแพร่ระบาด “โรคลัมปี สกิน”


ปัจจุบันมีรายงานการเกิดโรคในพื้นที่ 41 จังหวัด ณ วันที่ 28 พ.ค. มีเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 3,724 ราย โค กระบือ ทั้งหมดจำนวน 72,874 ตัว โคและกระบือ ป่วยสะสม จำนวน 10,023 ตัว แบ่งเป็น โคเนื้อ จำนวน 9,342 ตัว โคนม จำนวน 244 ตัว และกระบือ จำนวน 37 ตัว ตายสะสม จำนวน 93 ตัว แบ่งเป็น โคเนื้อ จำนวน 91 ตัว และโคนม จำนวน 2 ตัว

 

 


ขั้นตอนการรับเงินชดเชย “โรคลัมปี สกิน”


ในกรณีที่เป็นการชดเชยกรณีสัตว์ตายหรือป่วยตาย โดยดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 และมีขั้นตอน ดังนี้

 

1.รวบรวมข้อมูลความเสียหาย


2.รวบรวมข้อมูลเสนอ คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ปศุสัตว์อำเภอ)


3.รวมรวมข้อมูลเสนอ คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ปศุสัตว์จังหวัด)


4.ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ ปศุสัตว์จังหวัด หรือกรมปศุสัตว์

 

 


อัตราเงินชดเชยรายได้ “โรคลัมปี สกิน”

 

สำหรับอัตราเงินชดเชยรายได้ให้เกษตรกรเจ้าของโค กระบือ ตามจริง แต่จ่ายไม่เกินรายละ 2 ตัวเป็นเงินสดผ่านบัญชีเงินฝากเกษตรกร 

 


1.สัตว์อายุ น้อยกว่า 6 เดือน 
โคจ่ายเงินเยียวยา 6,000 บาท/ตัว กระบือเยียวยา 8,000 บาท/ตัว จ่ายตามจริง 


2.สัตว์อายุ 6 เดือนถึง 1 ปี 
โคจ่ายเงินเยียวยา 12,000 บาท/ตัว กระบือเยียวยา 14,000 บาท/ตัว


3.สัตว์อายุมากกว่า 1 ปี ถึง 2 ปี 
โคจ่ายเงินเยียวยา 16,000 บาท/ตัว กระบือเยียวยา 18,000 บาท/ตัว


4.สัตว์อายุมากกว่า 2 ปี 
โคจ่ายเงินเยียวยา 20,000 บาท/ตัว กระบือเยียวยา 22,000 บาท/ตัว

 

 

 

 

 


มาตรการเฝ้าระวัง “โรคลัมปี สกิน”


เพื่อให้มีการเฝ้าระวัง ควบคุม และกำจัด “โรคลัมปี สกิน” (LSD) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ร่วมกันให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ได้รับ ผลกระทบที่มีสัตว์เลี้ยงป่วยหรือป่วยตายจากการระบาดของโรคดังกล่าว เห็นควรให้ปศุสัตว์จังหวัดดำเนินการ ดังนี้

 

 

1.ประสานขอความร่วมมีอองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้การสนับสนุนในการป้องกันควบคุม การแพร่ระบาตของโรคลัมนี สกิน (LSD) เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรเฉพาะหน้าเร่งด่วน เช่น การจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ ยากำจัดแมลงพาหะและอื่นๆ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรกรณี สัตว์ป่วยตายด้วยโรคลัมปี สกิน (LSD) โดยพิจารณาใช้จายงบประมาณช่วยเหลือประชาชนตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือบระชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

 

2.ประสานงานกับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่ที่เกิดโรค เพื่อเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และให้ปศุสัตว์อำเภอหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ เพื่อสำรวจตรวจสอบสัตว์ที่ตายตามความเป็นจริงพร้อมบันทึกภาพและรวบรวมเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการขดเชยกรณีสัตว์ป่วยตายด้วยโรคระบาดสัตว์ชนิดโรคลัมปี สกิน (LSD)

 

 

หากเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์รายใด ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคลัมปี สกิน และมีความประสงค์จะขอรับการเยียวยา ขอให้ติดต่อสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ หรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ใกล้บ้าน หรือศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านปศุสัตว์ กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ทางโทรศัพท์ 0-2653-4444 ต่อ 3315 และ E-mail : disaster@dld.go.th

 

 

 

 

 

ข้อมูลจาก ข่าวสด , กรมปศุสัตว์

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง