รีเซต

รู้จัก “วัคซีนลัมปี สกิน” ซื้ออย่างไรไม่ให้ได้ของปลอม

รู้จัก “วัคซีนลัมปี สกิน” ซื้ออย่างไรไม่ให้ได้ของปลอม
Ingonn
18 มิถุนายน 2564 ( 13:56 )
4.7K
1
รู้จัก “วัคซีนลัมปี สกิน” ซื้ออย่างไรไม่ให้ได้ของปลอม

 

อีกโรคหนึ่งที่เป็นภัยร้ายต่อสัตว์ใหญ่อย่าง โค - กระบือ นั่นก็คือโรคอุบัติใหม่อย่าง "ลัมปีสกิน" ที่เป็นโรคติดเชื้อไวรัส เกิดขึ้นเฉพาะในโค - กระบือ สาเหตุมาจากแมลงดูดเลือด เช่น เห็บ ยุง แมลงวัน แต่ไม่เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน ติดเชื้อครั้งแรกในโคเนื้อของเกษตรกรที่อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา

 

 

เมื่อ โค - กระบือติดเชื้อโรคดังกล่าว จะส่งผลทำให้มีตุ่มขึ้นทั่วร่างกาย เกิดการอักเสบ อาจเป็นหมันชั่วคราวหรือถาวร แท้งลูก มีปริมาณน้ำนมลดลง และตายได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้มีอาชีพเลี้ยงโค – กระบือเป็นอย่างมาก สิ่งที่ช่วยเหลือสัตว์เหล่านี้ และเกษตรกรผู้เลี้ยงคือการฉีด “วัคซีนลัมปีสกิน”

 

 

วันนี้ TrueID จะพามารู้จักกับ “วัคซีนลัมปีสกิน” ทางออกในการแก้ปัญหาวิกฤตของโรคนี้ ที่ทำให้โค - กระบือ ล้มตายเป็นจำนวนมาก พร้อมวิธีการดูอย่างไรว่าวัคซีนที่ได้มาฉีดนั้นไม่ใช่ของปลอม

 

 


รู้จัก! วัคซีนโรคลัมปี สกิน


วัคซีน “โรคลัมปี สกิน” ที่จะนำเช้ามาใช้เป็นวัคซีนชนิด เชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (live qttenuated virus vaccine) และเป็น sis Neethling-type (MSD Animal Health) โดยกรมปศุสัตว์ได้ตรวจวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อที่ระบาดในพื้นที่กับเชื้อที่ใช้ในการผลิตวัคซีนแล้ว พบว่ามีความใกล้เคียงกันกับเชื้อที่ระบาดในประเทศไทย 

 

 

กรมปศุสัตว์จัดหาและสั่งซื้อวัคซีน วัคซีน LSDV หรือวัคซีนโรคลัมปี สกิน จำนวน 360,000 โดสจาก บริษัท Intervet International B.V. ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีโรงงานผลิตอยู่ที่ประเทศแอฟริกาใต้

 

 


สัตว์กลุ่มไหนที่ฉีดวัคซีนได้


1.ฉีดในสัตว์ที่สุขภาพแข็งแรงเท่านั้น และไม่อยู่ในฝูงที่กำลังมีสัตร์ป่วย

 


2.ลูกสัตว์ที่เกิดจากแม่ที่ฉีดวัดซีนแล้ว ให้เริ่มฉีดที่อายุ 6 เดือน (ตามเอกสารแนะนำของวัคขีน) ทั้งนี้จะมีการประเมินระดับภูมิคุ้มกันของแม่ที่ให้ลูก เพื่อกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มฉีดวัคซีนลูกสัตว์ในประเทศไทยต่อไป

 


3.ลูกสัตว์ที่เกิดจากแม่ไม่เคยฉีดวัคซีน อาจเริ่มฉีดวัคซีนได้ทุกช่วงอายุ เมื่อลูกสัตว์มีสุขภาพแข็งแรง ไม่ป่วย (ตามเอกสารแนะนำของวัคชื่น) 

 

 

สัตว์ทุกตัวที่ฉีดวัคซีนแล้ว ต้องทำเครื่องหมาย โดยการตีตราเย็น "L" บริเวณไหล่ท้าย เท่านั้น

 

 

 

พื้นที่กำหนดให้ใช้วัคซีน 


1.พื้นที่รัศมีรอบจุดเกิดโรค จากรอบนอกของวงรัศมีการเกิดโรค ร่วมกับการงดการเคลื่อนย้าย และควบคุมกำจัดแมลงพาหะ

 


2.พื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง เช่น"พื้นที่ที่มีการเลี้ยงโค กระบือ หนาแน่น" และเป็น "พื้นที่ที่การเคลื่อนย้ายสัตว์เข้าออกมาก"

 

 

 

การเก็บรักษาวัคซีน 


เก็บรักษาวัคซีนที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียล เพราะเป็นเชื้อเป็นฤทธิ์อ่อน หากดูแลไม่ดี อาจทำให้วัคซีนเสื่อมคุณภาพหรืออาจจะไม่สามารถกระตุ้นให้สัตว์สร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ดีพอตามที่ต้องการ

 

 

 

ระยะเวลาการสร้างภูมิคุ้มกันหลังจากฉีดวัคซีน 


ประมาณ 3 สัปดาห์ ดังนั้นในช่วงสัตว์ยังไม่มีภูมิคุ้ม จึงจำเป็นต้องป้องกันสัตว์ติดเชื้อโดยใช้ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ เช่น การกางมุ้ง, ใช้ยาไล่แมลง, ยาฆ่าแมลง

 

 

 

ฟาร์มที่กำลังเกิดโรค จะได้ฉีดวัคซีนหรือไม่


ไม่ควรฉีด เนื่องจากหากสัตว์ติดเชื้อแล้วแต่ยังไม่แสดงอาการ เมื่อฉีดวัคซีนแล้ว จะทำให้สัตว์แสดงอาการป่วยภายหลังจากฉีดได้ 
นอกจากนี้หากมีการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมของเชื้อจากวัคซีนกับเชื้อในพื้นที่อาจจะส่งผลให้เกิดการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสได้ 

 

 

 

สัตว์ที่หายป่วยแล้ว จะต้องฉีดวัคซีนหรือไม่


ยังไม่จำเป็นต้องฉีด เนื่องจากสัตว์ที่หายป่วยแล้ว ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคที่ป้องกันโรคได้ เป็นระยะเวลานานกว่า 150 วัน (5 เดือน)

 

 

 

ฉีดวัคซีนครั้งที่ 1 แล้ว ต้องฉีดวัคซีนอีกบ่อยแค่ไหน


ตามเอกสารแนะนำของวัคซีน ให้ฉีดปีละ 1 ครั้ง แต่จะประเมินตามสถานการณ์การระบาดของโรคในพื้นที่อีกครั้ง 

 

 

 

หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว ต้องมีวิธีการหลักปฏิบัติอย่างไร


1.งดนำสัตว์เข้าโรงงานเพื่อนำไปบริโภคเป็นระยะเวลา 21 วัน 


2.งดเคลื่อนย้ายออกจากฟาร์มเป็นระยะเวลา 1 เดือน 


3.ป้องกันและลดแมลงพาหะ (แมลงดูดเลือด) ในฟาร์ม โดยการกางมุ้ง/ยาไล่แมลง/ยาฆ่าแมลง

 

 


ผลข้างเคียงหลังจากฉีดวัคซีน


อาจทำให้มีไข้ เป็นตุ่มนูนที่ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลืองบวม มีน้ำมูก น้ำตาไหล ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นอาการป่วยที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการฉีดวัคซีน และอาจทำให้น้ำนมลดได้ 

 

 


ข่าวดี! ไทยอาจมีวัคซีนโรคลัมปี สกิน


กรมปศุสัตว์ได้มีการนำเขื้อไวรัส ที่มีการระบาดในประเทศไทยสำหรับใช้ในการผลิตวัคซีน ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อความมั่นคงทางวัคซีน โดยกรมปศุสัตว์ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัย ทดลองทำวัคซีน โดยจะผลิตวัคซีนต้นแบบได้ในต้นเดือนกรกฎาคม และจะทดสอบเรื่องคุณภาพและประสิทธิภาพในเดือนสิงหาคม รวมทั้งการผลิตวัคซีนจากพืชที่จะทดสอบได้ในอีก 2 เดือน

 

 


วัคซีนโรคลัมปี สกินได้ฉีดฟรี!


การฉีดวัคซีนโรคลัมปี สกินให้กับโค - กระบือ เป็นมาตรการช่วยเหลือของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น โค - กระบือทุกตัวในพื้นที่การระบาด จะได้รับการฉีดให้ฟรี ดังนั้นหากพบการเรียกร้องค่าใช้จ่าย ขอให้แจ้งมาที่กรมปศุสัตว์โดยตรงเพื่อดำเนินการจัดการด้วยมาตรการขั้นเด็ดขาด

 

 


การจัดสรรวัคซีน


แนวทางการใช้วัคซีนลัมปี สกิน จะนำไปฉีดให้กับโค - กระบือของเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดเป็นหลักก่อน โดยต้องฉีดรอบจุดเกิดโรคเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของโรค และเป็นไปตามหลักวิชาการ 

 

 

ปัจจุบันวัคซีนลัมปีสกินยังไม่มีการขึ้นทะเบียนกับ อย. การนำเข้า กรมปศุสัตว์จึงจะทำหน้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่กลุ่มเกษตรกร สมาคมผู้เลี้ยงโค-กระบือ หรือภาคเอกชน ซึ่งขณะนี้ได้มีการกำหนดขั้นตอนปฏิบัติและรายละเอียดต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

 

 

ภาคเอกชนนำเข้าเองได้


กรมปศุสัตว์จะทำหนังสือถึง อย. ขอผ่อนผันการนำเข้าวัคซีนที่มีทะเบียนในต่างประเทศ แต่ยังไม่ขึ้นทะเบียนในประเทศไทย โดยกรมปศุสัตว์จะมอบหมายอำนาจให้ผู้ประสงค์นำเข้าเป็นผู้ดำเนินการนำเข้าวัคซีน เมื่อได้รับการผ่อนผันจาก อย. ให้ผู้ประสงค์นำเข้า ดำเนินการสั่งวัคซีนและชำระค่าวัคซีนโดยตรงกับผู้ขายวัคซีนในต่างประเทศและดำเนินการขออนุญาตนำเข้าวัคซีนและขอหนังสือรับรองรุ่นการผลิต (Lot Release) จาก อย.ด้วย วัคซีนดังกล่าวจึงจะสามารถนำมาใช้ในการฉีดป้องกันโรคได้

 


แต่ทั้งนี้ การนำวัคซีนไปใช้ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมปศุสัตว์ โดยต้องเป็นไปตามระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการฉีดวัคซีนโรคลัมปี สกินในสัตว์ชนิดโค กระบือ พ.ศ. 2564

 

 


ระวัง! วัคซีนของปลอม แนะวิธีสังเกต


วัคซีนที่มีการโฆษณาขายขณะนี้ ยังไม่ผ่านการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. จัดเป็นการโฆษณายา โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นวัคซีนเถื่อนที่มีการลักลอบนำเข้า หากเกษตรกรหลงเชื่อและนำมาใช้จะยิ่งส่งผลเสียให้กับเกษตรกร เพราะนอกจากต้องเสียเงินในการซื้อเป็นจำนวนมากแล้ว ยังอาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการทำให้โรคลัมปี สกิน เกิดการระบาดเป็นวงกว้างมากขึ้น และอาจนำไปสู่การกลายพันธุ์ 

 

 

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555 กำหนดให้ วัคซีนสำหรับมนุษย์และวัคซีนสำหรับสัตว์ ต้องได้รับหนังสือรับรองรุ่นการผลิตก่อนออกจำหน่าย หรือ ส่งมอบให้ผู้ใช้ นอกจากนี้พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 กำหนดให้ผู้ผลิตและนำเข้าวัคซีนสำหรับมนุษย์และสัตว์ ต้องมีใบอนุญาตและนำวัคซีนมาขึ้นทะเบียนในประเทศไทย โดยทุกครั้งที่มีการผลิต หรือ นำเข้าวัคซีน ที่ผ่านการพิจารณาขึ้นทะเบียน และได้รับเลขทะเบียนตำรับยา จาก อย. ต้องได้รับหนังสือรับรองรุ่นการผลิตก่อนนำออกจำหน่าย หรือ ส่งมอบให้ผู้ใช้ด้วย เนื่องจากกระบวนการผลิตวัคซีนมีความซับซ้อนสูง หากมีข้อบ่งพร่องจะส่งผลต่อความปลอดภัย และประสิทธิภาพ ของวัคซีนที่นำมาใช้

 

 

ในประเทศไทย มีกรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานเดียว ที่รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ให้สามารถนำเข้าวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกิน ได้ถูกต้องตามกฎหมาย

 

 

วัคซีนที่ถูกต้อง

 

 

 

วัคซีนเถื่อน

 

 

 

 

 

ข้อมูลจาก  กรมปศุสัตว์ , ราชกิจจานุเบกษา

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง