รีเซต

รอเตียงนาน! ติดโควิดต้องนอนอย่างไรไม่ให้รู้สึกเหนื่อย หายใจลำบาก ทำได้เองที่บ้าน

รอเตียงนาน! ติดโควิดต้องนอนอย่างไรไม่ให้รู้สึกเหนื่อย หายใจลำบาก ทำได้เองที่บ้าน
Ingonn
5 กรกฎาคม 2564 ( 12:36 )
1.4K
รอเตียงนาน! ติดโควิดต้องนอนอย่างไรไม่ให้รู้สึกเหนื่อย หายใจลำบาก ทำได้เองที่บ้าน

 

ในช่วงที่โควิด-19 กำลังระบาดอย่างหนัก อาจทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด ต้องนอนอยู่บ้านรอรถพยาบาลมารับไปรักษา ซึ่งระหว่างการนอนรอเตียง อาจเกิดอาการเหนื่อย หอบ หายใจลำบากได้ เนื่องจากโรคนี้มีผลโดยตรงกับปอด เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ ดังนั้นหากหายใจไม่สะดวกสามารถปรับด้วยท่านอนระหว่างรอเตียง

 

 

วันนี้ TrueID ได้รวบรวมข้อมูลท่าการนอนที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 เพื่อให้การหายใจสะดวกสบายขึ้น ไม่รู้สึกเหนื่อยต่อการนอนรอเตียง

 

 

การนอนที่ช่วยให้ผู้ป่วยโควิดหายใจสะดวก


ผู้ป่วยกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน หรือ ARDS (Acute Respiratory Distress Syndrome) เช่น เช่น โรคปอดอักเสบ โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคโควิด-19 ไม่ใช่วิธีการรักษาแบบใหม่ แต่การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการนอนคว่ำมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากโรคโควิด-19 เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจโดยตรง โดยจำแนกผู้ป่วยออกเป็น 2 ระยะ

 

 

1.ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ยังสามารถหายใจได้ด้วยตนเอง


เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะออกซิเจนต่ำ ใช้ออกชิเจนในอัตราไหลสูง หรือใช้เครื่องช่วยหายใจที่ยังไม่ถึงขั้นต้องใส่ท่อช่วยหายใจ จะรักษาโดยให้ผู้ป่วยนอนคว่ำหน้าท่า Awakening Prone เป็นเวลา 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง จากนั้นให้ผู้ป่วยพลิกตัวเปลี่ยนท่าตะแคงซ้ายหรือขวา หรือนอนยกศีรษะขึ้นสูงเพื่อป้องกันแผลกดทับ การที่ผู้ป่วยโรคโควิด-19 นอนคว่ำแล้วอาการดีขึ้น เนื่องจากพยาธิสภาพในปอดของผู้ป่วยโรคโควิด-19 จะอยู่ที่ปอดบริเวณด้านข้าง และด้านหลังเป็นส่วนใหญ่

 

 

ประโยชน์ต่อผู้ป่วย


- เนื้อปอดส่วนหลังที่ถูกหัวใจกดกับขยายได้ดีขึ้น


- ความยืดหยุ่นของปอดหรือการขยายตัวของ


- ถุงลมปอดแต่ละส่วนดีกว่าการนอนหงาย


- การแลกเปลี่ยนแก๊สของปอดดีขึ้น


- การระบายเสมหะดีขึ้น

 

 

 

2.ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีภาวะหายใจล้มเหลว


เป็นผู้ป่วยกลุ่มที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจระดับสูง หรือผู้ป่วยไม่มีการตอบสนองที่ดีเมื่อใช้เครื่องช่วยหายใจด้วยวิธีมาตรฐาน จำเป็นต้องให้ผู้ป่วยนอนคว่ำ รวมถึงต้องให้ยาระงับความรู้สึก เพื่อให้ผู้ป่วยนอนคว่ำได้เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 16 ชั่วโมง

 

 

ประโยชน์ต่อผู้ป่วย


- ช่วยลดการบาดเจ็บหรืออักเสบของปอดจากการ


- ใช้เครื่องช่วยหายใจ


- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนแก๊สของปอด


- เป็นการรักษาเพื่อประดับประคองรอให้ปอด


- ฟื้นตัวดีขึ้น

 

 

 

ท่านอนที่ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น


ท่าที่ 1 นอนคว่ำบนหมอนหนุน ตะแคงใบหน้า ไม่คว่ำหน้า 30 นาที -2 ชม.


ท่าที่ 2 นอนตะแคงขวา 30 นาที – 2 ชม.


ท่าที่ 3 นั่ง 2 ชม.


ท่าที่ 4 นอนตะแคงซ้าย 30 นาที – 2 ชม.

 

กลับมานอนคว่ำ พร้อมเปลี่ยนท่าวันไปเรื่อยๆ

 

 

 

 

คนที่ห้ามนอน


1.คนที่มีเสมหะ


2.คนที่มีการบาดเจ็บที่คอ


3.คนที่มีแผลที่ใบหน้า

 

 

 

ข้อห้ามที่ต้องรู้


1.ห้ามจัดท่านอนกับคนที่ไม่รู้สึกตัว


2.ห้ามจัดท่านอนกับคนที่ปฏิเสธที่จะทำ


3.ความดันโลหิต Systolic (ตัวบน) ต่ำกว่า 90


4.ผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำได้ เช่น มีอุบัติเหตุบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง บาดเจ็บที่ศีรษะ กระดูกสันหลังผิดปกติ อ้วนมากและท้องในไตรมาส 2,3

 

 

 

วิธีการดูแลตัวเองระหว่างรอเตียง

 

หากมีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส


- พักผ่อนให้เพียงพอ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน

- ดื่มน้ำมากๆ แนะนำว่าควรดื่มน้ำเรื่อย ๆ เมื่อดื่มน้ำเพียงพอ เมื่อสังเกตสีของปัสสาวะจะเป็นสีเหลืองอ่อน


- รับประทานยาพาราเซตตามอลทุก 4-6 ชั่วโมง ครั้งละ 1 เม็ด


- เช็ดตัวบริเวณคอ หรือข้อพับต่าง ๆ เพื่อลดความร้อน

 

 


หากมีอาการไอ


- หลีกเลี่ยงการนอนราบ ให้นอนตะแคง หรือ นอนหมอนสูง


- รับประทานยาแก้ไอ หรือยาอมบรรเทาอาการไอ


- จิบน้ำผึ้งผสมน้ำอุ่น (ห้ามให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 12 เดือนเด็ดขาด)

 


หากมีอาการหายใจลำบาก หายใจไม่สะดวก


- เปิดหน้าต่าง หรืออยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก


- หายใจช้า ๆ ลึกๆ ทางจมูกและปาก เหมือนกำลังจะเป่าเทียน


- นั่งตัวตรง ไม่นั่งหลังค่อม ผ่อนคลายบริเวณหัวไหล่


- เอนตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย โดยใช้มือวางบนหน้าขาทั้งสองข้าง และหายใจลึก ๆ ยาว ๆ จะช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น


- พยายามอย่าเครียด ตื่นตกใจ


- เวลานอนให้นอนตะแคง หรือนอนหมอนสูง

 

 

หากมีอาการท้องเสีย หรืออาเจียน


- ให้งดอาหารประเภทนม โยเกิร์ต ผลไม้สด และอาหารย่อยยาก


- ชงเกลือแร่ ORS ผสมน้ำต้มสุก น้ำสะอาด สามารถจิบได้เรื่อย ๆ ทั้งวัน (ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตและโรคหัวใจควรปรึกษาแพทย์)


- ถ้ารับประทานอาหารไม่ได้ ให้รับประทานน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ

 

 

 

อย่างไรก็ตามการนอนคว่ำไม่ได้เป็นการป้องกันโรคแต่อย่างใด แม้แต่ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ก็ตาม การนอนคว่ำเป็นเพียงการรักษาแบบประคับประคองเท่านั้นไม่ใช่การรักษาให้หายขาดแต่อย่างใด

 

 

ข้อมูลจาก เพจเราต้องรอด , โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย , รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง