รีเซต

เปิดค่ารักษาผู้ป่วยฉุกเฉินโควิด-19 ติดโควิด 1 ครั้ง เสียเงินกี่บาท

เปิดค่ารักษาผู้ป่วยฉุกเฉินโควิด-19 ติดโควิด 1 ครั้ง เสียเงินกี่บาท
Ingonn
5 กรกฎาคม 2564 ( 10:42 )
177

 

การรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งเป็นโรคเจ็บป่วยฉุกเฉิน ที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทั่วถึงและทันท่วงที ล่าสุดรัฐบาลได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ กำหนดค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินโรคโควิด-19 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการระบาดเป็นวงกว้าง รวดเร็วและรุนแรงมากขึ้น และให้ครอบคลุมถึงบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายบางรายการที่มีความจำเป็นต้องใช้กับผู้ป่วยโรคโควิด -19

 

 

วันนี้ TrueID จึงรวบรวมข้อมูลเกณฑ์การรักษาและค่ารักษาต่อวัน เมื่อติดเชื้อโควิด-19 มาฝาก ว่าหากเราเป็นคนที่ติดโควิดแล้วต้องรักษาอย่างไร และเสียเงินในการรักษาวันละประมาณกี่บาท

 

 


จะรักษาโควิด-19 ได้ ต้องมีอาการเข้าเกณฑ์การรักษาก่อน

 

อาการของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (ระลอกใหม่)


ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 จะแสดงอาการตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อยไปถึงระดับความรุนแรงมาก

 

1.มีไข้ (ไข้สูงติดต่อกัน 48 ชั่วโมง)


2.ไอแห้ง


3.ไอมีเสมหะ


4.ไม่มีเรี่ยวแรง หอบเหนื่อย


5.หายใจลำบาก


6.เจ็บคอ


7.ปวดหัว


8.จมูกไม่ได้กลิ่น


9.อ่อนเพลีย

 

 

อาการทางผิวหนัง


1.มีผื่นแดงลักษณะคล้ายตาข่ายหรือเส้นใยเล็กๆ


2.มีจุดเลือดออก


3.มีผื่นบวมแดงคล้ายโรคลมพิษ


4.บางรายมีลักษณะกลุ่มของตุ่มน้ำคล้ายโรคสุกใส


5.เกิดอาการฉับพลัน ร่วมกับอาการมีไข้ ไอ จาม และระบบทางเดินหายใจอื่นๆ

 

 

 

กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19


1.เด็กเล็ก (แต่อาจไม่พบอาการรุนแรงเท่าผู้สูงอายุ)


2.ผู้สูงอายุ


3.คนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง


4.คนที่ภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือกินยากดภูมิต้านทานโรคอยู่


5.คนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานมาก (คนอ้วนมาก)


6.ผู้ที่เดินทางไปในประเทศเสี่ยงติดเชื้อ เช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อิตาลี อิหร่าน ฯลฯ


7.ผู้ที่ต้องทำงาน หรือรักษาผู้ป่วย ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 อย่างใกล้ชิด


8.ผู้ที่ทำอาชีพที่ต้องพบปะชาวต่างชาติจำนวนมาก เช่น คนขับแท็กซี่ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล ลูกเรือสายการบินต่าง ๆ เป็นต้น

 

 

 

แนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด


การรักษาโควิด-19 แบ่งกลุ่มตามอาการได้เป็น 4 กรณี ดังนี้


1. ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ไม่มีอาการ 


ㆍ แนะนำให้นอนโรงพยาบาล หรือในสถานที่รัฐจัดให้ อย่างน้อย 14 วัน นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ และให้จำหน่ายจากโรงพยาบาลได้หากมีอาการปรากฏขึ้นมาให้ตรวจวินิจฉัยและรักษาตามสาเหตุ


ㆍ ให้ดูแลรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์ ไม่ให้ยาต้านไวรัส เนื่องจากส่วนมากหายได้เองและอาจได้รับผลข้างเคียงจากยา

 


2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/โรคร่วมสำคัญ 


ㆍ ให้ดูแลรักษาตามอาการ ส่วนมากหายได้เอง


ㆍ แนะนำให้นอนโรงพยาบาล หรือในสถานที่รัฐจัดให้ อย่างน้อย 14 วัน นับจากวันที่เริ่มมีอาการ หรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น ไม่มีไข้หรือไม่มีอาการอื่น ๆ ของโรคแล้วอย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง 


ㆍพิจารณาให้ยาฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir) ตามดุลยพินิจของแพทย์

 

 

3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงแต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือมีโรคร่วมสำคัญ

ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากว่า 60 ปี เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือโรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ภาวะอ้วน (น้ำหนักมากกว่า 90 กก.) ตับแข็ง ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ และภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) ต่ำหรือน้อยกว่า 1,000 เชลล์/ลบ.มม.

 

ㆍ แนะนำให้นอนโรงพยาบาล อย่างน้อย 14 วัน หรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น


ㆍ แนะนำให้ยาฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir) ระยะเวลา 5 ถึง 10 วัน ขึ้นกับอาการตามความเหมาะสม หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ


ㆍ กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการและภาพถ่ายรังสีปอดที่แย่ลง อาจพิจารณาให้ corticosteroid ร่วมกับยาฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir)

 

 

4.ผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ หรือมีภาวะลดลงของออกซิเจน ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SpO2) 23% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกขณะออกแรง (exercise-induced hypoxemia) 


ㆍ แนะนำให้ยาฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir) เป็นเวลา 5-10 วัน ขึ้นกับอาการทางคลินิก


ㆍ อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสโลปินาเวียร์และริโทนาเวียร์ (Lopinavir / ritonavir) เพิ่มเติม ซึ่งเป็นยาต้านไวรัส HIV 5-10 วัน ร่วมด้วย (ตามดุลยพินิจของแพทย์)


ㆍ แนะนำยาลดการอักเสบคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid)

 

 

หมายเหตุ : ภาวะออกซิเจนต่ำจากการออกกำลัง (Exercise-induced hypoxia) ถือเป็น ‘อาการรุนแรง’ โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยปั่นจักรยานอากาศ (นอนหงายแล้วปั่นขาแบบปั่นจักรยาน) นาน 3 นาที หรือเดินข้างเตียงไปมา 3 นาทีขึ้นไป แล้ววัดระดับออกซิเจนในเลือดเทียบระหว่างก่อน-หลังทำ

 

 

 

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรักษาที่ปรับปรุงใหม่


• ค่าห้องและค่าอาหารทั้งหอผู้ป่วยวิกฤตและห้องแยกโรควันละ 6,250 บาท

 


• ค่าบริการพยาบาลทั่วไปไอซียูวันละ 7,400 บาท

 


• ค่าบริการแพทย์ขณะส่งผู้ป่วยด้วยรถพยาบาลครั้งละ 2,000 บาท

 


• ค่ารถยนต์รับส่งต่อผู้ป่วยจากบ้านหรือโรงแรมไป - กลับครั้งละ 875 บาท

 


• ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดโรคชุดละ 13,750 บาท

 


นอกจากนี้ ยังเพิ่มข้อความ “ยา Remdesivir 100 mg inj. ให้เบิกจากกระทรวงสาธารณสุข” เป็นต้น

 

 

ดังนั้นใน 1 วัน จะมีค่ารักษาประมาณ 2-3 หมื่นกว่าบาท

 

 

ส่วนผู้ป่วยโควิดที่รักษาหายแล้ว ไม่ต้องตรวจหาเชื้อซ้ำเมื่อจะกลับบ้าน เนื่องจากผู้ป่วยที่มีอาการมาแล้วนาน 8 วัน ถึงแม้จะตรวจสารคัดหลั่งในทางเดินหายใจพบสารพันธุกรรมของไวรัสอยู่ แต่ไม่สามารถเพาะเชื้อได้ หรือเป็น ‘ซากเชื้อ’ ดังนั้นผู้ติดเชื้อจึงสามารถกลับไปพักที่บ้านหรือทำงานได้ตามปกติ

 

 

 

ข้อมูลจาก กรมการแพทย์ , สสปท. , thestandard

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง