เช็ก! ประสิทธิภาพ “วัคซีนโนวาแวกซ์” (Novavax) ที่ “หมอบุญ” ดีลร่วมไบออนเทค 20 ล้านโดส
หมอบุญใจดี! สั่งซื้อวัคซีน mRNA ทั้งโนวาแวกซ์-ไบออนเทค ถึง 20 ล้านโดส คาดเจรจาเสร็จสัปดาห์นี้ แต่ต้องให้นายกฯเห็นชอบด้วย โดยคาดว่าจะเข้ามาไทยในเดือนกรกฎาคม 2564 ถือเป็นข่าวดีในการมีวัคซีนชนิด mRNA เพิ่มให้คนไทย
นพ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการบริษัทธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ระบุ เตรียมร่วมกับหน่วยงานรัฐ สั่งซื้อวัคซีนชนิด mRNA ของไบออนเทคของเยอรมัน และโนวาแวกซ์ ของสหรัฐอเมริกา โดยกำลังเจรจาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้กระทรวงต่างประเทศช่วยประสานงาน โดยเหลืออีก 3-4 ขั้นตอน คาดจะเร่งให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้ ซึ่งจะสั่งซื้อวัคซีนไบออนเทคจำนวน 10 ล้านโดส และวัคซีนโนวาแวกซ์ 10 ล้านโดส รวมทั้งหมด 20 ล้านโดส
แต่ในขั้นตอนการสั่งซื้อวัคซีน mRNA ทั้ง 2 ยี่ห้อ ต้องให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เห็นชอบด้วยถึงจะจัดซื้อได้ตามกำหนด
วันนี้ TrueID จึงไม่พลาดพาทุกคนไปเช็กประสิทธิภาพวัคซีน mRNA “โนวาแวกซ์” 1 ใน วัคซีนที่หมอบุญ สั่งซื้อเข้าไทย ว่ามีอะไรน่าสนใจจนต้องฉีดสักเข็มกันบ้าง ไปดูเลย
วัคซีนโนวาแวกซ์ (Novavax)
วัคซีนโควิดโนวาแวกซ์ (Novavax) หรือ NVX-CoV2373 ได้รับการคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัทโนวาแวกซ์ อิงค์ หนึ่งในผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา วัคซีนโนวาแวกซ์ ที่ผลิตในอินเดีย จะใช้ชื่อว่า โคโวแวกซ์ (Covovax) อาจได้รับอนุญาตให้ใช้ในอินเดีย ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนนี้ ซึ่งจะกลายเป็นวัคซีนตัวที่ 5 ในประเทศอินเดีย
เทคโนโลยีการผลิตใช้โปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อโคโรน่าไวรัส (Protein Subunit Vaccine) ให้ประสิทธิผลในการป้องกันโควิด-19 ใกล้เคียงกับวัคซีนชนิด mRNA เช่น ใช้โปรตีนส่วนหนามของไวรัสมารวมกับสารกระตุ้นภูมิต้านทาน เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนตีบอดีต่อต้านโปรตีนสไปค์ของไวรัสโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับการผลิตวัคซีนโรคไอกรน และงูสวัด ด้วยวิธีนี้จะสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้มากกว่า 3,000 titers หรือหน่วยวัดปริมาณภูมิต้านทานที่สูงที่สุด เมื่อเทียบกับวัคซีนเทคโนโลยีแบบไวรัลเว็กเตอร์ของแอสตร้าเซนเนก้า ที่กระตุ้นได้ 200 ไตเตอร์ และยังมากกว่าเทคโนโลยีแบบ mRNA ที่กระตุ้นได้ที่กว่า 300 ไตเตอร์
นอกจากนั้นวัคซีนโนวาแวกซ์ยังเป็นหนึ่งในวัคซีนหลักของโครงการโคแวกซ์ (COVAX) ในการกระจายวัคซีนให้ประเทศที่มีร้ายได้น้อยและปานกลางทั่วโลก โดยโนวาแวกซ์ตกลงจะผลิตวัคซีนโควิด 1.1 พันล้านโดสให้กับโครงการ
วัคซีนโนวาแวกซ์ต้องฉีดกี่เข็ม
ต้องฉีด 2 เข็ม ระยะห่างกัน 21 วัน หรือห่างกัน 3 สัปดาห์
การเก็บรักษา
วัคซีนโควิดโนวาแวกซ์ สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นปกติ อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียสได้ 3- 6 เดือน ทำให้เก็บรักษาและกระจายไปสู่พื้นที่ต่างๆ ได้ง่ายกว่าวัคซีน mRNA อย่างไฟเซอร์และโมเดอร์นาที่ใช้กันอยู่ในเวลานี้
ใครบ้างต้องฉีดวัคซีนโนวาแวกซ์
วัคซีนโควิดโนวาแวกซ์สามารถฉีดได้ในผู้มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป ส่วนคำแนะนำในประเทศไทยยังไม่มีการชี้แจงเพิ่มเติม เนื่องจากยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจานำเข้าวัคซีนอยู่
ประสิทธิภาพวัคซีนโนวาแวกซ์
วัคซีนโควิดโนวาแวกซ์เริ่มการศึกษาทดลองระยะแรกสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2020 และทำการศึกษาทดลองครั้งที่ 2 และ 3 ในหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย เม็กซิโก
ผลการทดลองฉีดวัคซีนในกลุ่มประชากรประเทศดังกล่าวพบว่า วัคซีนโควิดโนวาแวกซ์มีประสิทธิภาพในการต้านโควิดเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิม ทั้งอาการรุนแรง รุนแรงปานกลาง และรุนแรงมาก ได้มากถึง 96.4%
เมื่อ 14 มิถุนายน ทางบริษัทเปิดเผยการทดลองเฟสที่ 3 กับกลุ่มประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไปในสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก มีประสิทธิผล 90.4% ส่วนการทดสอบเฟสที่ 3 ในสหราชอาณาจักร ผลสามารถป้องกันโรคได้ 89.3%
วัคซีนโนวาแวกซ์ป้องกันโควิดกลายพันธุ์
ป้องกันสายพันธุ์อัลฟาได้ 86%
ป้องกันสายพันธุ์เบตาได้ 55%
ป้องกันสายพันธุ์ดั้งเดิม (อู่ฮั่น) ได้ 96.4%
ผลข้างเคียงวัคซีนโนวาแวกซ์
มีอาการปวดหัว อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และมีไข้เล็กน้อย ขณะที่มีอาสาสมัครเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่มีผลข้างเคียงขั้นรุนแรง
ผลข้างเคียงของโนวาแวกซ์ยังเกิดในอัตราที่น้อยกว่าวัคซีน mRNA ที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้แล้ว จากข้อมูล ผู้ได้รับวัคซีนโนวาแวกซ์เข็มที่ 2 มีอาการเหนื่อยล้า คิดเป็น 40% เปรียบเทียบกับโมเดอร์นาที่มี 65% ไฟเซอร์ 55% นอกจากนี้ผลการทดสอบในสหราชอาณาจักรยังบ่งชี้ว่าผลข้างเคียงเบากว่าด้วย
วัคซีนโนวาแวกซ์แตกต่างจาก ไฟเซอร์-โมเดอร์นาอย่างไร
1.สามารถป้องกันโควิดสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่ทั่วโลกกังวลได้ถึง 90%
2.สามารถกระต้นภูมิต้านทานได้มากกว่าวัคซีนเทคโนโลยีแบบไวรัลเว็กเตอร์ของแอสตร้าเซนเนก้า และยังมากกว่าเทคโนโลยีแบบ mRNA อย่างไฟเซอร์-โมเดอร์
3.ใช้เทคโนโลยีการผลิควัคซีนแบบเดิม ทำให้การกระจายวัคซีนเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ต้นทุนการผลิตไม่สูง
4.เก็บรักษาง่ายกระจายวัคซีนไปสู่ประเทศรายได้ปานกลางและน้อย รวมถึงพื้นที่ห่างไกล จึงทำได้ง่ายมากขึ้น
5.ผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนเกิดในอัตราที่น้อยกว่าวัคซีน mRNA ที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้แล้ว
วัคซีนโนวาแวกซ์ยังไม่ได้รับการอนุมัติจากองค์กรอนามัยโลก
วัคซีนโนวาแวกซ์เวลานี้อยู่ระหว่างกระบวนการยื่นขออนุมัติจากองค์การอนามัยโลกเพื่อใช้วัคซีนในกรณีฉุกเฉิน โดยสิงคโปร์เจรจาขอซื้อวัคซีนโนวาแวกซ์แล้วและได้รับวัคซีนล็อตแรกก่อนสิ้นปี 2021 นี้ ส่วนอินเดียและสหรัฐอเมริกาสั่งซื้อ 100 ล้านโดส สหราชอาณาจักร 60 ล้านโดส ออสเตรเลีย 51 ล้านโดส
ข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา , กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข , ศูนย์สุขภาพ HDMall , TNN , ไทยรัฐ , มติชน , ข่าวสด
-------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ไฟเซอร์มาไทยแน่! เจาะลึกประสิทธิภาพ "วัคซีนไฟเซอร์-Pfizer" ที่ใครๆก็อยากฉีด
- เช็ก! ประสิทธิภาพ “แอสตราเซเนกา” หลังลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้วพร้อมฉีดเลย
- ส่องวัคซีนโควิด-19 “โมเดอร์นา- Moderna” หลังอย.ขึ้นทะเบียนในไทยแล้ว!
- สำรวจผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” ที่ไม่ใช่ใครก็ได้ฉีด
- เช็ก! ประสิทธิภาพ “แอสตราเซเนกา” หลังลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้วพร้อมฉีดเลย
- รู้จัก “วัคซีนซิโนแวค” หลัง WHO รับรองใช้ป้องกันโควิด-19