รีเซต

ข้อควรระวัง ข้อแนะนำ การใช้ "ฟ้าทะลายโจร"

ข้อควรระวัง ข้อแนะนำ การใช้ "ฟ้าทะลายโจร"
TrueID
29 กรกฎาคม 2564 ( 09:33 )
394

ในปัจจุบันมีการใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรในการรักษาอาการป่วยอย่างแพร่หลาย ยาฟ้าทะลายโจรมีสาร“แอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide)” มีส่วนช่วยยับยั้งการแพร่เชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยอาการไม่รุนแรงจึงสามารถใช้รักษาในอาการเบื้องต้นได้เท่านั้น การทานยาฟ้าทะลายโจรไม่สามารถป้องกันเชื้อโควิด-19 ได้ และมีข้อควรระวังในการรับประทานอีกด้วย วันนี้ trueID ได้นำข้อควรระวัง และข้อห้ามสำหรับการใช้ฟ้าทะลายโจรมาให้ทราบกันแล้ว

 

 

 

 

ฟ้าทะลายโจร สู้ไวรัสในระบบทางเดินหายใจ


จากการทบทวนงานวิจัยการใช้ฟ้าทะลายโจร พบ ข้อมูลดังต่อไปนี้


1. ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ต้านไวรัสที่ทําให้เกิดโรคในระบบ ทางเดินหายใจด้วย 4 กลไก ได้แก่ การป้องกันไม่ให้ไวรัส เข้าเซลล์ การลดการแบ่งตัวของไวรัส การเพิ่มภูมิคุ้มกัน และลดการอักเสบที่ปอด ซึ่งกลไกดังกล่าวเป็นการศึกษา ในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง


2. มีงานวิจัยในมนุษย์ว่าฟ้าทะลายโจรสามารถบรรเทา อาการหวัดและไข้หวัดใหญ่ได้ผลดี จึงถูกบรรจุอยู่ใน บัญชียาหลักแห่งชาติ ด้วยข้อบ่งใช้ บรรเทาอาการเจ็บคอ และบรรเทาอาการหวัด


3. งานวิจัย Andrographis paniculata (Chuan Xin Lian) for symptomatic relief of acute respiratory tract infections in adults and children: A systematic review and meta-analysis ที่ตีพิมพ์ในปี 2017 ที่รวบ รวมงานวิจัยของฟ้าทะลายโจรทั้งชนิดเดียวและตํารับ พบว่า มีการวิจัยในคน ทั้งหวัด ไข้หวัดใหญ่ ไซนัสอักเสบ รวมทั้ง ปอดบวม (การวิจัยปอดบวมมี 1 ชิ้น)


เมื่อประเมินจากหลักฐานทางวิชาการ และความ จําเป็นทางการแพทย์ อาจนําฟ้าทะลายโจรมาใช้ร่วมกับ การรักษาผู้ป่วยโควิด-19 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ รักษา ภายใต้การดูแลของแพทย์ โดยเฉพาะในกรณีที่ ผู้ป่วยมีอาการคล้ายหวัด (flu like symptoms) โดยใช้ ในขนาด 6-12 มิลลิกรัม/วัน หรือเทียบเท่าสารสกัด แอนโดรกราโฟไลด์ 60-120 มิลลิกรัม/วัน (แบ่งให้ วันละ 4 ครั้ง)

 

การใช้เพื่อป้องกันยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน แต่หาก ผู้ป่วยมีอาการหวัดอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นไข้ ไอ เจ็บคอ ซึ่งยังไม่เข้าเกณฑ์ ผู้เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค หรือ patient under investigation (PUI) ก็สามารถใช้ ฟ้าทะลายโจรครั้งละ 1.5-3 กรัม วันละ 4 ครั้งได้ และ เมื่อหายแล้วสามารถหยุดยาได้ทันที

 

การทําให้ร่างกายแข็งแรงในคนทั่วไป สามารถใช้สมุนไพร ที่มีหลักฐานทางวิชาการในการเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยในขนาดต่ําๆ หรือในรูปแบบของอาหาร เช่น มะขามป้อม ชะเอม มะนาว กระเทียม หอมใหญ่ หอม พลูคาว สันพร้าหอม กะเพรา ตะไคร้ เป็นต้น การเก็บมาใช้

 

 

ข้อห้ามใช้

 

- ห้ามกินในหญิงมีครรภ์และให้นมบุตร

- ตําราจีนกล่าวไว้ว่า คนที่กระเพาะม้ามเย็นพร่อง ห้ามกิน ถ้าใช้จะเกิดอาการหน้ามืด วิงเวียน มึนงง ท้องอืด หากเกิดอาการข้างต้นควรหยุดยา แต่ถ้า ต้องการจะใช้ให้ลดปริมาณยาลง เช่น คนปกติกิน 3-4 เม็ด คนที่ความดันโลหิตต่ํา ก็ลดลงเหลือ 1-2 เม็ด หรือผสมพริกไทยเพื่อลดความเย็นของฟ้าทะลายโจร การผสมใช้ฟ้าทะลายโจร 1-1/2 ช้อนชา พริกไทย 1 ช้อนชา ผสมน้ําผึ้งหรือน้ําเชื่อมปั้นเป็นเม็ดเท่าเมล็ด ถั่วเหลือง กินครั้งละ 3-5 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อน อาหารหรือกินยาร้อนอื่นๆ เข้ามาช่วย เช่น ขิง ตะไคร้ กะเพรา เข้ามาช่วยด้วยก็ได้และ ไม่มีเอกสารอ้างอิง ในองค์ความรู้ดั้งเดิมแต่อย่างใดในการที่ห้ามกิน ฟ้าทะลายโจรเกิน 7 วัน เพียงแต่มีข้อแนะนําว่าไม่ควร กินฟ้าทะลายโจรในขนาดสูงๆ เป็นเวลานานเพราะ เป็นยาเย็นจัดเท่านั้น

 

 

ข้อควรระวัง


1. บางคนกินยานี้แล้วอาจจะเกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ปวดเอว เวียนหัว ปวดหัว ถ้ามีอาการเหล่านี้ เกิดขึ้นให้หยุดยา หรือ ลดขนาดของยาโดยทั่วไปเมื่อ หยุดยาแล้ว อาการเหล่านี้จะหายเองภายใน 1-3 วัน


2. เวลาเป็นไข้แล้วมีอาการหนาวเย็นหรือหนาวสะท้าน ถ้าจะกินฟ้าทะลายโจรต้องระวังให้มากเพราะเมื่อกิน เข้าไปอาจจะทําให้เกิดอาการหนาวสั่นมากขึ้นอีก เนื่องจากฟ้าทะลายโจรเป็นยาเย็นจัด


3. ควรระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาแผนปัจจุบัน เช่น วาร์ฟาริน แอสไพริน โคลพิโตเกรล ยาลดความดันโลหิต หรือปรึกษาแพทย์/เภสัชกรก่อนใช้

 


แก้ไข้หวัด


การใช้ฟ้าทะลายโจรที่ให้ผลดีและออกฤทธิ์ได้เร็ว ที่สุดในการแก้ไข้หวัด คือ ถ้าเริ่มรู้สึกว่าครั่นเนื้อครั่นตัว ทําท่าว่าจะเป็นไข้แล้ว รีบกินฟ้าทะลายโจรจะได้ผลดี ถ้าเป็นมา 2-3 วันแล้วค่อยมากินยาจะไม่ค่อยได้ผลหรือ ได้ผลน้อย

 

เมื่อเป็นหวัด รักษาร่างกายให้อบอุ่นพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ําอุ่นมากๆ สําหรับสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง คือ การดื่มของเย็น งดรับประทาน ของมัน และของหวาน เพราะทําให้เกิดเสมหะและไอมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปการดูแลรักษาตนเอง ตามวิธีดังกล่าวข้างต้น อาการจะดีขึ้นในเวลาเพียง 1-2 วัน หากอาการไม่ดีขึ้นใน 2-3 วัน โดยเฉพาะหากไข้ไม่ลด ไอเจ็บคอมากขึ้น เสมหะขั้น เหนียวและมีสีเหลืองหรือสีเขียว ควรรีบไปพบแพทย์

 

ข้อมูล : อภัยภูเบศร์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง