รีเซต

ส่อง! ประเทศเพื่อนบ้านเข้าร่วมโครงการโคแวกซ์ COVAX ได้วัคซีนโควิดเท่าไหร่บ้าง?

ส่อง! ประเทศเพื่อนบ้านเข้าร่วมโครงการโคแวกซ์ COVAX ได้วัคซีนโควิดเท่าไหร่บ้าง?
Ingonn
22 กรกฎาคม 2564 ( 17:27 )
1.5K
ส่อง! ประเทศเพื่อนบ้านเข้าร่วมโครงการโคแวกซ์ COVAX ได้วัคซีนโควิดเท่าไหร่บ้าง?

 

อาจจะเป็นข่าวดีในอนาคต เมื่อทางสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้ออกมาเปิดเผยว่า กำลังเตรียมเจรจาเข้าร่วมโครงการโคแวกซ์ หรือ COVAX เพื่อจัดหาวัคซีนปี 2565 แม้ก่อนหน้านี้จะออกมายืนยันถึงการไม่เข้าร่วมโครงการนี้อย่างแน่นอน ขณะเดียวกันประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ได้เข้าร่วมโครงการนี้หมดแล้ว และเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ใกล้ตามเป้าหมายที่แต่ละประเทศกำหนดไว้ เพราะเพื่อนบ้านเริ่มเข้าร่วม COVAX มานานแล้ว

 

 

วันนี้ TrueID จะพามาสำรวจประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาอาเซียนว่าได้วัคซีนจากโครงการ COVAX เท่าไหร่แล้วและมีวัคซีนอะไรเข้าร่วมโครงการนี้บ้าง

 

 

 

ข้อมูลการฉีดวัคซีนในภูมิภาอาเซียน


ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 131,840,699 โดส ได้แก่

 


1. อินโดนีเซีย จำนวน 59,218,277 โดส (15.4%* ของประชากร) 
ฉีดวัคซีนของ Sinovac, AstraZeneca และ Sinopharm

 

 

2. ฟิลิปปินส์ จำนวน 15,616,562 โดส (9.6%* ของประชากร) 
ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V, Moderna และ AstraZeneca

 

 

3. มาเลเซีย จำนวน 15,071,814 โดส (31.5%* ของประชากร) 
ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac

 

 

4. ไทย จำนวน 14,805,120 โดส (17.1%* ของประชากร) 
ฉีดวัคซีนของ Sinovac, AstraZeneca และ Sinopharm

 

 

5. กัมพูชา จำนวน 10,398,348 โดส (36.7%* ของประชากร) 
ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca และ Sinovac

 

 

6. สิงคโปร์ จำนวน 6,957,352 โดส (70.7%* ของประชากร) 
ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Moderna และ Sinovac

 

 

7. เวียดนาม จำนวน 4,305,501 โดส (4.1%* ของประชากร) 
ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm

 

 

8. พม่า จำนวน 3,500,000 โดส (N/A* ของประชากร) 
ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm

 

 

9. ลาว จำนวน 1,829,935 โดส (14.4%* ของประชากร) 
ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V และ AstraZeneca

 

 

10. บรูไน จำนวน 137,790 โดส (26.5%* ของประชากร) 
ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm

 

 

ซึ่งเมื่อดูจากตารางจะพบว่า ไทยก็อยู่ในอันดับ TOP 5 ของประเทศที่ได้รับวัคซีนสูงในอาเซียน แม้ไม่ได้เข้าร่วมโครงการโคแวกซ์ COVAX ก็ตาม

 

 

 

 

นพ.นคร เปรมศรี ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เปิดเผยว่าขณะนี้ไทยยังอยู่ในระหว่างการเข้าร่วม Covax แต่ยังไม่ได้ลงนามเพื่อจัดหาวัคซีนร่วมกัน สถาบันวัคซีนได้เตรียมการ ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาส่งหนังสือประสานไปยังหน่วยงานชื่อGavi เพื่อขอเจรจาจัดหาวัคซีนร่วมกับ Covax เพื่อจัดหาวัคซีนปี 2565 ก่อนจะนำเข้าคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง

 

 

ก่อนหน้านี้ประเทศไทยมีแผนเข้าร่วมจัดหาวัคซีนจาก COVAX มาตั้งแต่ต้น แต่สุดท้ายเมื่อพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว ผู้เชี่ยวชาญของไทยต่างเห็นพ้องตรงกันว่า โครงการนี้มีเงื่อนไขหลายข้อที่ทั้งเสี่ยงและไม่คุ้มค่าต่อการเข้าร่วม เช่น

 

1.โครงการ COVAX จะมอบวัคซีนให้ฟรีเฉพาะประเทศยากจนเท่านั้น ส่วน ไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง จึงทำให้ไม่ได้รับวัคซีนฟรีหรือวัคซีนราคาถูกจากโครงการ

 


2 .ไทยต้องนำเงินไปลงขันในการจัดหาวัคซีน ทั้งที่ในเวลานั้น COVAX ยังไม่ทราบเลยว่า จะคัดเลือกวัคซีนจากผู้ผลิตรายใด

 


3.ต้องจ่ายราคาตามที่ผู้ผลิตเสนอ ไม่สามารถต่อรองราคาได้ และต้องยอมรับทุกเงื่อนไข

 


4.หากไทยสั่งจองซื้อวัคซีนจาก COVAX จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการดำเนินการให้ COVAX ด้วย

