รีเซต

อินฟราฟัน : ‘อู่ตะเภา’ประตูสู่เอเชีย(จบ)

อินฟราฟัน : ‘อู่ตะเภา’ประตูสู่เอเชีย(จบ)
มติชน
8 กรกฎาคม 2563 ( 12:17 )
82
อินฟราฟัน : ‘อู่ตะเภา’ประตูสู่เอเชีย(จบ)

อินฟราฟัน : ‘อู่ตะเภา’ประตูสู่เอเชีย(จบ)

การร่วมลงทุนพัฒนา สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ดำเนินโดยบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด เพื่อยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งที่ 3 ของกรุงเทพฯ เป็นประตูสู่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และสู่เอเชีย

การพัฒนาจะแบ่งเป็น ภาครัฐดำเนินการ คือ ทางวิ่ง 2 ทางวิ่ง มีความยาว 3,500 เมตร รองรับเครื่องบินพาณิชย์ทุกขนาด มี 124 หลุมจอด ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ระยะแรก 500 ไร่ รวมทั้งงานสนับสนุนอื่นๆ บนพื้นที่ขนาด 1,400 ไร่บริการขึ้นลงอากาศยานได้สูงสุด 70 เที่ยวบินต่อชั่วโมง

ส่วนภาคเอกชน ดำเนินการอาคารผู้โดยสาร หลังที่ 3 เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จทุกระยะแล้ว จะมีขนาดพื้นที่กว่า 450,000 ตร.ม. รองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 60 ล้านคนต่อปีภายในอาคารติดตั้งระบบอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ทันสมัย เช่น ระบบการเช็กอินอัตโนมัติ ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ คลังสินค้า ขนาดพื้นที่กว่า 470,000 ตร.ม. รองรับการขนส่งสินค้าและศูนย์กระจายสินค้ากว่า 3 ล้านตันต่อปี ศูนย์ขนส่งภาคพื้นดิน มีขนาดพื้นที่กว่า 30,000 ตร.ม.

ยังมีกิจกรรมเชิงพาณิชย์และส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการบิน คือคอมเมอร์เชียล เกตเวย์ ขนาดพื้นที่กว่า 400,000 ตร.ม. มีร้านค้าปลอดภาษี ร้านค้าและภัตตาคาร โรงแรม รวมทั้งบิสิเนส พาร์ค และแอร์พอร์ต ซิตี้ ขนาดพื้นที่กว่า 1 ล้าน ตร.ม. ประกอบด้วย ศูนย์การค้า ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า อาคารพักอาศัยและอาคารสำนักงาน

การพัฒนาเป็น 4 ระยะ คือ 1.อาคารผู้โดยสารขนาดพื้นที่กว่า 157,000 ตร.ม. พื้นที่กิจกรรมเชิงพาณิชย์ อาคารจอดรถ ศูนย์ขนส่งภาคพื้นดิน และหลุมจอดอากาศยาน 60 หลุมจอด แล้วเสร็จปี 2567 รองรับผู้โดยสารสูงสุด 15.9 ล้านคนต่อปี 2.อาคารผู้โดยสารมีพื้นที่เพิ่มขึ้นกว่า 107,000 ตร.ม. พร้อมทั้งติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (เอพีเอ็ม) และระบบทางเดินเลื่อน รวมทั้งเพิ่มหลุมจอดอากาศยานอีก 16 หลุมจอด แล้วเสร็จปี 2573 รองรับผู้โดยสารสูงสุด 30 ล้านคนต่อปี

3.เป็นการต่อขยายอาคารผู้โดยสารเพิ่มเติมจากระยะที่ 2 กว่า 107,000 ตร.ม. เพิ่มจำนวนรถขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติอีก 1 ขบวน รวมทั้งเพิ่มหลุมจอดอากาศยานอีก 34 หลุมจอด แล้วเสร็จปี 2585 รองรับผู้โดยสารสูงสุด 45 ล้านคนต่อปี และ 4.หรือระยะสุดท้าย มีพื้นที่อาคารผู้โดยสารหลังที่สองเพิ่มขึ้นกว่า 82,000 ตร.ม. พร้อมทั้งติดตั้งระบบเช็กอินแบบอัตโนมัติ รวมทั้งเพิ่มหลุมจอดอากาศยานอีก 14 หลุมจอด แล้วเสร็จปี 2598 รองรับผู้โดยสารสูงสุด 60 ล้านคนต่อปี

เมื่อเปิดบริการได้ตามแผนจริง คงสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจได้มากมายแน่นอน!!

ข่าวที่เกี่ยวข้อง