เช็กด่วน! "แอปดูดเงินในบัญชี แอปสอดแนม" มีอะไรบ้าง พร้อมวิธีตรวจสอบแอปมิจฉาชีพ อันตราย ไม่ควรโหลด!
เปิดรายชื่อ 13 แอปอันตราย แอปมิจฉาชีพ ที่ไม่ควรดาวน์โหลด เสี่ยงเป็นแอปดูดเงินในบัญชี แอปสอดแนม แอพแอบดูโทรศัพท์ ดูดข้อมูลส่วนตัว พร้อมวิธี "ตรวจสอบแอปมิจฉาชีพ" หรือแอปปลอม ซึ่งแอปอันตรายเหล่านี้มักจะฝังมัลแวร์หรือสคริปท์เพื่อขโมยเอาข้อมูลส่วนบุคคลหรือทางการเงินบนมือถือของเราไปใช้สร้างความเสียหาย จะมีแอปอะไรบ้าง เช็กด่วน!
มีรายงานจาก Kaspersky บริษัทรักษาความปลอดภัยด้านไอที ว่า พบแอปพลิเคชัน Joker หรือแอปฯ ที่มีโฮสต์มัลแวร์อันตราย ที่สามารถขโมยเงินสดของผู้ใช้ อ่านข้อความ และสอดแนมการทำงานต่าง ๆ ภายในเครื่องได้ โดยมีทั้งสิ้น 13 แอปฯ และแนะนำให้ผู้ใช้ลบทิ้งทันที
13 แอปอันตราย มีอะไรบ้าง
- Battery Charging Animations Battery Wallpaper
- Classic Emoji Keyboard
- Battery Charging Animations Bubble -Effects
- Easy PDF Scanner
- Dazzling Keyboard
- Halloween Coloring
- EmojiOne Keyboard
- Smart TV remote
- Flashlight Flash Alert On Call
- Volume Booster Hearing Aid
- Now QRcode Scan
- Volume Booster Louder Sound Equalizer
- Super Hero-Effect
ข้อสังเกตคือ แอปฯ ต่าง ๆ อาจหยุดทำงานโดยไม่มีเหตุผล, อุปกรณ์ทำงานช้าลงกว่าเดิมมาก หรืออาจรู้สึกว่าแบตฯ หมดเร็วกว่าปกติมาก เพราะมีการเรียกใช้งานทรัพยากรในเครื่องพุ่งสูงขึ้น
วิธีเช็ก "แอปอันตราย" ดูดข้อมูลในส่วนตัวบนมือถือ
- ดาวน์โหลดแอปจากเจ้าของระบบเท่านั้น โดยสำหรับ IOS คือ App Store และ Android คือ Google Play Store
- ตรวจสอบรีวิวแอป เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เราตรวจสอบ เพื่อในแน่ใจว่าแอปที่โหลดจะไม่ใช่แอปปลอม
- ดูภาพรวมของแอปพลิเคชั่น เช่น ตรวจดูคำอธิบายแอปว่าใช้คำได้ถูกต้องหรือไม่ ตรวจสอบชื่อผู้พัฒนาและเว็บไซต์ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงพอหรือไม่
- ดูยอดดาวน์โหลดหรือยอดการติดตั้งแอป หากเจอแอปยอดฮิต แต่มียอดดาวน์โหลดต่ำก็ให้สงสัยไว้เลยว่าเป็นแอปปลอมแน่ๆ แต่หากเป็นแอปใหม่ ที่ไม่ค่อยได้รับความนิยม อาจต้องดูรายละเอียดข้างต้นประกอบ
หากเราจะโหลดแอปบนมือถือในคราวต่อไป ถึงแม้จะดาวน์โหลดมาจาก App Store หรือ Google Play Store ก็ขอให้ลองตรวจสอบเช็คลิสต์ทั้ง 4 อีกครั้ง เพื่อที่จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของแอปมิจฉาชีพ
เช็กแอปดูดเงิน กู้เงินเถื่อน ไม่ได้เงินจริง
ธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า ระวังใช้บริการชำระเงินเถื่อน อาจถูกโกง ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล หรือถูกหลอกให้ทำผิดกฎหมาย เช็กก่อนใช้ได้ที่ BOT License Check ได้ง่ายๆ โดยคลิกไปที่เว็บไซต์ https://www.bot.or.th/app/BotLicenseCheck เป็นเว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการชำระเงินที่ได้ใบอนุญาตหรือได้รับการขึ้นทะเบียน
BOT License Check คือ ระบบการตรวจสอบข้อมูลใบอนุญาตหรือใบขึ้นทะเบียนให้ประกอบธุรกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น P-Loan, Nano Finance, e-Money โดยผู้ค้นหาสามารถดาวน์โหลดหนังสือแสดงผลการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวเพื่อใช้เป็นเอกสารหลักฐานได้
ข้อมูล Anti-Fake News Center Thailand , ตำรวจสอบสวนกลาง , ธนาคารแห่งประเทศไทย
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<