รีเซต

ทำความรู้จัก Stable Coin คืออะไร มีกี่ประเภท มีเหรียญอะไรบ้าง

ทำความรู้จัก Stable Coin คืออะไร มีกี่ประเภท มีเหรียญอะไรบ้าง
TrueID
5 พฤษภาคม 2564 ( 08:50 )
2.1K
ทำความรู้จัก Stable Coin คืออะไร มีกี่ประเภท มีเหรียญอะไรบ้าง

ปัจจุบันการเทรดสินทรัพย์ทางดิจิตอลเปิดกว้างให้นักลงทุนชาวไทยได้ไปเก็งกำไรผ่าน  Exchange Platform ที่ผ่านการอนุมัติจากหน่วยงานของภาครัฐ และเมื่อไม่นานมานี้เรามักได้ยินคำว่าเหรียญ Stablecoin สิ่งนี้คืออะไร  trueID จะพาไปรู้จักกับเหรียญดังกล่าวว่าเป็นอย่างไร

 

 

Stablecoin คืออะไร

 

อธิบายในภาษาที่ง่ายที่สุด Stablecoin คือคริปโตเคอเรนซีประเภทหนึ่ง ที่สามารถคงมูลค่าไว้คงที่ตลอดเวลา หรือมูลค่าของมันนั้นจะใกล้เคียง คงที่ กับสิ่งที่ผูกเอาไว้ Backup เอาไว้ ถ้าสิ่งที่ Backup ราคาขึ้น Stablecoin ก็จะราคาขึ้น ถ้าสินทรัพย์ที่เอาเข้ามา Backup ราคาลดลง Stablecoin ก็จะราคาลดลงเช่นเดียวกัน

 

Stablecoin คือเหรียญสกุลดิจิทัลที่มีหลักการที่ทำให้ตัวเหรียญมันมีราคาที่นิ่งขึ้น ไม่แกว่งไปมามากตามความต้องการของตลาด จะสังเกตเห็นว่าตัวหลายๆเหรียญในตลาดคริปโตเคอเรนซี อาจมีการแกว่งวันหนึ่งหลายๆ 10% ได้เลยทีเดียว ตัว Stablecoin มีหลักการนี้เพื่อที่ว่าจะรักษาเสถียรภาพของราคาของเหรียญ ให้นิ่งขึ้นเพื่อที่ว่ามันจะได้มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น 

 

Stablecoin มีความมั่นคงไหม

 

Stablecoin ก็ไม่ได้มั่นคงเสมอไปเพราะสุดท้ายมันก็ถูกอ้างอิงมูลค่ากับเงินสกุลใดสกุลหนึ่งอยู่เหมือนกัน Stablecoin มีประโยชน์ในฐานะสินทรัพย์ทางการเงินที่สามารถใช้ประโยชน์ในระบบการเงินหลายๆรูปแบบได้ ซึ่งเงินตราในรูปแบบเก่าที่เรารู้จักนั้นระบบที่ช่วยเหลือเช่น E-Banking จะเป็นการโยกย้ายเงินที่มีอยู่จริงๆทำให้มันยังมีข้อจำกัดหลายอย่างที่ไม่สามารถสร้างนวัตกรรมทางการเงินที่ดีขึ้นได้ Stablecoin จึงเข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้เพราะมันเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่สามารถถูกเขียนโปรแกรมหรือใส่คำสั่งที่ซับซ้อนลงไปได้

 

 

Stablecoin มีกี่ประเภท?

 

การแบ่งประเภทของ Stablecoin นั้นจะถูกแบ่งตามสินทรัพย์ที่ถูกนำมารองรับหรือค้ำประกันให้ Stablecoin นั้นมีมูลค่าโดยมันแบ่งออกได้ดังนี้

 

  • Fiat – collateralized (รองรับด้วยเงินเฟียต)
  • Commodity – collateralized (รองรับด้วยสินค้าโภคภัณฑ์)
  • Crypto – collateralized (รองรับด้วย Crypto)
  • Non – collateralized (ไม่รองรับด้วยอะไรเลย)

 

Fiat – collateralized

การสร้าง Stablecoin ด้วยเงิน Fiat นั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายที่สุด  คือการนำเงิน Fiat นั้นไปฝากไว้ที่ใครซักคนหนึ่งและคนๆนั้นออกเหรียญโดยอ้างอิงกับสินทรัพย์ที่รองรับ (ซึ่งอาจจะเป็นสินทรัพย์หลายอย่าง) ซึ่งข้อดีคือวิธีการเป็นวิธีที่ง่ายตรงไปตรงมาใครๆก็สามารถทำได้เพียงแค่สามารถสร้างตัวกลางที่น่าเชื่อถือได้ แต่ข้อเสียที่ร้ายแรงคือการสร้างตัวกลางที่น่าเชื่อถือนั้นมีต้นทุนที่มหาศาลมาก ไหนจะการจ้าง Audit หรือ Custodian ที่มีความน่าเชื่อถือและโปร่งใสมาก พอเงินทุนเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆและยิ่งมูลค่าของเงินที่ผลิตออกมามากขึ้นก็ยิ่งต้องการความน่าเชื่อถือที่มาพร้อมกับต้นทุนที่มากขึ้นเรื่อยๆ

 

Commodity – collateralized

Commdity นั้นหมายถึงสินค้าโภคภัณ์ต่างๆ ซึ่งวิธีนี้จะคล้ายคลึงกับ Fiat – collateralized ที่ต้องมีหน่วยงานกลางในการดูแล Stablecoin เหล่านี้อย่างไรก็ตามสินทรัพย์ที่ใช้ในการรองรับนั้นอาจจะเป็นอะไรก็ได้ไม่ว่าจะ ทองคำ น้ำมัน ที่ดิน หรือแม้สินทรัพย์ประเภทอื่นไม่ว่าหุ้นตราสารหรือกองทุนก็ตาม อย่างไรก็ตาม Stablecoin ประเภทนี้ยังไม่ได้รับการยอมรับมากเท่าที่ควรจากเมื่อเทียบกับ Fiat – collateralized รวมไปถึงหลักเกณในการทำให้สินทรัพย์กลายเป็นเหรียญนั้นมีข้อขัดแย้งกับกฎหมายหลักทรัพย์ในหลายๆประเทศ

 

Crypto – collateralized

การใช้ Crypto ในการรองรับ Stablecoin จะมีข้อเด่นตรงที่ระบบที่ถูกสร้างนั้นจะมีความเป็น Decentralized ที่ไม่อ้างอิงกับตัวกลางใดๆทำให้ระบบมีความน่าเชื่อถือได้ด้วยตัวมันเอง โดยวิธีการสร้างเหรียญ Stablecoin ประเภทนี้ผู้ใช้งานจะต้องใส่ Crypto ที่มีมูลค่ามากกว่า Stablecoin ที่ถูกสร้างออกมาเสมอๆเนื่องจากราคาของ Cryptocurrency นั้นมีความผันผวนค่อนข้างมาก และหากมูลค่า Crypto ที่ค้ำประกันไว้มีมูลค่าลดลงก็อาจจะเกิดการตัดเงินทันที เช่น ถ้าเราเอา Ether ที่มีมูลค่า 400 USD จำนวน 1 ETH ค้ำประกันและระบบกำหนดว่าสามารถสร้าง Stablecoin ในอัตราส่วน ¾ ได้นั้นเท่ากับว่าผู้ใช้งานจะได้ Stablecoin ที่มีมูลค่า 300 ดอลลาร์ และระบบจะมีจำนวนขั้นต่ำในการตัดบัญชีเสมอๆเช่นหาก Ether มีมูลค่าลดลงเหลือ 200 ดอลลาร์ หากผู้ใช้งานไม่ฝากเงินเพิ่มเข้าไปในระบบเงินค้ำประกันผู้ใช้งานก็จะถูกตัดไป

 

Non – collaterlized

รูปแบบสุดท้ายคือการที่ Stablecoin นั้นไม่ได้ไม่ได้รองรับด้วยอะไรเลย ซึ่งมันอาจจะฟังดูแปลกๆแต่สิ่งที่น่าสนใจคือมันเป็นรูปแบบที่คล้ายคลุึงกับเงินปัจจุบันมากที่สุด ปัจจุบันการควบคุมมูลค่าของเงินตราในปัจจุบันอย่างเงินบาทหรือดอลลาร์จะใช้วิธีการปรับลดดอกเบี้ยหรือปรับลดอุปทานของเงิน ไม่ได้เกิดจากการนำ Asset ใดมาใช้ในการผลิต เงินตราปัจจุบันถูกค้ำประกันโดยระบบไม่ใช่สินทรัพย์ที่จับต้องได้ เช่นหากเหรียญนั้นมีมูลค่าในตลาดอยู่ที่ 2 ดอลลาร์ ระบบจะทำการเสกเหรียญขึ้นมาในระบบเพื่อทำให้ราคาของเหรียญลดลงเหลือ 1 ดอลลาร์

 

 

Stablecoin ที่นิยมมีอะไรบ้าง

 

  • USDT หรือ Tether ที่เป็น Stablecoin ที่มีมูลค่าอันดับ 1 ของตลาด Crypto 
  • TUSD เป็นอีก Stablecoin ที่มีแนวคิดแบบเดียวกับ USDT แต่จุดที่แตกต่างกันคือเงินที่สำรองไว้นั้นจะถูกเก็บโดยธนาคารหรือบริษัทต่างๆที่มีความน่าเชื่อถือ
  • Gemini และ Paxos เป็น Stablecoin ที่ได้รับการรองรับจาก NYDFS ซึ่งเป็น Stablecoin ที่มีการกำกับดูแลจากหน่วยงานรัฐบาลของอเมริกาอย่างถูกต้อง
  • Libra เองก็เป็น Stablecoin ประเภทนี้แม้ปัจจุบันยังไม่มีการเปิดตัวแต่จากข้อมูลที่เปิดเผยออกมามันจะถูกรองรับด้วยตระกร้าของสกุลเงินหลายๆสกุล
  • Digix Gold เป็น Stablecoin ที่ 1 DGX จะมีมูลค่าเท่ากับทองคำ 1 กรัมของทองคำซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ที่สิงคโปร์โดยมีการ Audit ความโปร่งใสทุกๆ 3 เดือน โดยสามารถนำเหรียญไปแลกทองคำจริงๆได้ที่สิงคโปร์
  • Tiberius Coin (TCX) เป็น Stablecoin ที่ไม่ได้ถูกรองรับด้วยสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งแต่เป็นโลหะชนิดต่างๆที่ใช้ในการผลิตอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์
  • Omtoken เป็น Stablecoin ของคนไทยยังไม่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการแต่มีแนวคิดที่จะรองรับด้วยสลากออมทรัพย์
  • BitUSD เป็น Stablecoin แบบ Crypto – collaterlized ตัวแรกของโลกซึ่งมาจากโปรเจคต์ของ BitShare ในปี 2014 ก่อนจะถูกเปลี่ยนเป็น SteemUSD ใน Steem ที่หลัง อย่างไรก็ตาม BitUSD กลับไม่ได้รับความนิยมมากเท่าไหร่
  • Dai เป็น Stablecoin จากโปรเจคต์ MakerDAO ที่มำงานอยู่บน Ethereum โดยผู้ใช้งานสามารถใช้ Erc-20 Token ใดๆก็ตามที่ MakerDAO ยอมรับในการค้ำประกับมูลค่าเพื่อถอน DAI ออกมาการเพิ่มลดเหรียญ DAI จะถูกควบคุมโดย Smart contrart ซึ่งถูกกำกับจากผู้ถือเหรียญ MKR อีกทีหนึ่งโดยจำนวนเหรียญของ DAI จะถูกควบคุมโดย MakerDAO ที่จะคอยปรับลดดอกเบี้ยของเหรียญ DAI เพื่อไม่ให้เหรียญเกิดการเฟ้อ
  • Basis เป็น Cryptocurrency ที่ใช้อัลกอริทึ่มในการปรับ supply ของเหรียญในการทำให้ เหรียญมีมูลค่าคงที่

 

 

ภาพ Stablecoin จาก Bitkub

 

 

ประโยชน์และข้อจำกัดของ Stablecoin

ประโยชน์ของ การมี Stablecoin คือการที่ผู้คนนั้นสามารถมีสิทธิในการเลือกใช้เงิน ในปัจจุบันโลกเรามีสกุลเงินมากมายและผู้คนก็ไม่ได้มีอิสระเสรีในการเข้าถึงสกุลเงินที่มั่นคง ประเทศบางประเทศอย่างซิมบับเวหรือเวเนซูเอล่าผู้คนต้องใช้เงินที่เสื่อมมูลค่าลงทุกวันในการใช้จ่าย หากผู้คนสามารถเข้าถึง Stablecoin ที่ถูกออกแบบมาต่างกันนั้น แต่เท่ากับว่าผู้คนไม่จำเป็นต้องยืดติดกับเงินสกุลใดสกุลหนึ่งอีกต่อไป

 

ข้อจำกัดของ Stablecoin นั้นคือปัญหาเรื่องกฎหมายและการใช้งานเนื่องด้วยนโยบายการเงินนั้นเป็นอาวุธที่แต่ละประเทศใช้มาตลอดในการสร้างสงครามการค้าการที่ Stablecoin จะถูกยอมรับในวงกว้างโดยไม่มีอำนาจรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นสิ่งที่ยากมากๆ

 

 

ที่มา : TNN ช่อง16 , Blockchain review , wikipedia

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

เปิดเส้นทาง Dogecoin เหรียญคริปโตทะยานสู่ดวงจันทร์

Cryptocurrency Wallet หรือ กระเป๋าเงินคริปโต คืออะไร ?

ย้อนดูราคา "บิทคอยน์" ราชาแห่ง cryptocurrency

ข่าวที่เกี่ยวข้อง