รีเซต

ทำความเข้าใจ เส้นทางการรักษาโควิด-19

ทำความเข้าใจ เส้นทางการรักษาโควิด-19
Ingonn
23 เมษายน 2564 ( 18:36 )
293

จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้กระทรวงสาธารณสุขต้องเตรียมหาสถานที่รองรับผู้ป่วยติดเชื้อ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด รวมถึงระยะเวลาในการรักษาให้อาการดีขึ้นต้องใช้ระยะเวลาเกือบเดือน แล้วเราเคยสงสัยกันไหมว่าช่วงเวลารักษาเหล่านั้นบุคคลากรทางการแพทย์เขาทำอะไรกันบ้าง

 

 

โดยกรมการแพทย์เปิดเผยขั้นตอนการรักษาโควิด-19 เพื่อให้ประชาชนที่ติดเชื้อเป็นผู้ป่วยยืนยัน และผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อ ได้เข้าใจ และเตรียมความพร้อมในการรักษา

 

 


กลุ่มเสี่ยงโดยตรงที่สัมผัสกับเชื้อ 


1.มี “ประวัติเสี่ยง” ในช่วง 14 วันก่อนวันเริ่มป่วย
เดินทางไปยัง/มาจาก หรืออยู่อาศัยในประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 1 เดือน ย้อนหลังนับจากวันที่ออกจากพื้นที่นั้น


2.สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อ
ไปสถานที่ที่มีการรวมตัวกันของคนจำนวนมาก เช่น สถานบันเทิง ตลาดนัด ห้าง หรือขนส่งสาธารณะที่มีรายงานผู้ป่วยโควิด-19 ในช่วง 1 เดือนย้อนหลัง แพทย์จะพิจารณาส่งตรวจหาเชื้อทันที


3.มีอาการที่เข้าเกณฑ์การตรวจหาเชื้อ 

  • มีไข้ อุณหภูมิตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • ไอ
  • เจ็บคอ
  • มีน้ำมูก
  • ไม่สามารถได้กลิ่น
  • ลิ้นไม่สามารถรับรส
  • หายใจเร็ว หรือหายใจลำบาก
  • ตาแดง
  • ผื่น
  • ถ่ายเหลว 

 


กรมการแพทย์แบ่งการรักษาตามอาการ 5 กลุ่ม ดังนี้

 

กลุ่มที่ 1 ไม่มีอาการ

กลุ่มนี้จะมีราว 20% ของผู้พบเชื้อ

จะต้องรับไว้สังเกตอาการในโรงพยาบาล 2-7 วัน หากไม่มีอาการ จะส่งเข้ารับการสังเกตอาการต่อในหอผู้ป่วยเฉพาะ หรือโรงพยาบาลเฉพาะกิจ เช่น โรงแรมที่เรียกว่า ฮอสพิเทล (Hospitel) จนครบอย่างน้อย 14 วันนับจากตรวจพบเชื้อ

เมื่อหายกลับบ้าน สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ แต่จะต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ออกไปนอกบ้าน แยกตัวเองจากบุคคลอี่นอยู่ห่าง 2 เมตร แยกห้องทำงาน ไม่กินอาหารร่วมกัน จนครบ 1 เดือน

 

 

กลุ่มที่ 2 อาการไม่รุนแรงคล้ายไข้หวัด 

ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีภาพถ่ายรังสีปอดปกติ ไม่มีปัจจัยเสี่ยง คือ อายุมากกว่า 60 ปี มีโรคประจำตัว เช่น ภาวะอ้วน ภูมิคุ้มกันต่ำ โรคปอดเรื้อรังหรือถุงลมโป่งพอง โรคไตวายเรื้อรัง ตับแข็ง โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออัมพาต 


รักษาตามอาการหรือพิจารณาให้ยารักษาไวรัสในโรงพยาบาล 2-7 วัน จากนั้นจะส่งเข้าสังเกตอาการต่อในฮอสพิเทล (Hospitel) จนครบอย่างน้อย 14 วันนับจากมีอาการ และเมื่อหายกลับบ้านจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับกลุ่ม 1

 


 
กลุ่มที่ 3 อาการไม่รุนแรงคล้ายไข้หวัด ปอดปกติ แต่มีปัจจัยเสี่ยง

ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีภาพถ่ายรังสีปอดปกติ แต่มีปัจจัยเสี่ยง 


ให้ยารักษาไวรัสในโรงพยาบาลและติดตามภาพถ่ายรังสีปอด หากภาพถ่ายรังสีปอดปกติ วัน จากนั้นจะส่งเข้าสังเกตอาการต่อในฮอสพิเทล (Hospitel) จนครบอย่างน้อย 14 วันนับจากมีอาการ และเมื่อหายกลับบ้านจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับกลุ่ม 1 และ 2 

 

 

กลุ่มที่ 4 ปอดอักเสบไม่รุนแรง

 ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอยู่ราว 12% ของผู้พบเชื้อ ให้ยารักษาไวรัสในโรงพยาบาล

 


 
กลุ่มที่ 5 ปอดอักเสบรุนแรง 

พบราว 3% ของผู้พบเชื้อ ให้ยารักษาไวรัสในห้องไอซียู

 

โดยสรุป ผู้ป่วยโควิด-19 จะแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มตามความอาการ กลุ่มที่ 1-3 ส่วนใหญ่สามารถหายได้เอง รักษาตามอาการ และแยกตัวจนครบ 14 วันหลังจากวันเริ่มมีอาการ แต่กลุ่มที่ 4-5 มีโรคประจำตัว หรืออาการรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ จะได้รับยาต้านไวรัสเป็นระยะเวลา 5-10 วัน แยกตัวจนครบ 14 วัน และไม่มีอาการแล้ว 1-2 วัน

 


 
สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างรอการประสานเตียงหรือแยกตัวที่บ้านควรสังเกตอาการตนเอง สวมหน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง และไม่ใช่สิ่งของร่วมกับผู้อื่น และรีบแจ้งสายด่วนโควิด หรือแอดไลน์ @SABAIDEEBOT ไว้เพื่อประเมินอาการ

 

 

ข้อมูลจาก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง