รีเซต

นักวิทย์ฯ คิดค้นยากำจัดมะเร็ง ด้วยกลไก "สั่งปิดโรงงาน" ของเซลล์

นักวิทย์ฯ คิดค้นยากำจัดมะเร็ง ด้วยกลไก "สั่งปิดโรงงาน" ของเซลล์
TNN ช่อง16
28 ธันวาคม 2563 ( 12:19 )
212
นักวิทย์ฯ คิดค้นยากำจัดมะเร็ง ด้วยกลไก "สั่งปิดโรงงาน" ของเซลล์

การกำจัดเซลล์มะเร็งด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy) คือการใช้ยาที่มีคุณสมบัติทำลายเซลล์ที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้อาจส่งผลกระทบต่อเซลล์ในอวัยวะอื่น ๆ ได้ด้วย นักวิทยาศาสตร์จึงต้องการคิดค้นยาที่มีคุณสมบัติเฉพาะเจาะจงมากกว่านี้


ที่มาของภาพ https://www.nursingcenter.com/ncblog/july-2019/cancer-cells-vs-normal-cells

นักวิจัยจากสถาบันแม็กซ์ พลังค์แห่งเมืองโคโลญ ค้นพบว่าการกำจัดเซลล์มะเร็งที่ได้ผลดี จะต้องจัดการส่วนที่เป็น "อวัยวะ" (Organelle) ภายในเซลล์มะเร็ง นั่นคือ ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) แต่ปัญหาคือเซลล์ในร่างกายเกือบทุกชนิดล้วนมีไมโตคอนเดรียอยู่ด้วยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ยาที่กำจัดหรือหยุดการทำงานของไมโตคอนเดรีย จึงมีความเป็นพิษต่อร่างกายมาก

ทั้งนี้ การยับยั้งการทำงานของไมโตคอนเดรีย เปรียบเสมือนการปิดโรงงานของเซลล์ หากสามารถยับยั้งการทำงานของไมดตคอนเดรียในเซลล์มะเร็งได้ เท่ากับว่าคุณได้ทำให้เซลล์มะเร็งหยุดทำงานและอาจตายได้ในเวลาถัดมา แต่เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงจากการยับยั้งไมโตคอนเดรียมากเกินไป นักวิจัยจึงเลือกใช้ทางอ้อมในการคิดค้นยารักษาแทน


ที่มาของภาพ https://www.biospace.com/article/u-k-researchers-eavesdrop-on-cellular-signaling-in-cancerous-tumors/

ภายในไมโตคอนเดรียจะสารพันธุกรรมที่เรียกว่า mtDNA ซึ่งใช้ในการสร้างโปรตีนที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของเซลล์ และมีเอนไซม์ Mitochondrial RNA polymerase (POLRMT) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ mtDNA อีกที นักวิจัยจึงอาศัยช่องโหว่นี้เข้าจัดการ POLRMT เพื่อยับยั้งไม่ให้ mtDNA ทำงาน สุดท้ายจึงส่งผลให้เซลล์มะเร็งไม่สามารถสร้างพลังงานและแบ่งตัวได้อีก

จากผลการทดลองพบว่า ยายับยั้งการทำงานของ POLRMT ช่วยลดขนาดก้อนมะเร็งในหนูทดลองได้จริง และมีแนวโน้มที่จะนำไปทดลองกับมะเร็งในระยะลุกลาม ที่ล่องลอยไปตามกระแสเลือดและเกาะกับอวัยวะส่วนอื่น 


ที่มาของภาพ https://pursuit.unimelb.edu.au/articles/putting-cancer-cells-to-sleep

ข้อดีของยายับยั้งการทำงานของ POLRMT อีกประการ คือไม่ออกฤทธิ์ต่อเซลล์ที่เจริญเต็มที่แล้ว เพราะฉะนั้น ยาจะส่งผลต่อเซลล์มะเร็งที่ยังแบ่งตัวอยู่เรื่อย ๆ ตลอดเวลา ในขณะที่เซลล์กล้ามเนื้อซึ่งเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว จะได้รับผลกระทบจากยาตัวนี้น้อยมาก

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Interesting Engineering

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline

ข่าวที่เกี่ยวข้อง