Pulse oximeter คืออะไร? เกี่ยวข้อง?กับโควิด-19
สิ่งที่น่ากังวลสำหรับเชื้อไวรัสโควิด-19 คือ ผู้ที่ได้รับเชื้อ ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการในตอนแรก จากข้อมูลทางสถิติขององค์การอนามัยโลก พบว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย และมีเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ของผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง สิ่งที่สามารถตรวจสอบเบี้องต้นได้ ก็คือ ระดับออกซิเจนในเลือด ถ้าระดับออกซิเจนในเลือดอยู่ต่ำกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ อาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่เกิดจากการติดเชื้อโควิด-19
วันนี้ trueID จะพาไปรู้จักเครื่องมือตรวจวัดระดับออกซิเจน ว่าคืออะไร? และมีหลักการทำงานอย่างไร?
ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำคืออะไร?
เวลาเราไปเยี่ยมญาติที่นอนป่วยในโรงพยาบาล เราอาจเห็นเครื่องมือรุงรัง ติดตามตัวคนไข้มากมายไปหมด เครื่องวัดเหล่านี้มีไว้เพื่อวัดสัญญานชีพ แต่หนึ่งในปัจจัยสำคัญของคนไข้คือคนไข้หายใจได้ดี มีอากาศที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงทั่วร่างดีหรือไม่
ด้วยเหตุนี้จึงมีเครื่องวัดที่ชื่อว่า Oximeter ในสมัยก่อนที่ยังไม่มีการนำเอาอุปกรณ์ Pulse oximetry มาใช้นั้น แพทย์ผู้ให้การรักษาผู้ป่วย มักจะต้องวินิจฉัยภาวะ Hypoxemia ด้วยการตรวจร่างกาย ร่วมกับการเจาะเลือด ส่งตรวจวัดออกซิเจนในเลือด
แต่ก็มีข้อจำกัดคือ เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บตัว และไม่สามารถติดตามได้ต่อเนื่องตลอดเวลา ในเวลาต่อมาจึงได้มีการคิดค้นอุปกรณ์ pulse oximetry ซึ่งสามารถตรวจวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดได้โดยไม่ต้องเจาะเลือด และยังสามารถวัดได้ตลอดเวลา
ซึ่งก็ได้รับความนิยมมากจนในปัจจุบันแทบจะเรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์สำหรับวัดสัญญาณชีพอย่างที่ 5 (the fifth vital sign: นอกจาก blood pressure, body temperature, respiratory rate, และ heart rate) เลยทีเดียว
กลับมาที่เครื่องมือเรา ทำไมต้องวัด oxygen ? มนุษย์เราเกิดมาต้องหายใจ เนื่องจากในทุกๆเซลล์ของร่างกายเราต้องการอากาศ หรือเรียกชัดๆไป คือ อยากได้ออกซิเจน ซึ่งเป็นก๊าซที่จำเป็นในการเกิดเมตาบอลิซมของสารอาหารและสร้างพลังงาน
ในร่างกายเรามีกลไกควบคุมระดับออกซิเจนในเลือด จากระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทอัตโนมัติ และระบบสารเคมีในเลือดหลากหลาย พอเกิดอาการออกซิเจนในเลือดต่ำ หมายถึง แรงดันของออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ หรื่อวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดได้น้อยกว่าปกตินั่นเอง ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดนั้นบอกว่า ออกซิเจนที่อยู่ในเลือดมีมากแค่ไหน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้นั่นเอง
ออกซิเจนต่ำมีผลอย่างไรต่อร่างกายเรา?
เมื่อออกซิเจนในเลือดต่ำ เริ่มแรกเลย ร่างกายจะพยายามปรับสมดุลในตัวเอง เพื่อรักษาระดับออกซิเจนไม่ให้ตกก่อน โดยการหายใจที่เร็วขึ้น แรงขึ้น หัวใจก็พยายามสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มากขึ้น โดยจะเต้นเร็วและแรงขึ้นด้วยเช่นกัน ความดันโลหิตก็จะสูงขึ้น
หากยังไม่สามารถรักษาระดับออกซิเจนในเลือดให้เพียงพอไว้ได้ ก็จะส่งผลให้เซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายเริ่มทำงานผิดปกติ นำไปสู่ภาวะของการเกิดของเสียในเซลล์มากขึ้น มีความเป็นกรดในเซลล์ในร่างกายมากขึ้น จนในที่สุดเซลล์จะสูญเสียหน้าที่ทำงานไม่ได้ นั่นหมายถึงการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายล้มเหลวนั่นเอง
คนไข้กลุ่มไหนเสี่ยงต่อออกซิเจนในเลือดต่ำ
โดยปกติ ออกซิเจนจะเข้าสู่ร่างกายด้วยการหายใจทางปอด ดังนั้นภาวะที่เกี่ยวข้องกับการทำงานระบบนี้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็น โรคปอด โรคที่เกี่ยวกับหลอดลม โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ โรคไต ภาวะน้ำท่วมปอด โรคในกลุ่มเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลโดยตรง ที่ทำให้ร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนเพียงพอ เนื่องจากออกซิเจนไม่สามารถเข้าสู่ถุงลมได้ตามปกติ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
ผู้ป่วยที่มีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำนานๆ หรือเรื้อรังจะส่งผลให้อวัยวะหรือเนื้อเยื่อต่างๆ จะมีออกซิเจนต่ำ เกิดการเสื่อมหรือตายของเซลล์ในอวัยวะต่างๆ จะสังเกตเห็นได้ว่าผู้ป่วยมีอาการซึม การทำงานของสมองช้าลง สาเหตุหลักของการเสียชีวิตของผู้ป่วยออกซิเจนในเลือดต่ำ มาจากภาวะหัวใจล้มเหลว
Pulse oximeter คืออะไร?
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการวัดสัญญาณชีพที่สำคัญ คือการวัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด (Oxygen Saturation) โดยการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Pulse oximeter หรือเครื่องวัดออกซิเจนในเลือดจับที่นิ้วของผู้ป่วยก็จะสามารถบอกได้ว่าออกซิเจนในร่างกายมีปริมาณเท่าใด ซึ่งจะช่วยการวินิจฉัยภาวะร่างกายเบื้องต้นของผู้ป่วยได้ดี และแม่นยำมากเพิ่มขึ้นอีก
Pulse oxemeter ทำงานอย่างไร?
เครื่องตรวจวัดความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินจากชีพจร หากเป็นภาษาไทย เรียกง่ายๆว่า pulse_oximeter เป็นเครื่องมื่อที่รวมการวัดระดับออกซิเจนและคลื่นการไหลเวียนโลหิตเข้าด้วยกัน
เป็นเครื่องมือต่อเนื่องแบบไม่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บตัวในการวัดระดับความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินในเลือดแดง
pulse oximetry เป็นเครื่องตรวจวัดร้อยละของฮีโมโกลบินที่จับอยู่กับออกซิเจนในเลือด อาศัยหลักการของ light absorption คือ สารต่างชนิดกันจะมีคุณสมบัติในการดูดซับแสงที่ความยาวคลื่นแตกต่างกัน ซึ่งหากเราใช้แสงชนิดหนึ่งที่มีความเจาะจงกับ oxyhemoglobin ฉายผ่านบริเวณที่มี oxyhemoglobin สารนี้ก็จะดูดซับแสงไป ส่วนที่เหลือก็จะทะลุผ่านไปยังฉากรับที่อยู่ด้านล่างซึ่งจะมีตัววัดปริมาณแสงที่เหลืออยู่ นำไปคำนวณปริมาณแสงที่หายไป ก็จะรู้ได้ว่ามี oxyhemoglobin อยู่เท่าใดนั่นเอง
ง่ายๆคือเครื่องนี้จะฉายคลื่นผ่านนิ้ว แล้ววัดร้อยละของฮีโมโกลบินที่จับอยู่กับออกซิเจนในเลือดทั้งเลือดแดงและเลือดดำแล้วเอามาคำนวณ
อ่านข่าว ค่า SpO2 เกี่ยวข้องอะไรกับโควิด-19
ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนดูอย่างไร?
เครื่องมือ Pulse oximeter จะเป็นเครื่องมือเบื้องต้นเพื่อวัดค่าออกซิเจนปลายนิ้วแล้ว ถ้าดูจากคู่มือ มันจะวัดอะไรได้บ้าง
1. ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน (SpO2) ปกติความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดจะอยู่ที่ 96 – 99% ของความอิ่มตัวสูงสุด
2. PR (Pulse Rate) คือ อัตราการเต้นของหัวใจ การไหลของโลหิตในหลอด เลือดโลหิตทำให้เกิดการโป่งพองขึ้นเป็นจังหวะ สามารถจับแล้วรู้สึกได้ว่าเสมือนมีการเต้นตุบ ๆ ของ หลอดเลือดตามจังหวะการเต้นของหัวใจ
3. Perfusion Index คือ ค่าการไหลเวียนของเลือดในบริเวณนั้น โดยทั่วไปแล้วค่า PI นี้อาจจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0.02% ไปจนถึง 20% ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับค่าที่กำหนดมาโดยผู้ผลิตเครื่อง โดยทั่วไปแล้ว หากค่า PD >4% ก็ถือว่าบริเวณดังกล่าวมีการไหลเวียนของเลือดมากเพียงพอ
Pulse oximeter เป็นแค่เครื่องมือวัดเบื้องต้นเท่านั้น เราต้องทำความเข้าใจในสภาวะร่างกายคนไข้ และกลไกการทำงานของเครื่อง การตีความจากผลของมันเรารู้ได้เป็นข้อมูลเบื้องต้นไว้ดูแลคนไข้เท่านั้น จะได้ปฐมพยาบาลก่อนเบื้องต้น หากมีความเสี่ยงใดๆ หรือญาติเรามีอาการโรคที่ต้องการดูแลทันทีจากหน่วยพยาบาล อย่าลืมหาช่องทางติดต่อหรือนำส่งโรงพยาบาลต่อไป จะแน่นอนกว่ามารอดูข้อมูลจากเครื่องมืออะไรด้วยตัวเราเอง
ภาพโดย charlykushu จาก Pixabay
ที่มา : สาระสุขภาพยาน่ารู้ , siamroommate
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ใช้รถโดยสารสาธารณะอย่างไร ให้ปลอดภัยโควิด-19
รวมกลุ่มอาสาช่วยเหลือผู้ติดโควิด-19 ฝ่าวิกฤตนี้ไปด้วยกัน
สายด่วน 1330 ชวนเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ได้จากที่บ้าน