รีเซต

อินฟราฟัน ประจำวันพุธที่ 22 เมษายน 2563 : ปูรางรถไฟฝ่าดงโควิด

อินฟราฟัน ประจำวันพุธที่ 22 เมษายน 2563 : ปูรางรถไฟฝ่าดงโควิด
มติชน
22 เมษายน 2563 ( 12:00 )
52
อินฟราฟัน ประจำวันพุธที่ 22 เมษายน 2563 : ปูรางรถไฟฝ่าดงโควิด

อินฟราฟัน ประจำวันพุธที่ 22 เมษายน 2563 : ปูรางรถไฟฝ่าดงโควิด

ช่วงนี้รถไฟยังหยุดวิ่งเส้นทางระยะยาว มีเพียงบางช่วงเท่านั้นที่ยังเดินรถให้บริการผู้โดยสารอยู่ แต่สำหรับการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ถึงแม้ไวรัสโควิดยังแผลงฤทธิ์ แต่ก็เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดการรถไฟแห่งประเทศไทยแจ้งความคืบหน้าทางคู่สายใต้ ระยะแรก ช่วงนครปฐม-ชุมพร ระยะทาง 421 กิโลเมตร ดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้วประมาณ 55.82% จากแผนงานที่กำหนดไว้ที่ 63.69% สาเหตุที่ก่อสร้างได้ช้ากว่าแผนงานที่กำหนด การรถไฟชี้แจงว่ามีปัญหาอุปสรรคในการก่อสร้างหลายจุด จึงได้ปรับแบบเพื่อลดผลกระทบและให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่

 

ขณะเดียวกันได้เร่งรัดงานโยธาให้แล้วเสร็จตามแผนงานในปี 2564 คาดว่าจะติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมเปิดให้บริการในปี 2565 สำหรับรถไฟทางคู่สายนี้ ใช้เม็ดเงินลงทุนประมาณ 33,982 ล้านบาท แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 5 สัญญา คือ

 

  • สัญญาที่ 1 ช่วงนครปฐม-หนองปลาไหล ระยะทาง 93 กิโลเมตร งบประมาณ 8,198 ล้านบาท การก่อสร้างคืบหน้า 54.76% จากแผนงานที่กำหนดไว้ 73.99% ล่าช้ากว่าแผน 19.22% มีบริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนี่ยริ่ง 1964 จำกัด เป็นผู้ดำเนินงาน
  • สัญญาที่ 2 ช่วงหนองปลาไหล-หัวหิน ระยะทาง 76 กิโลเมตร งบประมาณ 7,520 ล้านบาท การก่อสร้างคืบหน้า 61.72% จากแผนงานที่กำหนดไว้ 57.66% สร้างเร็วกว่าแผนงาน 4.06% มีบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินงาน
  • สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กิโลเมตร งบประมาณ 5,807 ล้านบาท ก่อสร้างคืบหน้า 62.92% จากแผนงานที่กำหนดไว้ 85.50% สร้างล่าช้ากว่าแผนงาน 22.58% มีบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินงาน

 

ในส่วนของช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร สัญญาที่ 1 ช่วงประจวบคีรีขันธ์-บางสะพานน้อย ระยะทาง 88 กิโลเมตร งบประมาณ 6,465 ล้านบาท ก่อสร้างคืบหน้า 53.52% จากแผนงานที่กำหนดไว้ 58.53% สร้างล่าช้ากว่าแผนงาน 5% มีกิจการร่วมค้า เคเอส-ซี เป็นผู้ดำเนินงาน

 

ส่วนสัญญาที่ 2 ช่วงบางสะพานน้อย-ชุมพร ระยะทาง 79 กิโลเมตร งบประมาณ 5,992 ล้านบาท ก่อสร้างคืบหน้า 45.49% จากแผนงานที่กำหนดไว้ 41.62% สร้างเร็วกว่าแผน 3.463 มีกิจการร่วมค้า เอสทีทีพี เป็นผู้ดำเนินงาน

 

ปัจจุบันเส้นทางรถไฟจากกรุงเทพฯ-ชุมพร ใช้เวลาเดินทาง 8 ชั่วโมง เมื่อทางคู่เสร็จจะใช้เวลา 6 ชั่วโมง สามารถรองรับขบวนรถเพิ่มขึ้นได้ไม่น้อยกว่า 2 เท่าตัว ช่วยเพิ่มความเร็วและความปลอดภัยในการขนส่งผู้โดยสาร และสินค้าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการเชื่อมต่อระบบการขนส่งเส้นทางท่องเที่ยวของจังหวัดชุมพร

 

ส่วนจะเปิดบริการได้ตามแผนจริงหรือไม่ ต้องจับตาใกล้ชิด!!

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง