รีเซต

ปลูกผมด้วยเทคโนโลยี FUE ช่วยรักษาผมถาวร

ปลูกผมด้วยเทคโนโลยี FUE ช่วยรักษาผมถาวร
TNN ช่อง16
18 กรกฎาคม 2568 ( 11:56 )
29

เชื่อว่าหลายคนคงเคยรู้สึกว่าทำไมผมร่วงเยอะจังแค่หวีเบาๆหรือสระผมก็หลุดติดมือมาเป็นกำซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงานที่ต้องแบกรับทั้งภาระหน้าที่และความเครียดสะสมในแต่ละวันเพราะจริง ๆ แล้วความเครียดเป็นหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้เส้นผมหลุดร่วงเร็วกว่าปกติและนำไปสู่“ภาวะผมร่วง”ที่จะมีอาการผมร่วงอย่างต่อเนื่องและหากปล่อยไว้นานเกินไปรากผมอาจเสียหายถาวรและไม่สามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้ ส่งผลให้ผมน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดจนเป็น“ภาวะผมบาง”ดังนั้นถ้าไม่อยากผมบางจนเสียความมั่นใจ วันนี้ พญ.กรผกา ขันติโกสุม แพทย์ผู้ชำนาญการด้านผิวหนัง ศูนย์ผิวหนังและความงาม รพ.วิมุต จะมาเล่าถึงสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงมากผิดปกติและแชร์เทคนิคดูแลสุขภาพเส้นผมให้แข็งแรงขึ้น

ปัญหาใหญ่วัยทำงาน ยิ่งเครียด ผมยิ่งร่วง

หนึ่งในสาเหตุของปัญหาผมร่วงที่พบได้บ่อยและหลายคนมักมองข้ามคือความเครียดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนวัยทำงานอายุระหว่าง25-45ปีซึ่งเป็นช่วงที่ชีวิตเต็มไปด้วยแรงกดดันจากงานและหน้าที่รับผิดชอบส่งผลให้เกิดภาวะเครียดสะสมในบางรายที่มีภาวะเครียดเรื้อรังหรือมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วยอาจมีพฤติกรรมดึงผมตัวเองแบบไม่รู้ตัวหรือที่เราเรียกว่าโรคดึงผมตัวเอง (Trichotillomania) ซึ่งอาจทำให้ผมบางเร็วขึ้น

 “นอกจากความเครียดยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้ผมร่วงได้เช่นภาวะผมบางจากพันธุกรรม (Androgenetic Alopecia)เกิดจากความไวของรากผมต่อฮอร์โมน DHT (Dihydrotestosterone) การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเช่นผู้หญิงหลังคลอดวัยหมดประจำเดือนหรือการใช้ยาคุมกำเนิดและยารักษาสิวส่วนอาหารการกินก็เกี่ยวถ้ามีการอดอาหาร ขาดธาตุเหล็กวิตามินD วิตามินB12 หรือโปรตีนก็อาจทำให้ผมอ่อนแอและหลุดร่วงง่ายในบางคนอาจมีพฤติกรรมทำร้ายเส้นผมเช่นนอนในขณะหัวชื้น หวีผมขณะผมเปียก มัดผมตึงเกินไปใช้สารเคมี ไดร์หรือหนีบผมด้วยความร้อนสูงเป็นประจำและยังมีโรคบางชนิดที่ทำให้ผมร่วงอย่างโรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) และผื่นเซ็บเดิร์มรวมทั้งผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางประเภทเช่นยาเคมีบำบัดหรือยาต้านการแข็งตัวของเลือดเช่นเดียวกับมลพิษทางอากาศการสูบบุหรี่ดื่มแอลกอฮอล์และการพักผ่อนไม่เพียงพอก็มีผลเสียต่อสุขภาพเส้นผมเช่นกัน”

เช็กด่วน!ผมร่วงแบบนี้พบแพทย์ทันที

หลายคนที่กังวลเรื่องผมร่วงมักสงสัยว่าผมร่วงเยอะแค่ไหนถึงต้องไปหาหมอ เพราะปกติเส้นผมก็ร่วงอยู่ทุกวันโดยทั่วไปผมของเราจะร่วงประมาณ 100 เส้นต่อวัน หรือมากถึง 200 เส้นในวันที่สระผมแต่ถ้ามีอาการผมร่วงอย่างชัดเจนเช่นผมติดหวีหรือหมอนเป็นจำนวนมากหรือหล่นบนพื้นห้องน้ำมากผิดปกติก็ถือเป็นสัญญาณแรกที่ไม่ควรมองข้ามพญ.กรผกาขันติโกสุม อธิบายว่า“เบื้องต้นสามารถเช็กความเสี่ยงได้ด้วยการใช้นิ้วมือสางผมเบา ๆหากมีผมหลุดมากกว่า2 เส้นหลายครั้ง ก็ควรเข้าไปรับคำปรึกษาจากแพทย์แต่เนิ่นๆส่วนในกรณีที่มีอาการรุนแรงเช่นผมร่วงเป็นหย่อมคลำเจอจุดหัวล้านมีอาการคันแสบหนังศีรษะแดงมีสะเก็ดหรือหนองร่วมด้วยผมร่วงรวดเร็วภายใน2–4 สัปดาห์มีบริเวณหัวล้านขยายกว้างขึ้นเรื่อย ๆหรือมีอาการผิดปกติอื่นร่วมด้วยเช่นเหนื่อยง่ายน้ำหนักลดหรือประจำเดือนขาดก็แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อรักษาทันที”

แนวทางการรักษาผมร่วง-บาง ในปัจจุบัน

ในปัจจุบันการรักษาปัญหาผมร่วงและผมบางได้รับการพัฒนาไปอย่างมากมีทั้งการรักษาด้วยยาและเทคโนโลยีใหม่ที่ให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพเบื้องต้นแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยา เช่น Minoxidil ซึ่งช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตบริเวณรากผมใช้ได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ส่วนอีกตัวคือ Finasteride ซึ่งเป็นยาลดระดับฮอร์โม นDHT ที่นิยมใช้ในผู้ชายเพื่อป้องกันผมร่วงจากพันธุกรรม หรืออาจรักษาด้วยวิธีการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP) และการฉายแสงสีแดง (Low-level laser therapy)เพื่อกระตุ้นให้รากผมกลับมาแข็งแรงขึ้น“การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมก็มีส่วนช่วยบ้าง แต่ต้องเลือกสินค้าที่มีมาตรฐานความปลอดภัยและสารประกอบสำคัญเช่นแชมพูที่มีKetoconazole ช่วยลดอาการอักเสบและต้านDHT หรือผลิตภัณฑ์ที่มีปาล์มเลื่อย(Saw Palmetto),ไบโอติน,วิตามินB และวิตามินEซึ่งช่วยบำรุงผมให้แข็งแรง อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์เหล่านี้ช่วยดูแลผมที่ยังมีอยู่เท่านั้นหากมีปัญหาผมร่วงรุนแรงหรือผมบางก็แนะนำให้ไปรักษากับแพทย์อย่างจริงจัง” พญ.กรผกาขันติโกสุมอธิบาย

เทคโนโลยีปลูกผมที่ช่วยรักษาผมถาวร

หากเส้นผมบางลงจนเห็นได้ชัดและรากผมเสียหายถาวรแพทย์อาจแนะนำให้ปลูกผมโดยเทคโนโลยีที่นิยมในปัจจุบันคือ FUE (Follicular Unit Extraction) ซึ่งใช้เครื่องมือขนาดเล็กย้ายรากผมจากท้ายทอยไปยังจุดที่มีปัญหาวิธีนี้แผลเล็กฟื้นตัวไวและดูเป็นธรรมชาติส่วน FUT (Follicular Unit Transplantation) แม้ได้รากผมจำนวนมากในครั้งเดียวแต่มีแผลใหญ่และพักฟื้นนานกว่าปัจจุบันยังมีงานวิจัยด้านสเต็มเซลล์และ 3D Hair Bioprinting ที่หากสำเร็จอาจช่วยสร้างรากผมใหม่ขึ้นมาได้

“เข้าใจว่าวัยทำงานที่ยังต้องเจอผู้คนมาก ๆ อาจรู้สึกอายและไม่มั่นใจจากภาวะผมร่วงและผมบางแต่คุณค่าของเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับเส้นผมเพียงอย่างเดียวและภาวะนี้ก็สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ โดยต้องเข้าใจอาการที่เกิดขึ้นและเริ่มปรับไลฟ์สไตล์ พักผ่อนให้พอ ออกกำลังกาย เน้นกินอาหารที่ช่วยบำรุงเส้นผม เช่น กล้วย ฝรั่ง ไข่แดง และอะโวคาโด รวมถึงผ่อนคลายลดความเครียดให้มาก ๆ ถ้าเกิดเริ่มมีอาการผมร่วงผิดปกติ ให้รีบมาปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะอาจเป็นสัญญาณภาวะผมร่วง ผมบาง และโรคอื่น ๆ จะได้ช่วยกันหาแนวทางรักษาที่เหมาะสมให้เรากลับมามั่นใจในตัวเองได้อีกครั้ง”พญ.กรผกาขันติโกสุมกล่าวทิ้งท้าย

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง