ผลการศึกษาใหม่พบ "การใช้เทคโนโลยีส่งผลต่อสุขภาพจิตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น"
TNN ช่อง16
11 พฤษภาคม 2564 ( 00:17 )
84
ผลการศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ที่ได้มีการวิเคราะห์และเก็บข้อมูลมานานกว่า 30 ปี เพื่อติดตามความสัมพันธ์ระหว่างการใช้งานเทคโนโลยีของคนหนุ่มสาว กับสุขภาพจิตของพวกเขา ตั้งแต่การดูโทรทัศน์ไปจนถึงการใช้โซเชียลมีเดียบนสมาร์ทโฟน ผลการศึกษาดังกล่าวพบว่า "มีความสัมพันธ์กันเพียงเล็กน้อยหรือแทบจะไม่มีเลย"
- หากเราต้องการที่จะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน เราจำเป็นต้องย้อนกลับไปดูข้อมูลในอดีต เพื่อนำปัญหาและข้อกังวลสมัยนั้นกลับมาวิเคราะห์ร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น สมัยก่อนมีการกังวลว่าถ้าเด็กดูทีวีมากไป เด็ก ๆ อาจมีดวงตาที่กลายเป็นสี่เหลี่ยมได้ เป็นต้น
- ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 วิทยุเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมมาก ๆ ในช่วงกลางทศวรรษของปี 1930 เก้าในสิบบ้านมีวิทยุเป็นของตนเอง และเด็กในยุคนั้น ก็ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนั่งฟังวิทยุมากถึง 3 ชั่วโมงต่อวัน นั่นทำให้ผู้ปกครองในขณะนั้นเริ่มกังวลว่า การฟังวิทยุมากเกินไป อาจเป็นอันตรายต่อเด็ก และตัวผู้ปกครองเองก็ไม่สามารถทำอะไรได้
- ความนิยมของหนังสือการ์ตูน ทีวี และเกม ล้วนมีการเติบโตและความกังวลเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันกับกรณีของวิทยุ ซึ่งความกังวลดังกล่าวก็ไม่ได้มีมูลความจริงใด ๆ อยู่เลย
- การศึกษาใหม่ ที่ได้รับการวิเคราะห์และเก็บข้อมูลมานานมากถึง 30 ปี ได้ครอบคลุมการศึกษาทั้งหมด 3 รายการ สำหรับเพื่อที่จะศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อวัยรุ่นว่ามีมากขึ้นรึเปล่า เมื่อเทียบกับการใช้เทคโนโลยีที่มากขึ้น โดยการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลและโซเชียลมีเดียของวัยรุ่นในยุคปัจจุบัน ได้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับการดูทีวีในช่วงปี 1990 และต้นปี 2000 พบว่า "มีหลักฐานที่ยืนยันข้อเท็จจริงได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ที่แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตของเยาวชนมากขึ้น"
- "มีหลักฐานที่ยืนยันข้อเท็จจริงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ที่บอกว่าการใช้โซเชียลมีเดียเชื่อมโยงกับปัญหาทางด้านอารมณ์ ที่เพิ่มขึ้นของคนหนุ่มสาวในปัจจุบัน"
- เมื่อเทียบกับข้อมูลเหล่านี้แล้ว พบว่า "ความสัมพันธ์ในการใช้เทคโนโลยีกับโรคซึมเศร้า มีส่วนที่เกี่ยวข้องกันน้อยลง"
- Andrew Przybylski ผู้อำนวยการของ Oxford Internet Institute และนักเขียนอาวุโสในด้านกับการศึกษาใหม่ ๆ ได้ทำการวิจัยผลกระทบของเทคโนโลยียุคใหม่ที่มีต่อสุขภาพจิตมาเป็นระยะเวลานานหลายปี โดยผลงานก่อนหน้านี้ของเขาพบว่า "การอยู่กับหน้าจอดิจิทัลนาน ๆ มีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของวัยรุ่น หรือการนอนหลับของเด็ก ๆ"
- ในเรื่องการอยู่กับหน้าจอดิจิทัลนาน ๆ ตัว Andrew Przybylski แนะนำว่าไม่ควรไปห้าม เรื่องการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลของวัยรุ่น แต่ควรเน้นไปที่เรื่องของการใช้เทคโนโลยีมากกว่า
ทั้งนี้ทั้งนั้น มันก็ยังเร็วเกินไปที่จะตัดสินได้ว่าเทคโนโลยี ไม่ได้ส่งผลอะไรต่อสุขภาพจิต เพราะยิ่งเวลาผ่านไปมากเท่าใด ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์จะเป็นตัวชี้วัดเองได้ว่า มันส่งผลจริง ๆ หรือเปล่า
แหล่งที่มา oii.ox.ac.uk