รีเซต

ยูนิเซฟวอนกลุ่มประเทศจี7 'บริจาควัคซีนส่วนเกิน' กัน 'โคแวกซ์' ขาดแคลน

ยูนิเซฟวอนกลุ่มประเทศจี7 'บริจาควัคซีนส่วนเกิน' กัน 'โคแวกซ์' ขาดแคลน
Xinhua
18 พฤษภาคม 2564 ( 13:58 )
90
ยูนิเซฟวอนกลุ่มประเทศจี7 'บริจาควัคซีนส่วนเกิน' กัน 'โคแวกซ์' ขาดแคลน

 

สหประชาชาติ, 17 พ.ค. (ซินหัว) -- เมื่อวันอาทิตย์ (16 พ.ค.) เฮนเรียตตา โฟร์ (Henrietta Fore) ผู้อำนวยการใหญ่องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) เรียกร้องให้กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก 7 แห่ง หรือ  'จี7' (G7) บริจาควัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ส่วนเกินให้กับโคแวกซ์ (COVAX) ซึ่งเป็นโครงการจัดหาและจัดส่งวัคซีนระดับโลกให้แก่ประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง

 

ทั้งนี้ การเรียกร้องของเธอเกิดขึ้นก่อนจะมีการพบปะระหว่างบรรดาผู้นำประเทศสมาชิกกลุ่มจี 7 ตามกำหนดการ ในสหราชอาณาจักรในเดือนหน้า

 

โฟร์กล่าวโดยอ้างอิงผลการวิเคราะห์ข้อมูลใหม่จากแอร์ฟินิตี (Airfinity) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยด้านชีววิทยาศาสตร์ว่า หากกลุ่มจี7 และกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปแบ่งปันวัคซีนที่ตนได้รับในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคมเพียงร้อยละ 20 พวกเขาจะสามารถบริจาควัคซีนได้ราว 153 ล้านโดส โดยที่ยังสามารถฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนของตนได้ตามที่ให้คำมั่นไว้

 

"ในยามที่สมาชิกกลุ่มจี7 บางประเทศมีวัคซีนมากกว่าประเทศอื่นๆ และบางประเทศได้ฉีดให้ประชาชนในประเทศไปมากแล้วเช่นนี้ จำเป็นต้องมีการร่วมมืออย่างเร่งด่วนเพื่อรวบรวมวัคซีนส่วนเกินและแบ่งเบาภาระความรับผิดชอบที่มี อันจะช่วยเหลือกลุ่มประเทศเปราะบางไม่ให้กลายเป็นพื้นที่เกิดโรคระบาดใหญ่แห่งใหม่

เธอกล่าวว่าการแบ่งปันวัคซีนส่วนเกินโดยเร็วถือเป็นมาตรการขั้นต่ำในการลดความเหลื่อมล้ำ และเป็นมาตรการฉุกเฉินที่สำคัญที่จำเป็นต้องทำในขณะนี้

 

สถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้นในอินเดีย ซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตวัคซีนระดับโลก ส่งผลให้ปริมาณวัคซีนที่ต้องถูกจัดส่งให้กับโครงการโคแวกซ์ลดลงอย่างมาก อุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้โครงการฯ ไม่ได้รับวัคซีน 140 ล้านโด สำหรับการแจกจ่ายไปยังกลุ่มประเทศรายได้ต่ำและปานกลางจนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม ทั้งยังมีแนวโน้มจะไม่ได้รับวัคซีนตามกำหนดในเดือนมิถุนายนอีก 50 ล้านโดส

 

ฟอร์ทิ้งท้ายว่า ทางออกที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดของการระบาดครั้งนี้คือการกระจายวัคซีน การวินิจฉัย และการบำบัดรักษาทั่วโลกอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งโครงการโคแวกซ์ที่มียูนิเซฟเป็นผู้ดำเนินการหลัก เป็นตัวแทนของทางออกดังกล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง