รีเซต

ถูกใจคนผมร่วง นักวิทยาศาสตร์ใช้ AI ช่วยออกแบบการรักษาอาการศีรษะล้าน

ถูกใจคนผมร่วง นักวิทยาศาสตร์ใช้ AI ช่วยออกแบบการรักษาอาการศีรษะล้าน
TNN ช่อง16
28 พฤศจิกายน 2565 ( 00:32 )
109

ผมร่วงเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาสำหรับผู้ชายและผู้หญิงหลายคน เนื่องจากทรงผมส่งผลต่อความมั่นใจในตนเอง บางคนอาจยอมรับกับผมร่วงได้ แต่บางคนก็พยายามหาวิธีต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหากวนใจนี้ ซึ่งดูเหมือนว่ากำลังจะมีวิธีใหม่มาช่วยแก้ปัญหานี้ได้ เมื่อนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อวิเคราะห์สารประกอบที่ต่อต้านออกซิเจนชนิดที่มีปฏิกิริยาที่ก่อให้เกิดศีรษะล้านและปรับสมดุลให้สภาพหนังศีรษะเป็นกลางได้ โดยสร้างแผ่นแปะไมโครนีดเดิล (Microneedle Patch) ที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถปลูกขนบนตัวหนูได้อย่างมีประสิทธิภาพ


คนส่วนใหญ่ที่มีปัญหาผมร่วงจำนวนมากมักจะมีภาวะผมร่วงแบบแอนโดรเจนิก (Androgenic Alopecia) ภาวะนี้เรียกอีกอย่างว่าศีรษะล้านเกิดขึ้นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ในสภาวะนี้รูขุมขนอาจได้รับความเสียหายจากแอนโดรเจน เช่น การอักเสบ หรือปริมาณออกซิเจนที่ทำปฏิกิริยามากเกินไป เช่น เมื่อระดับอนุมูลอิสระของออกซิเจนสูงเกินไปจนทำให้กระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระไม่ทำงาน ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้


ซูเปอร์ออกไซด์ ดิสมิวเตส (SOD) คือ 1 ในเอนไซม์ที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ โดยล่าสุดนักวิจัยได้สร้างสารเลียนแบบ SOD ที่เรียกว่า "นาโนไซม์" แต่ก็ยังไม่สามารถกำจัดอนุมูลอิสระของออกซิเจนได้ดีนัก ดังนั้น Lina Wang, Zhiling Zhu และเพื่อนร่วมทีมวิจัยจึงได้พัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่จะสามารถช่วยออกแบบและพัฒนานาโนไซม์ที่ดีขึ้นเพื่อใช้สำหรับการรักษาผมร่วง


นักวิจัยเลือกสารประกอบไทโอฟอสเฟตของโลหะทรานซิชัน (Transition-Metal Thiophosphate) พวกเขาทดสอบกระบวนการเรียนรู้ของระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้วยส่วนผสมของโลหะทรานซิชัน ฟอสเฟต และซัลเฟตที่แตกต่างกัน 91 ชนิด โดยได้สารประกอบ MnPS3 ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายซูเปอร์ออกไซด์ ดิสมิวเตส (SOD) เอนไซม์ที่มีศักยภาพมากที่สุด ต่อมาแผ่นนาโน MnPS3 ได้ถูกสังเคราะห์ผ่านเคมีของแมงกานีส (manganese) ฟอสฟอรัสแดง (Red Phosphorus) และผงกำมะถัน ซึ่งในการทดสอบครั้งแรกกับเซลล์ไฟโบรบลาสต์ (Fibroblast Cells) ที่ผิวหนังของมนุษย์ แผ่นนาโนสามารถลดระดับออกซิเจนที่ทำปฏิกิริยาลงได้อย่างมากโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย


จากผลลัพธ์เหล่านี้ ทีมงานได้เตรียมแผ่นแปะไมโครนีดเดิล (Microneedle Patch) และหนูทดลองที่ได้รับผลกระทบจากแอนโดรเจนิก สัตว์เหล่านี้ได้สร้างเส้นขนใหม่ที่หนาขึ้นปกคลุมบริเวณที่ขนหายไป ภายใน 13 วัน เมื่อเปรียบเทียบแล้วมีการสร้างขนใหม่ที่หนาแน่นกว่าหนูที่ได้รับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนหรือไมน็อกซิดิล นักวิจัยกล่าวว่าการศึกษาครั้งนี้ได้คิดค้นการรักษาด้วยนาโนไซม์เพื่อสร้างเส้นผมใหม่ และชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของวิธีการที่ใช้เทคโนโลยีมาช่วยเพื่อใช้ในการออกแบบการบำบัดอาการศีรษะล้านด้วยนาโนไซม์ในอนาคต


ที่มาของข้อมูล scitechdaily.com 

ที่มาของรูปภาพ en.wikipedia.org/wiki/Hair


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง