อินเดียส่งดาวเทียม 36 ดวง สำหรับโครงการอินเทอร์เน็ต OneWeb
TNN ช่อง16
27 มีนาคม 2566 ( 01:05 )
62
26 มีนาคม เวลาประมาณ 10.00 น. ที่ผ่านมาองค์การวิจัยด้านอวกาศแห่งอินเดีย (ISRO) เปิดเผยความสำเร็จสามารถส่งดาวเทียม 36 ดวง ขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ นับเป็นก้าวสำคัญของวงการอวกาศอินเดียในการให้บริการขนส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ และความสำเร็จขั้นสุดท้ายในโครงการดาวเทียมสัญญาณอินเทอร์เน็ตรุ่นแรก (Gen 1) ของบริษัท วันเว็บ (OneWeb)
จรวด Mark-3 (LVM3) ซึ่งพัฒนาโดยเทคโนโลยีอวกาศประเทศอินเดียทะยานขึ้นสู่อวกาศจากฐานปล่อยจรวดศูนย์อวกาศสาทิส ดาวัน (Satish Dhawn) ชายฝั่งตะวันออกของประเทศอินเดีย ดาวเทียมทั้ง 36 ดวง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการดาวเทียม 648 ดวง บนวงโคจรระดับต่ำของโลก( LEO) พัฒนาโดยบริษัท วันเว็บ (OneWeb) เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมข้ามประเทศ
สำหรับจรวด Mark-3 (LVM3) มีความสูง 43.43 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 เมตร รองรับการส่งดาวเทียมหรือยานอวกาศน้ำหนัก 10 ตัน ขึ้นสู่วงโคจรระดับต่ำของโลก( LEO) และน้ำหนัก 4 ตัน ขึ้นสู่วงโคจร Geostationary Transfer Orbit หรือ GTO จรวดแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ขั้นตอน เครื่องยนต์จรวดเป็นแบบผสมระหว่างจรวดเชื้อเพลิงเหลวและจรวดเชื้อเพลิงแข็ง
จรวด Mark-3 นับเป็นจรวดเรือธงและความหวังของวงการอวกาศอินเดียมันเคยถูกใช้งานในภารกิจส่งยานจันทรายาน-2 (Chandrayaan-2) ไปโคจรและลงจอดสำรวจดวงจันทร์ นับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของวงการอวกาศอินเดีย แม้จะเป็นภารกิจที่ยานลงจอดบนดวงจันทร์ไม่สำเร็จก็ตาม
ภารกิจส่งดาวเทียมในครั้งนี้นับเป็นการปล่อยดาวเทียมในภารกิจที่ 18 ของบริษัท วันเว็บ (OneWeb) โดยเป็นการปล่อยดาวเทียมโดยใช้บริการจรวดของประเทศรัสเซีย 13 ภารกิจ จรวดของประเทศสหรัฐอเมริกา 3 ภารกิจ และจรวดของประเทศอินเดีย 2 ภารกิจ การเปลี่ยนมาใช้บริการขนส่งดาวเทียมโดยประเทศสหรัฐอเมริกาและอินเดียเกิดขึ้นจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนทำให้กลุ่มประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกาแบนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประเทศรัสเซีย
ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ
Space.com
จรวด Mark-3 (LVM3) ซึ่งพัฒนาโดยเทคโนโลยีอวกาศประเทศอินเดียทะยานขึ้นสู่อวกาศจากฐานปล่อยจรวดศูนย์อวกาศสาทิส ดาวัน (Satish Dhawn) ชายฝั่งตะวันออกของประเทศอินเดีย ดาวเทียมทั้ง 36 ดวง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการดาวเทียม 648 ดวง บนวงโคจรระดับต่ำของโลก( LEO) พัฒนาโดยบริษัท วันเว็บ (OneWeb) เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมข้ามประเทศ
สำหรับจรวด Mark-3 (LVM3) มีความสูง 43.43 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 เมตร รองรับการส่งดาวเทียมหรือยานอวกาศน้ำหนัก 10 ตัน ขึ้นสู่วงโคจรระดับต่ำของโลก( LEO) และน้ำหนัก 4 ตัน ขึ้นสู่วงโคจร Geostationary Transfer Orbit หรือ GTO จรวดแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ขั้นตอน เครื่องยนต์จรวดเป็นแบบผสมระหว่างจรวดเชื้อเพลิงเหลวและจรวดเชื้อเพลิงแข็ง
จรวด Mark-3 นับเป็นจรวดเรือธงและความหวังของวงการอวกาศอินเดียมันเคยถูกใช้งานในภารกิจส่งยานจันทรายาน-2 (Chandrayaan-2) ไปโคจรและลงจอดสำรวจดวงจันทร์ นับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของวงการอวกาศอินเดีย แม้จะเป็นภารกิจที่ยานลงจอดบนดวงจันทร์ไม่สำเร็จก็ตาม
ภารกิจส่งดาวเทียมในครั้งนี้นับเป็นการปล่อยดาวเทียมในภารกิจที่ 18 ของบริษัท วันเว็บ (OneWeb) โดยเป็นการปล่อยดาวเทียมโดยใช้บริการจรวดของประเทศรัสเซีย 13 ภารกิจ จรวดของประเทศสหรัฐอเมริกา 3 ภารกิจ และจรวดของประเทศอินเดีย 2 ภารกิจ การเปลี่ยนมาใช้บริการขนส่งดาวเทียมโดยประเทศสหรัฐอเมริกาและอินเดียเกิดขึ้นจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนทำให้กลุ่มประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกาแบนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประเทศรัสเซีย
ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ
Space.com