รีเซต

ผลวิจัยชี้โซเชียลมีเดียกระตุ้น การเจ็บป่วยแบบอุปทานหมู่

ผลวิจัยชี้โซเชียลมีเดียกระตุ้น การเจ็บป่วยแบบอุปทานหมู่
TNN Health
20 มกราคม 2565 ( 19:35 )
273
ผลวิจัยชี้โซเชียลมีเดียกระตุ้น การเจ็บป่วยแบบอุปทานหมู่

ข่าววันนี้ เคยมีรายงานข่าว นักเรียนคนหนึ่งมีอาการปวดขาและเป็นอัมพาต ในไม่ช้าเพื่อนร่วมโรงเรียนหลายร้อยคนก็มีอาการคล้ายคลึงกัน หรือเหตุการณ์ที่เด็กนักเรียนหญิง 3 คนเริ่มหัวเราะอย่างควบคุมไม่ได้ เพื่อนร่วมชั้นเกือบ 100 คนเริ่มมีอาการแบบเดียวกัน โรงเรียนจึงต้องปิดตัวลง


สิ่งที่น่าแปลกคือ ไม่พบคำอธิบายทางการแพทย์ในแต่ละกรณี  จนท้ายที่สุดผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่า สิ่งเหล่านี้เป็น “อาการเจ็บป่วยแบบอุปาทานหมู่” 


สมัยก่อนยังไม่มีคำอธิบายเกี่ยวกับที่มาของอาการเหล่านี้มากนัก แต่จากผลงานวิจัยล่าสุดซึ่งจัดทำโดย คณะแพทย์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา (Harvard Medical School) บอกกับเราว่า ในปัจจุบัน TikTok และโซเชียลมีเดียอื่นๆ อาจเป็นแหล่งกระตุ้นให้เกิดอาการเหล่านี้ได้


การเจ็บป่วยแบบอุปาทานหมู่ คืออะไร?


สังเกตได้จาก เมื่อมีคนหลายคนในกลุ่มสังคมหนึ่งๆ มีอาการคล้ายคลึงกัo ซึ่งอธิบายไม่ได้ทางการแพทย์และมักป็นอาการที่แปลกประหลาด เช่น อยู่ๆ ก็ปวดหัว ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ คิดว่าตัวเองมีอาการไม่สบายบางอย่าง 


ในบางกรณี มีคนที่เชื่อว่าตนเองได้สัมผัสกับสิ่งที่เป็นอันตราย เช่น สารพิษหรือการติดเชื้อ แม้ตรวจสอบแล้วจะไม่พบว่าเป็นอะไรก็ตาม


ลักษณะทั่วไปของการเจ็บป่วยแบบอุปาทานหมู่


การระบาดในอดีตรวมถึงการเจ็บป่วยที่คนเป็นลมหมดสติ มีอาการคลื่นไส้ปวดหัวหรือหายใจถี่ หรือมีอาการชักกระตุก หรือเป็นอัมพาต มักเกิดขึ้นกับคนในบริเวณใกล้เคียง เช่น ที่โรงเรียนหรือที่ทำงาน 


เมื่อก่อน หากยังไม่มีหลักฐานยืนยันที่แน่นอน ก็ไม่ค่อยจะออกข่าว แต่ตอนนี้โซเชียลมีเดียกำลังกลายเป็นช่องทางเผยแพร่ใหม่ ของสิ่งเหล่านี้


ลักษณะอาการที่เข่าข้ายผิดปกติ:


-มีอาการป่วยที่ไม่มีคำอธิบายทางการแพทย์ที่ชัดเจน 
-อาการที่เกิดขึ้นชั่วคราว และไม่รุนแรง
-ป่วยเร็ว แต่ก็หายเร็ว

 

คำอธิบายที่พอจะเป็นไปได้เกี่ยวกับอาการป่วย คือ ทฤษฎีทางจิตวิทยาที่เรียกว่า Nocebo effect และ Placebo effect


ทฤษฎีหนึ่งชี้ให้เห็นว่าการเจ็บป่วยอุปาทานหมู่ เป็นรูปแบบหนึ่งของผลกระทบจากปรากฏการณ์ Nocebo effect ที่อธิบายถึงคนที่มีประสบการณ์ด้านลบโดยอิงจากความคาดหวังที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น


แต่ Placebo effect หรือชื่อทางการแพทย์คือ ยาหลอก เป็นความคิดเชิงบวก ที่อาจช่วยให้ผู้คนรู้สึกดีขึ้น เนื่องจากคาดหวังผลประโยชน์ แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เป็นตามที่หวัง


สำหรับ ปรากฏการณ์ Nocebo effect สมมติว่าคุณเห็นคนเป็นลม หากคุณเชื่อว่าสิ่งนี้เกิดจากสัมผัสสารอะไรบางอย่าง คุณคิดว่าจะเป้นลมเหมือนกับเขา แม้ว่าจะยังไม่ได้สัมผัสอะไรเลยก็ตาม 


สรุปก็คือ คนมีความเครียดมากมาย โดยเฉพาะช่วงนี้ที่คนนับล้านติดอยู่กับการระบาดใหญ่และหันไปใช้โซเชียลมีเดียเป็นเวลาหลายชั่วโมง ได้พบเห็นข่าวสารอะไรมากขึ้น  


หากคุณหรือคนที่คุณรักใช้เวลาส่วนใหญ่บนโซเชียลมีเดีย และเริ่มสังเกตเห้นว่า มีอาการป่วยที่ขัดกับคำอธิบายของแพทย์ ก็ควรรีบรับการดูแล เพื่อหาความเป็นได้ว่าอาการเหล่านี้ อาจมีโซเซียลมีเดียเป็นตัวกระตุ้นขึ้นมาหรือไม่


ที่มา. health.harvard.

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง