เข้าใจที่หมอพูดไม่ยาก! จากคำศัพท์ทางเทคนิคเกี่ยวกับโควิด-19
เคยเป็นกันบ้างไหม เวลาศบค.แถลงอะไรแล้วไม่เข้าใจศัพท์เทคนิคทางการแพทย์หลายคำที่คณะแพทย์และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขแต่ละคนแถลง หรือแสดงบนสไลด์ ซึ่งคำเหล่านั้นเป็นคำที่เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ทั้งสิ้น แต่บางคำก็พอเข้าใจ บางคำก็นึกไม่ออกซึ่งอาจทำให้การสื่อสารผิดพลาดได้
วันนี้ True ID ได้รวบรวมคำศัพท์ที่น่าสนใจ และจำเป็นที่ต้องรู้ไว้มาฝากทุกคน เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกัน จะคำว่าอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ควรรู้เกี่ยวกับโควิด-19
ที่มาของ COVID-19
COVID-19 (โควิด-19) = Coronavirus Disease 2019 (โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019)
CO ย่อมาจาก Corona
VI ย่อมาจาก Virus
D ย่อมาจาก Disease
19 ย่อมาจาก 2019
Coronavirus (ไวรัสโคโรนา) = ชื่อของไวรัส
หมวดทั่วไป
PUI (Patient Under Investigation) = ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์
Face Shield = แผ่นพลาสติกป้องกันใบหน้า
Close Contact = ผู้สัมผัสใกล้ชิดที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย
High Risk Contact = ผู้สัมผัสใกล้ชิดความเสี่ยงสูง มีความเสี่ยงกว่า Close Contact โดยจะอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยมากๆ เช่น อยู่บ้านเดียวกัน
Cohort Ward = ห้องพักผู้ป่วย, ห้องพักผู้ป่วยรวม
Hospitel = หอผู้ป่วยเฉพาะ มาจากการผสมระหว่างคำ 2 คำ คือคำว่า Hospital ที่แปลว่า โรงพยาบาล และคำว่า Hotel ที่แปลว่า โรงแรม มีจุดประสงค์เพื่อรองรับผู้ป่วยที่มีอาการน้อยหรือไม่รุนแรง ด้วยการปรับเปลี่ยนโรงแรมให้เป็นพื้นที่เฝ้าระวังอาการ
Social Distancing = การรักษาระยะห่างทางสังคม เป็นการอยู่ห่างๆ คนอื่น และเลี่ยงการทำกิจกรรมร่วมกันในระยะใกล้ๆ
Quarantine = การกักตัว
Home Quarantine = กักตัวเองที่บ้าน
Droplet Transmission = การติดต่อผ่านละอองฝอย
Airborne Transmission = การติดต่อผ่านอากาศ
Pandemic = โรคระบาดไปทั่วโลก
Epidemic = โรคระบาดทั่วไปที่เริ่มใหญ่และแพร่กระจายออกไปเมืองต่างๆ มากขึ้น
Outbreak = การอุบัติขึ้นแบบฉับพลันของโรคติดต่อที่ไม่ใช่โรคปกติทั่วไป ในกลุ่มคนจำนวนเล็กๆ ในเมืองใดเมืองหนึ่ง โดยยังไม่ได้แพร่กระจายออกไป
Plague = โรคระบาด
Disease = โรค
Infection = การติดเชื้อ
Endemic = โรคประจำถิ่นที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งเป็นประจำ การระบาดอยู่ในวงจำกัดมาก
Sporadic = โรคระบาดในชุมชนที่นาน ๆ ครั้งจะระบาด
Outbreak = การเกิดขึ้นหรือการปะทุขึ้นอย่างฉับพลันและรุนแรง
Epidemic = โรคระบาดที่แพร่อย่างรวดเร็ว WHO ให้นิยามว่า เป็นโรคภัยหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในชุมชนหรือภูมิภาคใด ๆ ที่เพิ่มมากขึ้นจนเกินความคาดหมาย ส่วน US-CDC ให้นิยามว่าเป็นโรคที่มีผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกินความคาดหมาย
Pandemic = โรคระบาดขนาดใหญ่ WHO ให้นิยามว่าเป็นเชื้อโรคใหม่ที่ระบาดไปทั่วโลก ทำให้อัตราการป่วยและเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ส่วน US-CDC ให้นิยามว่าเป็นโรคที่แพร่ระบาดในหลายประเทศหรือหลายทวีป ส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก
PPE = อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เป็นชุดใส่คลุมทั้งตัว มี Face Shield หรือแผ่นพลาสติกป้องกันใบหน้า และหน้ากากอนามัยชนิดป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก N95 รวมไปถึงใส่ถุงมือถุงเท้าอย่างมิดชิด
Panic Disorder (แพนิค) = ภาวะตื่นตระหนกต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยไม่มีเหตุผล ซึ่งโรคนี้แตกต่างจากอาการหวาดกลัวหรือกังวลทั่วไป เนื่องจากผู้ป่วยจะเกิดอาการแพนิค (Panic Attacks) หรือหวาดกลัวอย่างรุนแรง ทั้งที่ตัวเองไม่ได้เผชิญหน้าหรือตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย
WHO (World Health Organization) = องค์การอนามัยโลก
หมวดเฉพาะการแพทย์
PUI (Patients under investigated) = ผู้ป่วยติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน
Close contact = ผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย
High Risk Contact = ผู้สัมผัสที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง
Cluster = กลุ่มระบาด
Emerging disease = โรคเกิดใหม่
Disease = โรค
Communicable disease = โรคติดต่อ
Transmission = การแพร่เชื้อ
Droplets = ละอองฝอยของสารคัดหลั่ง
Airborne = ละอองฝอยมีน้ำหนักมากเกินกว่าที่จะลอยไปในอากาศได้ จึงไม่ติดต่อกันผ่านทางอากาศ โดยเชื้อจะตกลงบนพื้นผิวต่าง ๆ เช่น ราวจับ และหากนำมือไปสัมผัส แล้วนำมาสัมผัสใบหน้า ตา จมูก ซึ่งก็เสี่ยงติดเชื้อได้
Swab = เก็บตัวอย่างเชื้อโควิด-19 ส่งตรวจห้องปฏิบัติการ
Negative Pressure Room = ห้องความดันลบ
หมวดสังคมและการป้องกันโควิด-19
Prevent = การป้องกัน
Super Spreader = ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่สามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นในวงกว้าง
Rapid Test = เป็นการเจาะเลือดเพื่อนำไปตรวจหาภูมิคุ้มกัน โดยการใช้ชุดทดสอบแบบรวดเร็ว ที่สามารถทราบผลได้ใน 15 นาที
Social Distancing = ระยะห่างทางสังคม เป็นการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส
Herd Immunity = ภูมิคุ้มกันหมู่
Physical distancing การเว้นระยะห่างทางกายภาพ
State quarantine = การกักกันโรคที่ศูนย์ควบคุมโรคซึ่งหน่วยงานของรัฐจัดตั้งขึ้น เป็นสถานที่ที่หน่วยงานของรัฐจัดตั้งขึ้นกักตัว และควบคุมโรค
Self quarantine = มาตรการควบคุมโรค คือ การให้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแยกตัวเองออกจากครอบครัว ชุมชน หรือสังคม เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส
Self-monitoring = วิธีการตรวจสอบตนเอง ว่ามีอาการผิดปกติที่อาจทำให้ติดเชื้อโควิด-19 หรือหากเป็นแล้ว รักษาจนหายดีให้กลับบ้านได้ ว่าจะมีอาการแย่ลงหรือไม่
Work From Home (WFH) = การทำงานจากที่บ้าน เป็นหนึ่งในช่องทาง อาศัยเทคโนโลยี และระบบการสื่อสารที่ทันสมัยเป็นตัวเชื่อมโยงให้สามารถพูดคุย ส่งข้อมูลต่างๆ ให้ได้ประสิทธิภาพคล้ายกับการทำงานในสถานที่ทำงานหรือออฟฟิศ
Video conference = ระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference System) เป็นระบบการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่กันได้ทั้งภาพ เสียง และข้อมูลในเวลาเดียวกัน
Lockdown = ป้องกัน ในที่นี้หมายถึงการปิดประเทศ หรือปิดพรมแดน ห้ามบุคคลในประเทศเดินทางออกนอกประเทศ และห้ามบุคคลภายนอกประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศ
Fake news = ข่าวปลอม หรือข่าวลวง ที่ถูกพิสูจน์ได้ว่าไม่จริง และมีผลกระทบในระดับความเชื่อ
Isolation = การแยกตัวผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อ
Quarantine Activities = กิจกรรมที่ทำขณะแยกตัวเองออกจากครอบครัว ชุมชน หรือสังคม เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส
Curfew = การประกาศห้ามประชาชนออกจากเคหสถาน ตามเวลาและพื้นที่ที่กำหนด
New normal = ความปกติในรูปแบบใหม่ พฤติกรรมการใช้ชีวิต การทำงาน ความสัมพันธ์ และสิ่งต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปจนกลายเป็นเรื่องปกติ เช่น สถานการณ์โควิด-19 ที่ทุกคนต้องพยายามลดการพบปะผู้คน และไม่สามารถไปรับประทานอาอาหารในร้าน หรือห้างสรรพสินค้าได้ตามปกติ แต่ในอนาคตมันอาจจะกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาของคนทั่วไป
ทั้งหมดนี้เป็นคำศัพท์เบื้องต้นทางการแพทย์ที่ควรรู้ไว้เพื่อทำความเข้าใจในการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและพวกเรา เพื่อให้เกิดความชัดเจนคลายสงสัย และที่สำคัญเมื่อรู้คำศัพท์แล้วต้องอย่าลืมที่จะดูแลตนเองเพื่อป้องกันเชื้อโควิด-19 กันด้วยนะ
ข้อมูลจาก กองระบาด กรมควบคุมโรค , มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง , BBC
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ปรับแนวทางการรักษาโควิด-19 ใหม่ “กักตัวที่บ้าน” ได้ หากอาการดีแล้ว
- เปิดรับสมัคร! แพทย์พยาบาลและเภสัชกรอาสา ฝ่าวิกฤตโควิด-19
- เช็ก! ประสิทธิภาพ “แอสตราเซเนกา” หลังลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้วพร้อมฉีดเลย
- ลูกจ้างฟังทางนี้! โดนกักตัว 14 วัน นายจ้างต้องจ่ายเงินค่าจ้าง
- สรุปทุกปัญหา “การฉีดวัคซีนโควิด-19” ปลอดภัยไหม? ใครต้องควรระวัง?