 


5.ไทยจะไม่ได้รับเงินคืน หากยกเลิกสัญญาสั่งซื้อ

 

 

 

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญของไทยทั้งหมดที่เกี่ยวข้องจึงพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วต่างเห็นพ้องว่า “ไม่สมควรที่จะนำงบประมาณจากภาษีประชาชนไปเสี่ยง” โดยคำนึงถึงปัจจัยบวกที่ว่า “รัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดได้ดีเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก”

 

 


เจาะประเทศเพื่อนบ้าน ได้รับวัคซีนจากโคแวกซ์อย่างไรบ้าง


หลังจากที่องค์การอนามัยโลกประกาศแผนการจัดส่งวัคซีนผ่านโครงการโคแวกซ์ (Covax) ให้แก่ประเทศสมาชิก 145 ประเทศ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประชากรทั่วโลกได้ 3.3% ภายในกลางปี 2021

 


รูปแบบการเข้าร่วม มีทั้งประเภทจ่ายเงินเอง และได้รับวัคซีนฟรี โดยประเทศต่างๆ จะทยอยได้รับวัคซีนระยะแรกในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์

 

 

ส่วนชนิดของวัคซีนโควิด-19 ที่โครงการโคแวกซ์แจกจ่ายให้กับประเทศที่เข้าร่วมมีอยู่ด้วยกัน 3 ยี่ห้อคือ โควิชิลด์ (Covishield) แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) และไฟเซอร์ (Pfizer) นอกจากนี้โครงการโคแวกซ์ยังเป็นตัวกลางแจกจ่ายวัคซีนโควิด-19 ที่รัฐบาลสหรัฐฯ บริจาค โดยได้จัดส่งวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) และจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson) อีกด้วย

 

 

 

ประเทศอาเซียนที่ได้รับวัคซีนจากโคแวกซ์


ทาง workpointoday ได้รวบรวมข้อมูลล่าสุดจาก COVAX ในการส่งมอบวัคซีนให้อาเซียน เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 64 ที่ผ่านมา ดังนี้

 

อินโดนีเซีย 16,204,960 โดส

 

กัมพูชา 324,000 โดส

 

ลาว 1,240,620 โดส

 

มาเลเซีย 828,000 โดส

 

ฟิลิปปินส์ 10,297,060 โดส

 

เวียดนาม 4,493,640 โดส

 

บรูไน 24,000 โดส

 

 

จะเห็นได้ว่ามีเพียง 3 ชาติอาเซียนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนจากโครงการโคแวกซ์ ได้แก่ ไทย เมียนมา และสิงคโปร์

 

 

กรณีของสิงคโปร์นั้น เป็นประเทศที่สั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 ด้วยเงินทุนตัวเองผ่านโคแวกซ์ และมีแผนจะบริจาควัคซีนเข้าโคแวกซ์ เพื่อส่งต่อไปยังประเทศยากจนอื่นๆ โดยนายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ประกาศเตรียมบริจาควัคซีนโควิด-19 ส่วนเกินให้กับโครงการโคแวกซ์ หลังมีวัคซีนเพียงพอใช้งานในประเทศแล้ว

 

 

 

ส่วนกรณีของเมียนมา ที่กำลังเผชิญสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในระดับรุนแรง รวมทั้งปัญหาความรุนแรงหลังเกิดรัฐประหารตั้งแต่เดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ล่าสุด คณะทำงานขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น)ประจำเมียนมาระบุว่า วัคซีนโควิด-19 ที่จัดสรรผ่านโคแวกซ์ จะถูกจัดส่งให้เมียนมาในเร็วๆ นี้ พร้อมยืนยันเป้าหมายการจัดส่งวัคซีนโควิด-19 ให้ครอบคลุมประชากรเมียนมา 20% ภายในปี 2564

 

 

 

ถึงแม้ว่าไทยจะไม่ได้เข้าเป็นโครงการ COVAX ขององค์การอนามัยโลก (WHO) แต่ได้ร่วมบริจาคให้เป็นจำนวน 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างความเชื่อมโยงกับกลไก COVAX Facility จึงทำให้ไทยสามารถแลกเปลี่ยน จำหน่าย หรือแจกจ่ายวัคซีนที่ไทยผลิตได้เองในอนาคตข้างหน้าให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายที่ไทยประกาศไว้ว่า วัคซีนคือสินค้าสาธารณะของโลก (global public goods) ที่ประเทศต่าง ๆ ควรเข้าถึงได้ทั่วกันเพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นสิ่งท้าทายที่ประชาคมระหว่างประเทศมีร่วมกัน

 

 

 

การเข้าร่วม COVAX Facility ประเทศสมาชิกไม่เพียงสามารถเข้าถึงเครือข่ายวัคซีนที่ใหญ่ที่สุดในโลกเท่านั้น แต่ COVAX Facility ยังสามารถติดตามและตรวจสอบผลจากการฉีดวัคซีน ด้วยการพิจารณาจากหลักวิทยาศาสตร์ รวมถึงประเมินความสามารถในการขยายการผลิต และทำงานร่วมกับผู้ผลิตเพื่อสร้างแรงจูงใจให้พวกเขาเพิ่มความสามารถในการผลิตวัคซีนด้วย

 

 

 

 

 

ข้อมูลาจาก Hfocus , workpointtoday , กรุงเทพธุรกิจ , สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

 

 

 

 

-------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง