รีเซต

รู้จัก "ยาห้าราก" สมุนไพรไทย ต้านไวรัสโควิด-19 ที่แพทย์แผนไทย ใช้รักษาตามอาการโควิด

รู้จัก "ยาห้าราก" สมุนไพรไทย ต้านไวรัสโควิด-19 ที่แพทย์แผนไทย ใช้รักษาตามอาการโควิด
Ingonn
18 มกราคม 2565 ( 11:58 )
35.4K
1
รู้จัก "ยาห้าราก" สมุนไพรไทย ต้านไวรัสโควิด-19 ที่แพทย์แผนไทย ใช้รักษาตามอาการโควิด

หลายคนคงเคยได้ยินสมุนไพร “ห้าราก” อยู่ในเกณฑ์การใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ตามแบบฉบับแพทย์แผนไทยอยู่บ่อยๆ แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า “ห้าราก” จริงๆหรือเป็นสมุนไพรอะไร หรือเป็นตำรับยาแพทย์ที่ผสมสมุนไพรอะไรหรือเปล่า วันนี้ TrueID จะพามารู้จักกับ “ห้าราก” สมุนไพรต้านไวรัสโควิดกัน

 

 

กรมกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้นำแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่ต้องรักษาอาการอยู่ที่บ้าน (Home Isolation) ด้วยการรักษาตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาและเข้าถึงบริการโดยเร็วที่สุด ซึ่งเป็นการส่งเสริมและพัฒนาภูมิปัญญาของชาติด้านการแพทย์แผนไทย ให้เป็นทางเลือกในการรักษาโควิด-19 ซึ่ง “ยาห้าราก” เป็นอีกตำรับยาแผนไทยสำคัญที่อยู่ในขั้นตอนการรักษาผู้ป่วยโควิดทุกระดับอาการ 

 

 


รู้จัก “ยาห้าราก”


ยาห้าราก ยาเบญจโลกวิเชียร ยาแก้วห้าดวง หรือยาเพชรสว่าง ทั้งหมดนี้เป็นชื่อของตำรับยาเดียวกัน ยาห้ารากเป็นตำรับยาแผนโบราณของไทยที่มีการใช้กันมานานแล้ว โดยมีสรรพคุณในการใช้แก้ไข้ กระทุ้งพิษ หรือถอนพิษต่างๆ ตำรับยาจะประกอบด้วยรากสมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ รากคนทา , รากชิงชี่ , รากเท้ายายม่อม , รากมะเดื่อชุมพร และรากย่านาง โดยใช้แต่ละรากหนัก 20 กรัม มาทำเป็นตำรับยาห้าราก โดยตำรับยาห้ารากจัดอยู่ในกลุ่มยาแก้ไข้ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้ในบัญชียาจากสมุนไพรที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิมในบัญชียาหลักแห่งชาติ

 

 

ภาพจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

 

สรรพคุณแต่ละราก ในตำรับยาห้าราก

 

รากชิงชี่ : รากแก้ไข้ โรคกระเพาะ ขับลม ขับปัสสาวะ รากและใบตำพอกแก้ฟกช้ำบวม

 


รากย่านาง : รากแก้ไข้ทุกชนิด สารสกัดจากรากต้านมาลาเรียชนิด “พัลชิพารัม”

 


รากเท้ายายม่อม : รากเป็นยาขับเสมหะ ดับพิษไข้ แก้ร้อนใน

 


รากคนทา : รากแก้ไข้ทุกชนิด สารสกัดจากรากและกิ่งมีฤทธิ์ต้าน “ฮีสตามีน” ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ เป็นหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล

 


รากมะเดื่อชุมพร : รากแก้ไข้พิษ ไข้กาฬ (ไข้ที่มีตุ่มที่อวัยวะภายใน หรือที่ผิวหนัง ซึ่งตุ่มอาจมีสีดำ) แก้ร้อนใน

 

 

 

สรรพคุณ “ยาห้าราก”


1บรรเทาอาการไข้


2.ลดการอักเสบ


3.แก้ปวด


4.มีฤทธิ์ต่อการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด


5.ต้านเชื้อมาลาเรีย


6.ต้านอนุมูลอิสระ


7.ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิวและหนอง


8.ยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินและเอนไซม์ไทโรซิเนส

 

 

 

ขนาดและวิธีใช้ “ยาห้าราก”

 

ชนิดผง


ผู้ใหญ่


รับประทานครั้งละ 1 - 1.5 กรัม ละลายน้ำสุก วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เมื่อมีอาการ

 

เด็ก อายุ 6 - 12 ปี


รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม - 1 กรัม ละลายน้ำสุก วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เมื่อมีอาการ

 

 

 

ชนิดแคปซูลและชนิดเม็ด


ผู้ใหญ่


รับประทานครั้งละ 1 - 1.5 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เมื่อมีอาการ

 


เด็ก อายุ 6 - 12 ปี


รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม - 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เมื่อมีอาการ

 

 

 

ข้อควรระวังในการใช้ยาห้าราก


1.ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก


2.หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์


3.ไม่แนะนำให้ใช้ในหญิงที่มีไข้ทับระดู หรือไข้ระหว่างมีประจำเดือน

 

 

 

การใช้ “ยาห้าราก” รักษาโควิด-19


1.กลุ่มผู้ป่วยไม่มีอาการ 


รับประทาน ยาห้าราก 1.0 – 1.5 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร 

 


2.กลุ่มมีอาการน้อย

มีอาการอ่อนเพลีย มึนงง คอแห้ง ไอเจ็บคอ มีน้ำมูก เบื่ออาหาร ปวดเมื่อย อุณหภูมิร่างกาย ต่ำกว่า 37.5 องศาเซลเซียส 


รับประทาน ยาห้าราก 1.0 – 1.5 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

 


3.กลุ่มมีอาการไข้

มีอาการไอ เจ็บคอ น้ำมูก ปวดเมื่อย ตัวร้อน อุณหภูมิร่างกาย 37.5 – 38.0 องศาเซลเซียส


รับประทาน ยาห้าราก 1.0 – 1.5 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

 

 

 

แต่อย่างไรก็ตาม การรับประทานสมุนไพรเพื่อสร้างภูมิต้านทาน หรือรักษาโควิด-19 ต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน เนื่องจาก การใช้สมุนไพรสำหรับผู้ป่วยโควิด ไม่ได้เน้นรับประทานเพียงแค่ “ยาห้าราก” เท่านั้น แต่ยังมียาอื่นเข้ามาร่วมในการรักษาด้วย เช่น ยาฟ้าทะลายโจร หรือยาเสริมรักษาตามสมุฎฐาน ได้แก่ ยาเขียวหอม , ยาจันทน์ลีลา  , ยาประสะจันทน์แดง , ยาหอมนวโกฐ , ยามันทธาตุ เป็นต้น ซึ่งยาสมุนไพรเหล่านี้ มีแนวทางการใช้ที่ชัดเจน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ คลิก

 

 

 


ข้อมูลจาก บัญชียาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ (พ.ศ.2556) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร , คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล , ศูนย์นวัตกรรมการแพทย์แผนไทย TTMIC , กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง